Custom Search
 


ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
(ดูภาพด้านล่าง)



หมายเหตุ : เนื้อหาและรูปภาพในหัวข้อประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมานี้ มีด้วยกันทั้งหมด 2 หน้า ท่านสามารถ click link ตัวเลขที่ด้านล่างสุดของหน้า เพื่อชมข้อมูลและรูปภาพในหน้าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ



      ส่วนอุปกรณ์เครื่องส่องสว่างนั้นแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการถวายหลอดไฟไว้ให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เปิดอ่านศึกษาตำรับตำราพระธรรม – พระไตรปิฎกในช่วงฤดูฝนเพิ่มมากขึ้น แต่ “เทียน” ก็ยังคงเป็นอุปกรณ์เครื่องส่องสว่างยอดนิยมที่ประชาชนคนไทยมักจะนำเอาไปถวายวัดเนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษาอยู่เช่นเดิม จากอดีตที่เคยถวายเพียงแค่แท่งเทียนธรรมดา ๆ ขนาดเล็กก็เปลี่ยนเป็นแท่งเทียนขนาดใหญ่ที่สามารถใช้จุดส่องสว่างได้นานขึ้น ต่อมาจึงมีการหล่อแท่งเทียนขนาดยักษ์แล้วแกะสลักตกแต่งประดับประดาอย่างงดงามวิจิตร เกิดการประกวดประชันความสวยงามของต้นเทียนขึ้น มีการฟ้อนรำและการละเล่นพื้นเมืองพร้อมทั้งบรรเลงดนตรีประกอบกับการแห่แหนต้นเทียนสู่วัดอย่างเอิกเกริกจนกระทั่งกลายเป็น “ประเพณีแห่เทียนพรรษา” ดังเช่นที่พบเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้


ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
การแสดงดนตรีไทยโดยกลุ่มเยาวชนตัวน้อยบริเวณลานด้านข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี



     “ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา” จะเริ่มต้นขึ้นควบคู่ไปกับประเพณีการทำบุญ “วันอาสาฬหบูชา” โดยในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหรือพระพุทธรูปต่าง ๆ มาให้ประชาชนสักการบูชา มีการออกร้านจำหน่ายอาหารและสินค้าของดีเมืองโคราชบริเวณลานกว้างรอบ ๆอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ส่วนในช่วงเย็นของวันอาสาฬหบูชานอกจากจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถของวัดสำคัญๆ แล้ว ยังมีการรวบรวมต้นเทียนพรรษาจากวัดต่าง ๆ ทั่ว จ.นครราชสีมา นำมาจัดแสดงรอบๆ คูเมืองให้ประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมความงดงามก่อนที่จะเริ่มต้นการแห่เทียนรอบตัวเมืองในเช้าวันรุ่งขึ้น (ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา) อีกด้วย



ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
...............ดวงประทีปเฉิดฉาย พราวพรายสาดแสงส่อง...............



     กิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เลยในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ก็คือ “การประกวดต้นเทียนพรรษา” โดยต้นเทียนที่เข้าร่วมการประกวดจะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆได้แก่ “ต้นเทียนแกะสลัก” และ “ต้นเทียนติดพิมพ์”

      ปกติ “ต้นเทียนแกะสลัก” จะต้องหล่อขึ้นด้วยขี้ผึ้งคุณภาพดีเพื่อให้ได้ต้นเทียนเนื้อเหนียวแตกหักยาก และต้องหล่อต้นเทียนให้มีขนาดใหญ่เพื่อที่ช่างฝีมือจะสามารถแกะ.....ขูด.....สลักเป็นลวดลายรูปร่างอันอ่อนช้อยวิจิตรงดงามตามจินตนาการได้ไม่ลำบาก สำหรับ “ต้นเทียนติดพิมพ์” นั้นจะมีการหล่อขึ้นโครงต้นเทียนด้วยขี้ผึ้งคุณภาพชั้นรองแล้วจึงนำขี้ผึ้งซึ่งหล่อจากแม่พิมพ์ขนาดเล็ก (ส่วนมากจะทำแม่พิมพ์ขนาดเล็กเป็นลวดลายไทยมาตรฐานแบบต่าง ๆ) มาปะติดปะต่อลงไปโดยรอบโครงเทียนที่ได้ขึ้นรูปไว้อีกชั้นหนึ่ง ต้นเทียนพรรษาทั้งสองประเภทนี้นิยมสร้างสรรค์ลวดลายเป็นเรื่องราวตามตำนานในพระไตรปิฎก



ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ความงามต้องตา.....คุณค่าประทับใจ

ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ในยามค่ำคืน ต้นเทียนต้นเดิมๆ กลับให้ความรู้สึกที่แปลกแตกต่างออกไป



     เช้าวันเข้าพรรษาเวลาประมาณ 9.00 น. ขบวนรถแห่เทียนพรรษาจะเริ่มเคลื่อนที่ออกจากถนนด้านหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีไปวนรอบ ๆ ตัวเมืองโคราช ภายในขบวนแห่เทียนพรรษานอกจากจะมีต้นเทียนซึ่งสลักเสลาและประดับประดาอย่างวิจิตรแล้ว ยังมีการจัดขบวนแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน , ขบวนตัวอย่างการละเล่นพื้นเมือง , ขบวนแสดงเครื่องแต่งกายประจำถิ่นตามโอกาสงานประเพณีต่าง ๆ , ฯลฯ ร่วมแห่แหนไปตลอดเส้นทางอย่างครึกครื้นสนุกสนาน สุดท้ายเมื่อขบวนแห่เทียนพรรษาเวียนครบรอบเมือง 1 รอบก็จะกลับมาจอดขบวนอยู่บนถนนด้านหน้าลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสยลโฉมต้นเทียนอันสวยงามอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงจะมีการเคลื่อนต้นเทียนแต่ละต้นกลับไปยังวัดต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ จ.นครราชสีมา ในวันรุ่งขึ้น




ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
....................ต้นเทียนพรรษาขนาดกลางบนแท่นวางเหนือน้ำ....................




     สำหรับใครที่มั่นใจในฝีมือถ่ายภาพของตนเองก็สามารถเข้าร่วมการประกวด “ภาพถ่ายงานประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา” ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปีได้ ผู้ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายในประเภทต่าง ๆ จะได้รับเงินรางวัลตั้งแต่หลักพันไปจนกระทั่งถึงหลักหมื่นเลยทีเดียว (นักท่องเที่ยวสามารถดูระเบียบการประกวดได้ ณ ซุ้มจัดแสดงภาพถ่ายงานประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมาซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณลานรอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี)




ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
................ความสวยงามแบบนี้ ในหนึ่งปีมีให้ชมแค่หนเดียว...............

ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
ท่ามกลางความมืดมัวของราตรี ยังคงมีแสงสว่างส่องประกาย



     ช่วงเวลาเย็น – ค่ำของวันเข้าพรรษาจะมีการจัดแสดงแสง สี เสียง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตำนาน , ประวัติศาสตร์ , สังคม และประเพณีวัฒนธรรมของไทย โดยในแต่ละปีก็จะมีการแสดงที่แตกต่างกันออกไปไม่ซ้ำกับการแสดงชุดเดิม ๆ การแสดงแสง สี เสียง ดังกล่าวนี้จะมีการซ้อมใหญ่ในค่ำคืนวันอาสาฬหบูชา นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาไกลและไม่สามารถอยู่รอชมการแสดงในค่ำคืนวันเข้าพรรษาได้แนะนำให้มาชมการแสดงแสง สี เสียง ในวันซ้อมใหญ่แทน (การแสดงแสง สี เสียง ในวันซ้อมใหญ่นั้นเกือบจะเหมือนการแสดงจริงในค่ำคืนวันเข้าพรรษาทุกประการ)              



ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
....................พระพุทธองค์ทรงช้างเอราวัณ....................



     ถึงแม้ว่าประเพณีแห่เทียนพรรษาของไทยจะเป็นประเพณีที่มีความยิ่งใหญ่.....งดงาม.....วิจิตรตระการตา จนยากจะหาประเพณีวัฒนธรรมของชาติใดในโลกมาเทียบเทียมได้ หากแต่พวกเราชาวไทยก็ไม่ควรหลงลืมว่าประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณค่าในฐานะของกุศโลบายที่ถูกสร้างขึ้นในภายหลังเพื่ออุปถัมภ์ค้ำชูพุทธศาสนา สนับสนุนให้ผู้คนหันมาสนใจเข้าวัดเข้าวา ได้รับฟังและนำธรรมมาปฏิบัติกันให้มากขึ้นเพื่อประโยชน์เป็นความสงบสุขภายในจิตใจของตนเองและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม มิใช่มุ่งหมายเพียงให้เป็นการเฉลิมฉลองเพื่อความมีหน้ามีตา สวยงามสง่า ร่าเริง สนุกสนาน หรือครื้นเครงแต่อย่างใด..........ตั้งใจ ! วันเข้าพรรษาครั้งนี้อย่าให้มีดีแค่เปลือก ต้องเลือกศึกษาธรรมแล้วนำมาปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกันนะครับ..........



ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา 
การแสดงแสง สี เสียง ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษา - อาสาฬหบูชา
อ.เมือง จ.นครราชสีมา




      การเดินทางมาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
:

     รถยนต์ส่วนบุคคล จากกรุงเทพมหานครใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถ.พหลโยธิน) มุ่งหน้าไปทาง จ.สระบุรี เมื่อถึง อ.เมือง จ.สระบุรีให้เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถ.มิตรภาพ) แล้วตรงไปเรื่อย ๆ จนถึงตัวเมืองโคราช สถานที่จัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจะอยู่บริเวณถนนรอบ ๆ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (อาจหาที่จอดรถได้ค่อนข้างลำบากสักหน่อย)
      รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งหมอชิต(ใหม่)มีรถบัสไปถึงสถานีขนส่ง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ออกทุก ๆ  1 ชม. เมื่อถึงสถานีขนส่งแล้วให้ต่อรถสองแถวหรือรถรับจ้างอื่น ๆ ไปยังโรงแรมที่พักอีกต่อ

     ฤดูกาลท่องเที่ยวที่เหมาะสม : นักท่องเที่ยวสามารถชมขบวนต้นเทียนพรรษาได้ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันอาสาฬหบูชา(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) – ช่วงกลางคืนของวันเข้าพรรษา(วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) แต่หากต้องการชมการแห่เทียนจะต้องรอชมในรุ่งเช้าของวันเข้าพรรษาเท่านั้น (เริ่มแห่เทียนเวลาประมาณ 9.00 น.)

     หมายเหต : ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมเก็บข้อมูล “ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา” เมื่อเดือน ก.ค. 2553

     


ประเพณีแห่เทียนพรรษา อ.เมือง จ.นครราชสีมา หน้า 1 2




สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา
(กรุณาคลิ๊ก “ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งโดยละเอียด)
อ.สีคิ้ว
อ.พิมาย
อ.โชคชัย
อ.ปากช่อง
อ.ปักธงชัย
อ.วังน้ำเขียว







 


แผนผังเว็บไซต์ (Site Map)


บทความและภาพทุกภาพภายในเว็บไซต์หน้านี้เป็นลิขสิทธิ์ของท่องเที่ยวดอทคอม
(www.Thongteaw.com)
หากผู้ใดทำการคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไขหรือนำไปใช้ในกรณีใด ๆ
โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางทีมงาน
จะถูกดำเนินการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด


Copy right © Since 2008 by Thongteaw.com - All Rights Reserved
เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็คโทรนิคส์ 3102201494154