เกาะสีชัง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
|
หมายเหตุ : เนื้อหาและรูปภาพในหัวข้อ"เกาะสีชัง"นี้มีด้วยกันทั้งหมด 4 หน้า ท่านสามารถ click link ชื่อสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านล่างของหน้า เพื่อชมข้อมูลและรูปภาพในหน้าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
“.....ถิ่นสุขกายสุขด้วย ถิ่นดี.....จิตรโปร่งปราศราคี ชุ่มชื้น.....สองสุขแห่งชาวสี ชังเกาะ นี้แฮ.....อายุย่อมยืนพื้น แต่ร้อยเรือนริม.....” ข้อความดังกล่าวข้างต้นนี้ คือ บทร้อยกรองบางส่วนจาก “จดหมายเหตุเสด็จฯ ประพาสจันทบุรี พ.ศ. 2419 ” ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ใน “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” บรรยายให้เห็นถึงสภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านบน “เกาะสีชัง จ.ชลบุรี” ว่าเป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี บางคนมีอายุยืนยาวร่วม 100 ปี เนื่องจากได้พำนักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นซึ่งมีธรรมชาติและอากาศอันบริสุทธิ์
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเกาะสีชังจะเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อกาลก่อนมากแล้ว แต่เกาะใกล้ๆ ชายฝั่งของ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีแห่งนี้ก็ยังคงมีกลิ่นอายของวันเก่าๆ ที่ทรงเสน่ห์บางอย่างและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมากหน้าหลายตาต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาเยือนอยู่เสมอ
|
ประภาคารหลังใหม่ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้านหน้าท่าเทียบเรือ "เกาะสีชัง"
|
“เกาะสีชัง” ในรอยทางประวัติศาสตร์
ในอดีต “เกาะสีชัง” เป็นที่รู้จักกันในฐานะของเกาะซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์และมีสภาพภูมิประเทศอันสวยงาม อีกทั้งยังตั้งอยู่ใกล้เขตพระนคร จึงทำให้มีพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์เคยเสด็จฯมายังเกาะแห่งนี้ บางพระองค์ก็เสด็จฯ มาประพาสชมความงดงามของธรรมชาติ แต่บางพระองค์ก็เสด็จฯ มาเพื่อทรงบำบัดรักษาอาการพระประชวร ซึ่งในการเสด็จฯมาเยือนเกาะสีชังของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงแต่ละพระองค์นั้นก็ล้วนแล้วแต่นำพาความเจริญด้านต่างๆ มาสู่เกาะสีชัง จนทำให้เกาะแห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในสถานตากอากาศเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในยุคสมัยนั้น
การก่อสร้างและพัฒนาสาธารณสถานต่างๆ บนเกาะสีชังเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยของ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)” พระองค์ได้เสด็จฯประพาสเกาะสีชังโดย เรือกลไฟซึ่งต่อขึ้นใช้เองเป็นครั้งแรกในประเทศไทยมีชื่อว่า “เรือสยามอรสุมพล” ในกาลนั้นพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำการปฏิสังขรณ์วัดเก่าซึ่งตั้งอยู่ปลายแหลมและให้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ รวมถึงกุฏิจำวัดของพระภิกษุสงฆ์ แต่มิได้พระราชทานชื่อวัดใหม่ยังคงให้เรียกชื่อตามที่ชาวบ้านเคยใช้กันมาเหมือนเคยว่า “วัดเกาะสีชัง” [พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เคยเสด็จฯ มายังเกาะสีชังครับ]
|
ทิวทัศน์ต่างเวลา ณ ท่าเทียบเรือ
|
เกาะสีชังได้รับการพัฒนาสูงที่สุดในรัชสมัยของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)” พระองค์เคยเสด็จฯประพาสเกาะสีชังหลายครั้งและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสาธารณสถานบนเกาะเพิ่มเติมจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) อีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น อาไศรยสถาน (เรือนพักฟื้นผู้ป่วย) , ประภาคาร , ถนน , บ่อน้ำ , โรงเรียน ฯลฯ พร้อมกันนั้นพระองค์ยังทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเรือนพักสำหรับชาวตะวันตกใช้เช่าพักตากอากาศ อีกทั้งยังให้มีการสร้างพระราชวังบนเกาะกลางทะเลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ เกาะสีชังแห่งนี้ด้วย
ภายหลังจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 (ปี พ.ศ. 2436) ซึ่งเรือรบของฝรั่งเศสได้เข้ามาลอยลำเหนือน่านน้ำทะเลไทยและขอแบ่งแยกดินแดนบางส่วน มีการส่งทหารฝรั่งเศสหมวดหนึ่งบุกเข้ายึดเกาะสีชังส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จำต้องเสด็จฯ กลับพระนครทำให้การพัฒนาสาธารณูปโภคในด้านต่างๆ บนเกาะสีชังชะลอตัวลง ซึ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ไม่เคยเสด็จฯมาประทับแรมบนเกาะสีชังอีกเลยจนสิ้นรัชกาล สำหรับพระที่นั่งและพระตำหนักซึ่งเป็นเครื่องไม้บางหลังบนเกาะสีชังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อและย้ายไปสร้างที่อื่น ทั้งนี้การดูแลรักษาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในเขตพระราชฐานซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่บนเกาะสีชังนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารเรือเป็นผู้รักษาดูแล
|
ภายนอกและภายใน "พระจุฑาธุชราชฐาน" บนเกาะสีชัง
|
|
เรือนวัฒนา.....เรือนอภิรมย์.....รูปปั้นแบบยุโรป.....และ เรือนผ่องศรี
|
ในปี พ.ศ. 2521 “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ได้รับมอบสิทธิ์การใช้ที่ดินบนเกาะสีชังจำนวน 224 ไร่จากกรมธนารักษ์เพื่อดำเนินการก่อสร้าง “สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล” พร้อมทั้งได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่บริเวณต่างๆ โดยรอบเขตพระราชฐาน (ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินผืนดังกล่าว) ให้อยู่ในสภาพอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน นับแต่บัดนั้น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” จึงได้ดำเนินโครงการบำรุงรักษาพระราชฐานบนเกาะสีชังมาโดยตลอด นาม “เกาะสีชัง” นี้มีที่มาแต่หนใด ?
ประวัติการเรียกชื่อ “เกาะสีชัง” นั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่พบหลักฐานการใช้คำว่า “เกาะสระชงง (เกาะสระชัง)” ในหนังสือ “กำสรวลศรีปราชญ์” ซึ่งแต่งขึ้นไว้ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2235 โดยมีทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าคำ “เกาะสระชงง” นี้ค่อยๆ ถูกใช้จนเพี้ยนกลายไปเป็นคำว่า “เกาะสีชัง” (ทั้งนี้ยังคาดเดาด้วยว่าคำ “สระชงง” เป็นคำซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “สทึง” หรือ “จทึง” ในภาษาเขมรที่แปลว่า “ห้วงน้ำ” หรือ “แม่น้ำ” เมื่อใช้คำนี้ไปเรื่อยๆ ก็เพี้ยนไปเป็น “สเชิง” , “สชัง” , “สรชัง” จนเป็น “สระชงง” ในตอนท้าย)
ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งคาดว่า “สีชัง” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “สีห์ชังฆ์” ที่แปลว่า “แข้งสิงห์” ตามลักษณะรูปร่างของเกาะ และบางทฤษฎีก็ว่าชื่อ “เกาะสีชัง” นั้นมาจากตำนานเรื่องของสองสามีภรรยาที่ชื่อ “สี” กับ “ชัง” ซึ่งเป็นคนคู่แรกที่มาตั้งรกรากอาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้
|
บ่อกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภคภายในเขตพระจุฑาธุชราชฐาน
|
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ บนเกาะสีชัง
ปัจจุบันการเดินทางสู่เกาะสีชังทำได้ง่ายและสะดวกสบายกว่าในสมัยก่อนมาก ทุกๆวันจะมีเรือเมล์วิ่งไป – กลับระหว่างท่าเรือ “เกาะลอย อ.ศรีราชา” กับ “เกาะสีชัง” ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น. (ค่าโดยสาร 50 บาท/คน/เที่ยว เรือจะออกจากท่าทุกๆ 1 ชม.ยกเว้นกรณีที่มีผู้โดยสารเต็มลำก่อนจะถึงเวลาออกเรือตามปกติ เรือก็จะออกเดินทางเลยโดยไม่รอให้ถึงกำหนดเวลาตามตารางเดินเรือครับ) และเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงเกาะสีชังก็อาจเลือกเช่ารถจักรยานยนตร์ขี่เที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ หรือจะเลือกเช่าเหมารถสามล้อเครื่องก็ได้
บนเกาะสีชังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมายหลากหลายแห่ง มาลองตามไปทำความรู้จักกับสถานที่ต่างๆ เหล่านี้พร้อมๆ กันกับทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) นะครับ
1. พระจุฑาธุชราชฐาน : พระราชฐานบนเกาะกลางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ มาประทับแรมบนเกาะสีชังเป็นเวลานาน ทรงมีพระราชดำริว่า เกาะสีชังนี้อากาศดี สถานที่ต่างๆ ก็ดูสวยงามอยู่สบาย ควรตั้งพระราชฐานให้มั่นคงเพื่อเป็นที่ประทับแรมระหว่างฤดูร้อน ขณะนั้น “พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี” ทรงพระครรภ์และมีพระประสูติพระราชกุมารบนเกาะสีชัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงได้พระราชทานพระนามพระราชโอรสพระองค์นี้ว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” และพระราชทานนามพระราชฐานที่ทรงสร้างขึ้นใหม่แห่งนี้ตามพระนามพระราชโอรสว่า “พระจุฑาธุชราชฐาน” นับเป็นพระราชฐานซึ่งถูกสร้างขึ้นบนเกาะกลางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
|
ภายใน "พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน"
จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ "เกาะสีชัง" ไว้อย่างครบถ้วน
|
พระจุฑาธุชราชฐานตั้งอยู่บริเวณ “แหลมวัง” ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสีชัง มีเนื้อที่ประมาณ 237 ไร่ ด้านหน้าเขตพระราชฐานอยู่ติดชายทะเล ด้านหลังติดที่ราบสูงบนภูเขา มีพระที่นั่งองค์สำคัญภายในเขตพระราชฐานได้แก่ “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” พระที่นั่งองค์นี้ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 จนถึงปี พ.ศ. 2436 แต่ยังไม่ทันได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ก็เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (เหตุการณ์ ร.ศ. 112) กองทหารหมวดหนึ่งของฝรั่งเศสได้บุกขึ้นยึดเกาะสีชังทำให้การก่อสร้างพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆ ต้องยุติลง
ในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จฯ ประพาสหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก พระองค์ได้เสด็จฯ ผ่านมายังเกาะสีชังอีกครั้งหนึ่งและทอดพระเนตรเห็น “พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์” ตั้งรกร้างอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งดังกล่าวมาสร้างไว้ใหม่ในเขตพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งพระราชทานนามของพระที่นั่งเสียใหม่ว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ขณะนี้ในเขตพระจุฑาธุชราชฐานบนเกาะสีชังจึงเห็นเพียงแค่ฐานเดิมของพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่เท่านั้น
โปรโมชั่นทัวร์และบัตรเข้าชมสถานที่/การแสดงอื่นๆ ในเขต จ.ชลบุรี ราคาพิเศษ !!
(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อโปรแกรมทัวร์/ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด)
|
ประเภทบัตร & โปรแกรมทัวร์ |
ราคา (บาท)
|
1. ทัวร์เกาะล้าน |
650 - 2,590 |
2. พิพิธภัณฑ์ริบลีส์ เชื่อหรือไม่ ! : Ripley's Believe It or Not ! Museum |
250 - 1,590 |
3. สวนนงนุช |
190 - 3,800 |
4. พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาหมีเทดดี้ : Teddy Bear Museum/Teddy Island Thailand |
200 - 500 |
5. อัลคาซ่าร์ คาบาเร่ต์ พัทยา : Alcazar Cabaret Pattaya |
280 - 1,000 |
6. ทิฟฟานี่โชว์ พัทยา : Tiffany Show Pattaya |
550 - 1,600 |
7. โคลอสเซียม พัทยา : Colosseum Show Pattaya |
300 - 1,000 |
8. สวนน้ำรามายณะ: Ramayana Water Park |
900 - 1,190 |
9. มายากลทักซิโด้ : Tuxedo Magic & Illusion Hall |
200 - 900 |
10. สวนเสือศรีราชา |
170 - 450 |
11. ปราสาทสัจธรรม |
400 - 1,300 |
12. อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ พัทยา : Underwater World Pattaya |
200 - 500 |
13. โชว์โลมาพัทยา : Pattaya Dolphinarium |
400 - 1,100 |
14. โลมาโชว์ : Pattaya Dolphin World |
300 - 2,500 |
15. บ้านสุขาวดี |
180 - 5,000 |
16. Art In Paradise |
200 - 400 |
|