บัตรชมการแสดง "โขน ศาลาเฉลิมกรุง"
|
โขนศาลาเฉลิมกรุง ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาแสดง
โปรดติดต่อสอบถามที่ทางศาลาเฉลิมกรุง โดยตรงที่ 02-2244499 ตั้งแต่ 10.00 - 18.00 น.
|
**ปัจจุบันนี้ทางโขนศาลาเฉลิมกรุง งดการแสดงช่วงค่ำของวันพฤหัส และศุกร์แล้ว ได้ทำการปรับเปลี่ยน การแสดง และ เวลาแสดงเป็นช่วงกลางวัน จันทร์ - ศุกร์ วันละ 5 รอบ รอบละประมาณ 25 นาที สามารถโทรสอบถามข้อมูล ได้ที่ โขนศาลาเฉลิมกรุง หมายเลข 02-2244499 ตั้งแต่ 10.00 - 18.00 น.ค่ะ**
โขน ศาลาเฉลิมกรุง : “โขน” ถือได้ว่าเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย เป็นจุดศูนย์รวมของศิลปะหลากหลายแขนงโดยมีการนำเอาวิธีการเล่นการแต่งกายบางอย่างมาจาก “ชักนาคดึกดำบรรพ์ในพิธีอินทราภิเษก” มีท่ารำตามแบบ “ละครใน” มีท่าเต้นซึ่งเลียนมาจากการเชิด “หนังใหญ่” และมีท่าการต่อสู้ที่โลดโผน เช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของ “กระบี่กระบอง” ใช้ “วงปี่พาทย์” ในการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดง ดำเนินเรื่องราวโดยการใช้บทพากย์ บทเจรจาและบทร้อง (ใช้บทร้องสำหรับการแสดง “โขนโรงใน” และ “โขนฉาก” เท่านั้น การเล่นโขนแต่ดั้งเดิมจะไม่มีบทร้อง มีเพียงแค่บทพากย์และบทเจรจา) การแสดงโขนมีลักษณะสำคัญอยู่ตรงที่ผู้แสดงต้องสวม “หัวโขน” ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะจนถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาเพื่อใช้ในการมอง หัวโขนจะถูกสร้างขึ้นตามลักษณะของตัวแสดงต่าง ๆ (เช่น ตัวยักษ์ , ตัวลิง , ตัวเทวดา , ฯลฯ) ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก
เครื่องแต่งกายอันวิจิตรงดงามตามแบบธรรมเนียมดั้งเดิมของ "โขน ศาลาเฉลิมกรุง" |
จาก “จดหมายเหตุลาลูแบร์” (Simon de La Loubere คือ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามายังประเทศสยามในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ทำให้เราพอจะทราบว่าการแสดงโขนมีอยู่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ว่าเริ่มกำเนิดเกิดขึ้นในสมัยใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เมื่อกาลเวลาล่วงเลยพ้นผ่านโขนก็มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยจนแบ่งแยกออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
1.โขนกลางแปลง เป็นการเล่นโขนกลางแจ้งโดยใช้ภูมิประเทศรอบข้างเป็นฉาก ไม่มีการปลูกโรงแสดง ตัวแสดงทุกตัวจะต้องสวมหัวโขน
2.โขนโรงนอก หรือ โขนนั่งราว วิวัฒนาการมาจากโขนกลางแปลง แต่แสดงบนโรงเรือนที่ปลูกสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะ โรงเรือนดังกล่าวจะมีการใช้ราวไม้ไผ่วางพาดไว้ตามส่วนยาวของโรงเพื่อให้ตัวแสดงนั่งโดยสมมุติว่าเป็นเตียง การแสดงโขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวนี้ยังคงมีการใช้เพียงแค่บทพากย์และบทเจรจาในการดำเนินเรื่อง ไม่มีบทร้อง
3.โขนหน้าจอ เป็นโขนที่แสดงหน้าจอ “หนังใหญ่” โดยผู้แสดงโขนออกมาแสดงสลับกับการเชิดตัวหนัง ภายหลังมีการยกเลิกการแสดงหนังใหญ่คงเหลือเอาไว้เฉพาะโขนเนื่องจากผู้ดูนิยมการแสดงที่ใช้คนจริงมากกว่าตัวหนัง(แต่ก็ยังคงใช้หน้าจอหนังใหญ่ในการแสดงโขนอยู่) ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาหน้าจอโดยทำให้มีช่องประตูสำหรับเข้า – ออก และวาดภาพซุ้มประตูด้านซ้ายเป็นค่ายของพระราม ส่วนซุ้มประตูด้านขวาวาดเป็นกรุงลงกาของทศกัณฐ์ (เนื่องจากโขนของไทยนิยมแสดงแต่เฉพาะเรื่อง “รามเกียรติ์”)
4.โขนโรงใน เป็นการนำเอาศิลปะการแสดงของละครในเข้ามาผสมผสานกับโขน โดยนำท่ารำ ท่าเต้น บทพากย์ บทเจรจาแบบโขนมาใช้ร่วมกับบทร้องและเปลี่ยนสถานที่แสดงมาใช้โรงแบบละครใน ผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และเทวดา เริ่มที่จะไม่ต้องสวมหัวโขนในการแสดง
5.โขนฉาก เป็นการแสดงโขนที่มีการจัดฉากให้เข้าเหตุการณ์และสถานที่ตามท้องเรื่อง แบ่งฉากเป็นองก์ต่าง ๆ โขนฉากเริ่มถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) และถือได้ว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายของโขนที่สืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาจวบจนกระทั่งถึงยุคสมัยปัจจุบัน
"โขน ศาลาเฉลิมกรุง" ดำรงคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์คุณค่าความเป็นไทย |
ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ “โขน” เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงซึ่งหาชมได้ไม่ง่ายนัก และทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ก็เชื่อว่ายังมีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่เล็งเห็นถึงคุณค่าความงดงาม – ความสำคัญของนาฏศิลป์โบราณชนิดนี้ รวมทั้งยังมีความต้องการที่จะหาโอกาสไปดู.....ไปรับชมโขนอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต (แม้แต่ “พนม ยีรัมย์” หรือ “จา พนม” นักแสดงนำ – ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 2 – 3” ก็เคยนำเอาท่าทางการเต้นการรำของโขนไปประยุกต์ออกแบบท่าทางการต่อสู้ในภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก 3” โดยให้ชื่อศิลปะการต่อสู้ดังกล่าวว่า “นาฏยุทธ” มาแล้ว) แต่หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามสำคัญอยู่ในใจว่า.....แล้วเราจะไปหาชมโขนได้จากที่ไหน ??.....
เนื่องในปีมหามงคลสมัยที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 มูลนิธิศาลาเฉลิมกรุงร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มให้มีโครงการจัดแสดงโขนขึ้น ณ โรงมหรสพหลวง “ศาลาเฉลิมกรุง” เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีมหามงคลดังกล่าวรวมถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง โครงการ “โขน ศาลาเฉลิมกรุง” นี้เป็นโครงการระยะยาวอันจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดไป ปัจจุบัน “โขน ศาลาเฉลิมกรุง” เปิดการแสดงตลอดทั้งปีทุก ๆ วันพฤหัสบดีและวันศุกร์ วันละ 1 รอบ เวลา 19.30 น. ใช้เวลาในการแสดงประมาณ 1 ชม.20 นาที โดยโขนที่จัดแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุงนี้เป็นประเภท “โขนฉาก”
มาร่วมกันชม.....มาร่วมกันช่วย เหล่าศิลปินผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า
|
“โขน ศาลาเฉลิมกรุง” เป็นการแสดงอันงดงามวิจิตรตระการตาและถูกต้องตามขนบจารีตแบบแผน ดำเนินเรื่องราวสั้นกระชับด้วยการพากย์ การเจรจา และเพลงหน้าพาทย์แบบโบราณ ใช้เครื่องแต่งกายที่สวยงามตามธรรมเนียมเดิม พร้อมทั้งมีคำบรรยายตัววิ่งภาษาอังกฤษประกอบตลอดการแสดง สำหรับ “โขน ศาลาเฉลิมกรุง” ชุดปัจจุบันซึ่งกำลังดำเนินการแสดงอยู่ในขณะนี้มีชื่อชุดว่า “หนุมาน” (เริ่มการแสดงเบิกโรงมาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จวบจนถึงปัจจุบันและยังไม่มีกำหนดเปลี่ยนแปลงการแสดงเป็นชุดใหม่.....การแสดงชุด “หนุมาน” นี้เป็นการแสดงโขนชุดที่ 4 นับตั้งแต่เริ่มมีโครงการ “โขน ศาลาเฉลิมกรุง” เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548) มีเนื้อเรื่องโดยย่อดังต่อไปนี้
“นนทุก” อสูรผู้มีหน้าที่ล้างเท้าเทวดา – นางฟ้าได้ถูกเหล่าเทวดา – นางฟ้าเขกหัวเล่นจนกระทั่งหัวล้าน นนทุกมีความคับแค้นใจจึงขึ้นไปเฝ้า “พระอิศวร” บนยอดเขาไกรลาสเพื่อขอประทานนิ้วเพชรที่สามารถชี้ทำร้ายผู้อื่นได้ไว้ป้องกันตัว เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อพระอิศวรประทานนิ้วเพชรให้แต่นนทุกนำนิ้วเพชรนั้นไปชี้ทำร้ายเหล่าเทวดา – นางฟ้า และกำเริบเที่ยวทำร้ายผู้อื่นไปทั่ว เมื่อ “พระนารายณ์” ทราบเหตุจึงจำแลงกายเป็นนางงามมาลวงนนทุกให้หลงชอบแล้วหลอกล่อให้นนทุกรำตามจนนนทุกเผลอใช้นิ้วเพชรชี้ขาตนเองหัก หลังจากพระนารายณ์กลับร่างเดิมนนทุกได้กล่าวหมิ่นพระนารายณ์ว่าเป็นถึงเทพแต่กลับต้องทำกลอุบายแปลงร่างเป็นนางงามมาหลอกลวง พระนารายณ์จึงประทานสัตย์ว่าให้ชาติหน้านนทุกเกิดมาเป็นอสูรมี 10 พักตร์ 20 กร แล้วตนจะอวตารมาเป็นมนุษย์มี 2 มือและจะขอสู้กับนนทุกให้ได้ นนทุกจึงสาบานจะทำให้พระนารายณ์ต้องพรากจากคนรักและทนทุกข์ทรมาน จากนั้นพระนารายณ์จึงสังหารนนทุกสิ้นชีวิต นนทุกลงมาเกิดเป็น “ทศกัณฐ์” เจ้ากรุงลงกา
ฉากรบอันยิ่งใหญ่ตระการตาของโขนเรื่อง "รามเกียรติ์"
จัดแสดงเฉพาะใน "โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง" เท่านั้น |
พระอิศวรเฝ้าสังเกตเห็นเหตุการณ์อยู่จึงคิดว่าควรให้พระนารายณ์มีทหารคู่ใจ พระอิศวรจึงให้พระพายนำพลังและเทพอาวุธมารวมกันก่อกำเนิดเป็น “หนุมาน” เพื่อรอเป็นข้าทหารพระนารายณ์ (“หนุมาน” มีพระพายเป็นพ่อ มีนางสวาหะเป็นแม่) หลังจากนั้นพระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็น “พระราม” แล้วได้ออกเดินทางเข้าป่าพร้อมกับ “พระลักษมณ์” และ “นางสีดา” ต่อมาทศกัณฐ์ทำอุบายให้ “มารีศ” แปลงเป็นกวางทองมาลวง นางสีดาหลงกลจึงขอให้พระรามออกไปตามจับกวางทอง เมื่อพระรามออกตามไปก็พบว่ากวางทองมีลักษณะผิดสังเกตจึงแผลงศรสังหารเสีย ก่อนตายกวางทองร้องเป็นเสียงพระรามหลอกให้พระลักษมณ์ซึ่งคอยเฝ้านางสีดาอยู่ตามมาช่วย พระลักษมณ์หลงกลจึงทิ้งนางสีดาออกมาตามหาพระราม ฝ่ายทศกัณฐ์เห็นสบโอกาสจึงแปลงเป็นฤๅษีเข้าไปหานางสีดาและจับตัวนางไป เมื่อพระรามกับพระลักษมณ์กลับมาที่อาศรมไม่พบนางสีดาก็ออกติดตามหาจนได้มาเจอกับหนุมานและกองทัพวานร ภายหลังพระราม , พระลักษมณ์ , หนุมานและกองทัพวานรเข้าช่วยกันร่วมรบกับกองทัพของทศกัณฐ์จนได้รับชัยชนะ รับนางสีดากลับคืนมาแล้วจึงเดินทางกลับนครอโยธยา สุดท้ายพระรามได้ขึ้นครองราชย์ปกครองแผ่นดินด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขสืบไป
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการ “โขน ศาลาเฉลิมกรุง” ชุด “หนุมานข้าราชบริพารพระจักรี” ได้ทำการคัดเลือกศิลปินซึ่งได้รับการฝึกฝนนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยจากหลากหลายสถาบันจำนวนมากกว่า 60 ท่านให้เข้ามาร่วมในการแสดงชุดนี้ มีผู้กำกับการแสดงคือ “อาจารย์เฉลิมศักดิ์ ปัญญวัตวงศ์” บรรเลงดนตรีโดย “วงโรหิตาจล”
**ปัจจุบันนี้ทางโขนศาลาเฉลิมกรุง งดการแสดงช่วงค่ำของวันพฤหัส และศุกร์แล้ว ได้ทำการปรับเปลี่ยน การแสดง และ เวลาแสดงเป็นช่วงกลางวัน จันทร์ - ศุกร์ วันละ 5 รอบ รอบละประมาณ 25 นาที สามารถโทรสอบถามข้อมูล ได้ที่ โขนศาลาเฉลิมกรุง หมายเลข 02-2244499 ตั้งแต่ 10.00 - 18.00 น.ค่ะ**
บัตรรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์มื้อค่ำ + ล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา
(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อเรือ์” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของเรือบุฟเฟ่ต์แต่ละแบบโดยละเอียด)
|
ประเภทบัตร & โปรแกรมทัวร์ |
ราคา (บาท)
|
01. เรือไวท์ออร์คิด : White Orchid River Cruise |
790 - 2,200 |
02. เรือริเวอร์สตาร์ปริ๊นเซส : River Star Princess Cruise |
800 - 1,500 |
03. เรือเจ้าพระยาปริ๊นเซส : Chao Phraya Princess Cruise |
860 - 1,500 |
04. เรือเมอริเดียน : Meridian Cruise |
850 - 1,800 |
05. เรือเจ้าพระยาครุยส์ : Chaophraya Cruise |
950 - 1,700 |
06. เรือรอยัลปริ๊นเซส : Royal Princess Cruise |
990 - 1,900 |
07. เรืออลังกา : Alangka Cruise |
990 - 2,000 |
08. เรือเมอริเดียนอลังกา : Meridian Alangka Cruise |
990 - 2,000 |
09. เรือริเวอร์ไซด์ : Riverside Cruise |
990 - 2,000 |
10. เรือแกรนด์เพิร์ล : Grand Pearl Cruise |
1,150 - 2,200 |
11 เรือเดอะแบงค็อกริเวอร์ครุยส์ : The Bangkok River Cruise |
1,250 - 2,500 |
12. เรือวันเดอร์ฟูลเพิร์ล : Wonderful Pearl Cruise |
1,490 - 2,500 |
โปรโมชั่นทัวร์และบัตรเข้าชมสถานที่/การแสดงอื่นๆ ในเขต จ.กรุงเทพฯ ราคาพิเศษ !!
(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อโปรแกรมทัวร์/ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด)
|
ประเภทบัตร & โปรแกรมทัวร์ |
ราคา (บาท)
|
01. สยามนิรมิต , กรุงเทพฯ |
1,200 - 2,850 |
02. ทัวร์ล่องคลองบางกอกน้อย |
590 - 1,500 |
03. ทัวร์อยุธยา : ล่องเรือแม่น้ำเจ้าพระยา + บุฟเฟ่ต์มื้อกลางวัน |
1,490 - 2,200 |
03. ทัวร์อยุธยา เรือแกรนด์เพิร์ล |
1,550 - 2,200 |
04. ทัวร์อยุธยา เรือไวท์ออร์คิด |
1,550 - 2,200 |
05. Art in Paradise , Bangkok |
200 - 400 |
|