สะพานประวัติศาสตร์ปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
|
ปาย เป็นอำเภอหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวมากที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดิมเป็นเพียงอำเภอเล็ก ๆ ที่มีความเงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติ แต่ปัจจุบันด้วยความนิยมของนักท่องเที่ยวทำให้ความเจริญรุกคืบเข้ามาแทนที่ความเงียบสงบ แต่สิ่งที่ไม่มีทางเปลี่ยนคือประวัติ ความเป็นมา รากเหง้าของความเป็นปาย วันนี้ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ของเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับเมืองปายในมุมด้านประวัติศาสตร์กัน
ปาย ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มของแม่น้ำปาย ถูกโอบล้อมด้วยทิวเขาสูง อ.ปายอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 – 1200 เมตร ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของปายเป็นชาวไทยใหญ่ซึ่งอพยพจากสงครามกลางเมืองของรัฐฉานในประเทศพม่ามาเมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีก่อน
|
สะพานประวัติศาสตร์ปาย คือ หนึ่งในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องปาย อิน เลิฟ
|
|
.........................กินไอติมกันดีกว่า.........................
|
ที่มาของชื่อ “ปาย” นั้น เชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัยของกรุงศรีอยุธยาที่ยังคงความรุ่งเรือง ต้องการให้เมืองเชียงใหม่ส่งช้างเป็นเครื่องราชบรรณาการ ทางเมืองเชียงใหม่จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกคล้องช้างไปจนพบหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง คล้องช้างพลายได้หลายเชือกจึงตั้งชื่อ “เมืองพลาย” หรือ “เมืองพลายช้างผู้” เมื่อเรียกสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ จึงเพี้ยนจากเมืองพลาย เป็น “เมืองปาย” อย่างในปัจจุบัน
จากเมืองพลายในสมัยอยุธยาผ่านกาลเวลามาสู่เมืองปายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นเคลื่อนพลเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ต้องการลำเลียงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อเข้าโจมตีประเทศพม่า แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย เป็นภูเขา หุบเหวและมีลำน้ำปายขวางกั้น จึงทำให้ญี่ปุ่นต้องเกณฑ์ชาวบ้านจ้างให้ขุดถางสร้างเส้นทางระหว่างเชียงใหม่ไปแม่ฮ่องสอน และจากแม่ฮ่องสอนไปยังเชียงใหม่ โดยมาบรรจบกันที่สองฝั่งของแม่น้ำปาย บริเวณบ้านท่าปาย แล้วสร้างสะพานไม้เชื่อมระหว่างสองฝั่งกลายเป็น สะพานที่เชื่อมประวัติศาสตร์สงครามเข้าด้วยกัน
|
...............ปกติ..........เค้าจะเริ่มต้นล่องแพแม่น้ำปายกันตรงนี้แหละ...............
|
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ญี่ปุ่นแพ้สงครามจึงได้ถอยทัพกลับ พร้อมกับเผาสะพานแห่งนี้ทิ้ง ทำให้ชาวบ้านทั้งสองฝั่งของแม่น้ำปายที่เคยได้อาศัยสะพานแห่งนี้ เป็นทางคมนาคมต้องพบความยากลำบาก ชาวบ้านทั้งสองฝั่งของท่าปายจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสะพานไม้ขึ้นอีกครั้ง แต่ในปี 2516 เกิดอุทกภัยใหญ่ขึ้นทำให้บ้านเรือน เรือกสวนไร่นาพังเสียหาย สะพานไม้ท่าปายก็ถูกน้ำพัดพาทำลายไป ทางอำเภอปายจึงได้ทำเรื่องขอสะพานเหล็ก “นวรัฐ” เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้ว นำมาใช้แทนสะพานไม้ที่ถูกกระแสน้ำพัดทำลายไป (สะพานนวรัฐจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกทยอยขนย้ายขึ้นมาประกอบใช้ใหม่ ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน) หลังจากนั้น 1 ปีเต็ม จึงได้ประกอบขึ้นจนแล้วเสร็จ เป็น “สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย” ในปัจจุบัน
โดยบริเวณสะพานประวัติศาสตร์ปายนี้ จะมีนิทรรศการประวัติเมืองปาย ประวัติสะพานประวัติศาสตร์ปายให้กับนักท่องเที่ยวผู้สนใจได้ศึกษา (ซึ่งข้อมูลที่ทางทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมนำมากล่าวถึงสะพานประวัติศาสตร์ท่าปายนี้ ก็ได้มาจากนิทรรศการนี้เช่นกัน ต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ) โดยปัจจุบันนี้สะพานประวัติศาสตร์ท่าปายไม่อนุญาตให้นำรถยนต์มาวิ่งแต่จัดไว้ให้เป็นอนุสรณ์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอปาย
|
.........................สถานที่ซึ่งเก็บงำความทรงจำจากอดีต.........................
|
|
....................สะพานประวัติศาสตร์ปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน....................
|
จากนั้นหากท่านสนใจบริเวณริมแม่น้ำปายยังมีกิจกรรม “ล่องแพชมแม่น้ำปาย” ไว้บริการสำหรับท่านที่ต้องการสัมผัสบรรยากาศริมน้ำปายอย่างใกล้ชิด สามารถติดต่อสอบถามได้บริเวณเชิงสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
การเดินทางสู่สะพานประวัติศาสตร์ปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน : สู่สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย : จากที่ว่าการอำเภอปาย ไปตามถนนราษฎร์ดำรงมุ่งสู่ริมแม่น้ำปาย จะถึงสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย ที่เชื่อมระหว่างสองฝั่งของแม่น้ำปาย บริเวณเชิงสะพานประวัติศาสตร์ท่าปายนี้มีบริการล่องแพชมแม่น้ำปาย
หมายเหตุ : ข้อมูลบางอย่างของ “สะพานประวัติศาสตร์ปาย” อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ในปัจจุบัน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : ที่พัก/โรงแรม/รีสอร์ท ในย่าน อ.ปาย
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
(กรุณาคลิ๊ก “ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งโดยละเอียด)
|
อ.เมือง |
พระธาตุดอยกองมู , วัดจองคำ - วัดจองกลาง , วัดหัวเวียง ,
ถ้ำปลา , น้ำตกผาเสื่อ , บ่อน้ำร้อนผาบ่อง , ถนนคนเดินแม่ฮ่องสอน ,
บ้านห้วยเสือเฒ่า , หมู่บ้านจีนยูนนาน - บ้านรักไทย , ภูโคลน - คันทรีคลับ ,
โครงการพระราชดำริปางตอง-2-ปางอุ๋ง ,
โครงการพระราชดำริปางตอง-4-พระตำหนักปางตอง |
อ.ปาย |
วัดน้ำฮู , กองแลน , บ้านสันติชล , โป่งน้ำร้อนท่าปาย ,
ถนนคนเดินปาย , น้ำตกหมอแปง |
อ.ขุนยวม |
ทุ่งดอกบัวตอง-ดอยแม่อูคอ , ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ,
น้ำตกแม่สุรินทร์ |
อ.ปางมะผ้า |
ถ้ำลอด |
อ.แม่ลาน้อย |
ถ้ำแก้วโกมล |
|