บ้านโต้งหลวง
 
 
Custom Search
 


บ้านโต้งหลวง

อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

รับทันที ! โปรโมชั่นบัตรเข้าชมหมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ “บ้านโต้งหลวง” จ.เชียงใหม่
ราคาพิเศษ !
เฉพาะผู้ที่ติดต่อสำรองบัตรเข้าชมหมู่บ้านและชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าตามเงื่อนไข
ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ หรือ Line ID ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2563 เท่านั้น !

 

 

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา
บ้านโต้งหลวงปิด ยังไม่มีกำหนดเปิดค่ะ


     เสน่ห์ของศิลปวัฒนธรรม, ขนบธรรมเนียมประเพณี, ความเชื่อ, รวมถึงลักษณะเครื่องแต่งกายอันงดงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชาวเขาเผ่าต่างๆ คือ หนึ่งในบรรดาสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายเดินทางมาเยี่ยมเยือนจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่ง “จังหวัดเชียงใหม่” ก็นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งมีประชากรชาวเขาเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างค่อนข้างหนาแน่น และในครั้งนี้ทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) จะขอนำคุณผู้อ่านทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับ บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศอันเป็นสถานที่พำนักอาศัยของ “กะเหรี่ยงคอยาว” และชาวเขากลุ่มอื่นๆ อีก 7 ชนเผ่า



บ้านโต้งหลวง_188 บ้านโต้งหลวง_105 บ้านโต้งหลวง_120 บ้านโต้งหลวง_190


บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ 8 ชนเผ่า

บ้านโต้งหลวง_194


.........................สาวรุ่นชาวกะเหรี่ยงคอยาวผู้ทรงเสน่ห์.........................



     บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศแห่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

     บ้านโต้งหลวง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มชาติพันธุ์และชาวเขาเผ่าต่างๆ รวมทั้งหมด 8 ชนเผ่ากลายเป็น “กลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตชนเผ่าเชิงเกษตรนิเวศ” โดย ณ จุดแรกเริ่มของบ้านโต้งหลวงนั้นถือกำเนิดขึ้นมาจากลักษณะรูปแบบวิถีชีวิตของชาวเขาที่เคยนิยมการปลูกฝิ่นทำไร่เลื่อนลอยแล้วอพยพย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ  ครั้นเมื่อผืนแผ่นดินค่อยๆ มีความอุดมสมบูรณ์ลดน้อยถอยลง ผู้ชายชาวเขาบางคนก็หันมาประกอบอาชีพเป็นควาญช้างบ้าง หรือเข้ามาทำงานรับจ้างทั่วไปในเขตพื้นที่ใกล้เคียงกับแหล่งชุมชนต่างๆ บ้างตามกำลังความสามารถ



บ้านโต้งหลวง_19


...................................เส้นทางกลางทุ่ง...................................

บ้านโต้งหลวง_16


.........................ในฤดูทำนา ณ บ้านโต้งหลวง.........................



     ด้วยลักษณะการแต่งกายอันเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์มีสีสัน รวมถึงรูปแบบความเชื่อและขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีซึ่งมีความแตกต่างจากชาวไทยล้านนาโดยทั่วๆ ไป ทำให้วิถีชีวิตของครอบครัวชาวเขาซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเขตพื้นที่ใกล้เคียงกับแหล่งชุมชนได้รับความสนใจจากผู้คนในชุมชนและกลุ่มนักท่องเที่ยว ทำให้เหล่าบรรดามัคคุเทศก์เริ่มมีการจัดโปรแกรมทัวร์พานักท่องเที่ยวเข้าไปชมวิถีชีวิตของชาวเขาภายในแหล่งพำนักอาศัย ซึ่งบางครั้งก็กลับกลายเป็นการรบกวนการดำเนินชีวิตของครอบครัวชาวเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (และชาวเขาก็ไม่ได้รับสิ่งตอบแทนใดๆ จากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังแหล่งพำนักอาศัยของตน)



บ้านโต้งหลวง_7


...................................ข้าวเริ่มออกรวง...................................

บ้านโต้งหลวง_24


...................................เพิงร้านค้า...................................



     จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้หัวหน้าเผ่าชาวเขาบางคน รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจท้องถิ่นซึ่งมีลูกจ้างชาวเขาอยู่ในความดูแลหลายๆ ครอบครัวเกิดแนวความคิดที่จะรวบรวมกลุ่มชาวเขาภายใต้อาณัติของตนจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านชาวเขาเพื่อการท่องเที่ยวขึ้น โดยภายในหมู่บ้านเหล่านี้จะมีการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานต่างๆ แบบไม่คิดค่าใช้จ่ายให้แก่ครอบครัวชาวเขาที่สมัครใจย้ายเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ ได้แก่ ไฟฟ้า, น้ำดื่มน้ำใช้ภายในหมู่บ้าน, ข้าวสารอาหารแห้ง, ฯลฯ ซึ่งผู้ดูแลหมู่บ้านก็จะมีหน้าที่เรียกเก็บค่าบำรุงหมู่บ้านจากกลุ่มนักท่องเที่ยวซึ่งต้องการเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขาเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกทอดหนึ่ง (ชาวเขาที่สมัครใจย้ายเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านเหล่านี้จะทราบดีอยู่แล้วว่าจะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้านเป็นระยะๆ ครับ) และนี่ก็คือเรื่องราวการก่อกำเนิดแบบย่นย่อของหมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ “บ้านโต้งหลวง” แห่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่



บ้านโต้งหลวง_8


...................................ผู้มาเยี่ยมแยือน...................................

บ้านโต้งหลวง_2


.........................โรงวัว (ที่ตอนนี้ไม่มีวัวอยู่).........................



     .....ปัจจุบัน.....บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีทั้งชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์รวมทั้งหมด 8 ชนเผ่า พำนักอาศัยอยู่ร่วมกันภายในหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งทุกๆ ชนเผ่าก็จะมีหน้าที่ช่วยกันดำนาปลูกข้าว ปลูกพืชผักไม้ดอกไม้ผล และเลี้ยงสัตว์ แล้วจึงนำผลผลิตที่ได้จากภายในหมู่บ้านมาบริโภคในครัวเรือน บ้างก็นำแบ่งสันปันส่วนจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว ในช่วงเวลากลางวันหากไม่มีการงานใดๆ ภายในหมู่บ้านให้ทำผู้ชายชาวเขาบางคนก็อาจจะออกไปทำงานเป็นควาญช้างหรือทำงานรับจ้างทั่วไป ส่วนผู้หญิงและผู้สูงอายุก็จะนั่งทอผ้าหรือประดิษฐ์ชิ้นงานหัตถกรรมแล้วนำมาวางขาย



บ้านโต้งหลวง_41


.........................หนึ่งในหญิงชาวปะหล่อง (ดาละอั้ง).........................

บ้านโต้งหลวง_37


...................................รุ่นลูก รุ่นหลาน...................................

     

     สำหรับเด็กๆ ซึ่งเป็นลูกหลานในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์และชาวเขา บ้านโต้งหลวงก็ได้มีการจัดตั้งสวัสดิการศูนย์พัฒนาและดูแลเด็กเล็กขึ้นภายในหมู่บ้าน โดยจะมีคุณครูซึ่งช่วยสอนหนังสือและดูแลเด็กๆ จนถึงวัยอนุบาล 3 และเมื่อเด็กๆ เติบโตจนพ้นวัยที่ศูนย์พัฒนาฯ ของบ้านโต้งหลวงจะสามารถดูแลได้อย่างเหมาะสมแล้ว เด็กๆ ก็จะได้รับการสนับสนุนให้ย้ายเข้าไปเรียนในโรงเรียนประจำอำเภอหรือโรงเรียนประจำจังหวัดตามกำลังความสามารถที่ผู้ปกครองของเด็กจะส่งเสียได้



บ้านโต้งหลวง_51


.........................ความชุ่มฉ่ำจากสายฝน.........................

บ้านโต้งหลวง_53


....................ต่างคน ต่างใจ ต่างไปในแบบของตน....................



     .....อย่างไรก็ดี.....ภาพบรรยากาศอันแปลกประหลาดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งมีความผิดแผกแตกต่างกันทั้งทางด้านภาษา, การแต่งกาย, ความเชื่อ, ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ร่วมกันภายในหมู่บ้านเล็กๆ เพียงแค่แห่งเดียว ก็มักจะก่อให้เกิดคำถามขึ้นภายในใจของผู้พบเห็นหลายๆ คนว่า กลุ่มชาติพันธุ์และชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่พำนักอาศัยอยู่ภายในบ้านโต้งหลวงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาวเขาซึ่งมีเชื้อสายแห่งชนเผ่าของตนจริงหรือไม่ ? หรือเป็นเพียงแค่กลุ่มบุคคลที่บ้านโต้งหลวงจ้างมาให้แต่งชุดชาวเขาเพื่อหากินกับนักท่องเที่ยว ? หากเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หรือชาวเขาจริงๆ เพราะเหตุใดชนเผ่าซึ่งมีความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒนธรรมประเพณีจึงสามารถเข้ามาอยู่ร่วมกันได้ภายในหมู่บ้านแห่งเดียว แตกต่างไปจากสภาพที่เคยเป็นเมื่อครั้งอดีตซึ่งมักจะแบ่งแยกกันอยู่ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละเผ่า ? ฯลฯ ? เพื่อทำความเข้าใจกับข้อกังขาเหล่านี้ การลงพื้นที่จริงเพื่อสอบถามพูดคุยกับเหล่าบรรดาชนกลุ่มน้อยและชาวเขาซึ่งพำนักพักอาศัยอยู่ภายใน “บ้านโต้งหลวง” จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยไขความกระจ่างให้แก่พวกเราได้



บ้านโต้งหลวง_75


ผู้หญิงในเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวที่อายุน้อยและยังไม่ได้สวมใส่ห่วงคอจำนวนหลายๆ ชั้น
อาจแลดูไม่แตกต่างไปจากผู้หญิงธรรมดาทั่วๆ ไปสักเท่าไหร่นัก

บ้านโต้งหลวง_88


.........................คุณลุงชาวมูเซอกำลังสานสุ่ม.........................



     ภายหลังจากที่ได้ซื้อของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ และพูดคุยกับหญิงชาวเขาแห่งบ้านโต้งหลวงราว 2 – 3 คน พวกเราก็พบว่าทั้งชาวเขาและชนกลุ่มน้อยในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนหนึ่งไม่ได้เป็นประชาชนคนไทย หากแต่เป็นแรงงานต่างด้าวซึ่งมีการจดทะเบียนและทำบัตรประจำตัวแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (สามารถพูดภาษาไทยได้เนื่องจากพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน) โดยผู้ชายจะมีหน้าที่ในการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ส่วนผู้หญิงและผู้สูงอายุก็จะมีหน้าที่ในการทอผ้า ประดิษฐ์ชิ้นงานหัตถกรรม จำหน่ายของที่ระลึก (ได้รับส่วนแบ่งจากการขายเป็นรายได้เสริม) และคอยให้การดูแลต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนบ้านโต้งหลวง ซึ่งในการทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนประจำให้ ส่วนชุดที่สวมใส่ประจำวันนั้นก็จะเป็นชุดเครื่องแต่งกายประจำเผ่าของตนเองจริงๆ (เป็นผู้ที่สืบสายเลือดตัวจริงของชนเผ่านั้นๆ)



บ้านโต้งหลวง_29


...................................มุมหนึ่งใน บ้านโต้งหลวง...................................

บ้านโต้งหลวง_69


.........................บานชื่นหนู ? ใช่ไหมเนี่ย ?.........................



     หญิงชาวเขาและชนกลุ่มน้อยซึ่งมีโอกาสได้พูดคุยกับพวกเราบางคนเล่าให้ฟังว่า เดิมทีครอบครัวของพวกเธอได้อพยพหนีภัยสงครามจากประเทศเมียนมาร์เข้ามายังประเทศไทยเมื่อราวปี พ.ศ. 2528 โดยช่วงแรกที่เข้ามายังประเทศไทยครอบครัวของพวกเธอก็หาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานรับจ้างทั่วๆ ไปและเลือกพำนักอาศัยอยู่ในละแวกบ้านท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงราย ต่อมาจึงได้รับการชักชวนให้ย้ายเข้ามาทำงาน ณ บ้านโต้งหลวง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเมื่อได้ย้ายเข้ามาแล้วก็พบว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้านโต้งหลวง จ.เชียงใหม่ แห่งนี้ดีกว่าที่บ้านท่าตอน จ.เชียงราย อยู่พอสมควร พวกเธอจึงตัดสินใจที่จะพำนักอาศัยและประกอบอาชีพอยู่ภายในหมู่บ้านโต้งหลวงต่อมาเรื่อยๆ จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน



บ้านโต้งหลวง_58


...................................ว่าที่หนุ่มขาซิ่ง...................................

บ้านโต้งหลวง_44


...................................ร่วมสนุก...................................

     

     ทำความรู้จักกับกลุ่มชาติพันธุ์และชาวเขาทั้ง 8 ชนเผ่าแห่งบ้านโต้งหลวง

     ตามคำจำกัดความของหน่วยงานราชการ “ชาวเขา” หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนเขา ประกอบอาชีพด้วยการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมีเชื้อสายอยู่ใน 9 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง, ม้ง, เมี่ยน, มูเซอ, ลีซอ, อาข่า, ลัวะ, ขมุ และถิ่น ส่วนชนเผ่าอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ เช่น กะเหรี่ยงคอยาว (กะยัน), ปะหล่อง, จีนฮ่อ, คะฉิ่น ฯลฯ จะเรียกว่า “ชนกลุ่มน้อย” หรือ “กลุ่มชาติพันธุ์” ซึ่งภายในบ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ก็มีทั้งชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์พำนักอาศัยอยู่ร่วมกันทั้งหมด 8 ชนเผ่า รวมเกือบ 50 ครอบครัว ดังต่อไปนี้



บ้านโต้งหลวง_34


...................................แข่งขัน...................................

บ้านโต้งหลวง_59


.........................ขอหนูเป็นนายแบบด้วยคน.........................



     1. กะเหรี่ยงคอยาว (กะยัน) : กลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มากที่สุดของบ้านโต้งหลวง ด้วยการสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้โดยรอบลำคอเป็นชั้นๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามช่วงอายุจนทำให้หญิงชราชาวกะเหรี่ยงคอยาวบางคนดูคล้ายกับว่ามีลักษณะของลำคอยืดยาวออกมามากกว่าคนปกติทั่วไป .....อย่างไรก็ตาม.....จากการศึกษาภาพถ่ายรังสีโครงกระดูกช่วงลำคอถึงหน้าอกของหญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวกลับพบว่า ความยาวกระดูกต้นคอของผู้หญิงเหล่านี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากค่าเฉลี่ยของคนปกติเลยแม้แต่น้อย หากแต่เกิดการทรุดตัวของกระดูกไหปลาร้าและกระดูกซี่โครงส่วนบนลู่ลงมาตามน้ำหนักของห่วงทองเหลืองซึ่งค่อยๆ ทวีเพิ่มขึ้น จนทำให้ดูเหมือนกับว่าลำคอของหญิงชราชาวกะเหรี่ยงคอยาวยืดยาวออกมามากกว่าคนปกติ



บ้านโต้งหลวง_60


.........................ค้าขายริมทาง.........................

บ้านโต้งหลวง_54


.........................บ้านโต้งหลวง หมู่บ้านของฉัน.........................



     เอกลักษณ์ในการแต่งกายของผู้หญิงชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวแห่งบ้านโต้งหลวง นอกจากการสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้โดยรอบลำคอแล้ว พวกเธอก็ยังจะโพกผ้าคลุมศีรษะหลากสี รวมถึงสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้โดยรอบบริเวณท่อนแขนเหนือข้อมือและท่อนขาเหนือข้อเท้าอีกด้วย สำหรับความเชื่ออันเป็นที่มาซึ่งทำให้หญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวจำเป็นต้องสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้โดยรอบลำคอ เหนือข้อมือ และเหนือข้อเท้านั้น มีการเล่าสืบต่อกันมาหลากหลายกระแสจนยากที่จะสืบค้นหาความจริงดั้งเดิมได้ว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ? แต่เราก็อาจพอสรุปถึง “ความน่าจะเป็น” อันเป็นมูลเหตุซึ่งทำให้เหล่าบรรดาผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวจำเป็นต้องสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้ได้โดยสังเขปดังนี้



บ้านโต้งหลวง_82


...................................เกลี่ยลานดิน...................................

บ้านโต้งหลวง_86


...................................งานอดิเรก...................................



     เครื่องเตือนใจในการกอบกู้แผ่นดิน : เล่ากันว่าเมื่อครั้งอดีตอันห่างไกลดินแดนซึ่งเป็นสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ในปัจจุบันเคยถูกปกครองโดย “แลเคอ” ชนเผ่านักรบผู้ยึดถือคำสัตย์เสมอด้วยชีวิต (“แลเคอ” คือ บรรพบุรุษของชาว “กะยัน” หรือที่พวกเราเรียกกันอย่างคุ้นชินว่า “กะเหรี่ยงคอยาว” ครับ) ต่อมาชาวเมียนมาร์ได้จับมือกับชนเผ่าบังการีทำสงครามขับไล่ชนเผ่าแลเคอ จนราชธิดาแห่งเผ่าแลเคอต้องนำผู้คนอพยพหลบลี้หนีภัยไปตั้งรกรากยังดินแดนแห่งใหม่ ครั้นเมื่อเดินทางมาถึงดินแดนซึ่งปลอดภัยจากการติดตามของศัตรูแล้ว ราชธิดาแห่งเผ่าแลเคอจึงได้นำเอา “ต้นปาดอง” ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์สีเหลืองทองมาพันไว้รอบคอและประกาศว่าจะนำเอาต้นปาดองออกจากคอก็ต่อเมื่อสามารถกอบกู้ดินแดนของบรรพชนกลับคืนมาได้.....ด้วยเหตุนี้เอง.....กะเหรี่ยงคอยาวซึ่งเป็นลูกหลานของชนเผ่าแลเคอจึงนิยมทำพิธีกรรมใส่ห่วงรอบคอให้แก่เด็กหญิงในเผ่าตั้งแต่อายุราว 5 – 9 ปี (คาดว่าเป็นช่วงอายุเดียวกันกับราชธิดาเมื่อครั้งที่นำต้นปาดองมาพันรอบคอเป็นครั้งแรกครับ)



บ้านโต้งหลวง_87


.........................คุณป้าชาวมูเซอเหลือง.........................

บ้านโต้งหลวง_78


...............คุณลุงชาวมูเซอเหลืองกำลังประดิษฐ์หน้าไม้...............



     เครื่องรางป้องกันภูตผี : .....ว่ากันว่า.....บรรพบุรุษของกะเหรี่ยงคอยาวได้เคยทำให้ภูตผีไม่พอใจ ภูตผีดังกล่าวจึงได้ส่งเสือมากัดกินผู้หญิงในเผ่า บรรพบุรุษของกะเหรี่ยงคอยาวเกรงว่าหากผู้หญิงถูกเสือกัดตายหมดก็จะไม่มีคนสืบเชื้อสายชาติพันธุ์ จึงประชุมตกลงกันให้ผู้หญิงในเผ่าสวมใส่ห่วงทองเหลืองไว้โดยรอบลำคอ เหนือข้อมือ และเหนือข้อเท้า เพื่อป้องกันอันตรายจากคมเขี้ยวของเสือ

     ความเชื่อเรื่องมังกรและหงส์ : อีกกระแสหนึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมซึ่งกล่าวไว้ว่า.....มารดาของชนเผ่ากะเหรี่ยงคอยาว คือ มังกรและหงส์ ผู้หญิงในเผ่ากะเหรี่ยงคอยาวจึงต้องสวมใส่ห่วงทองเหลืองเอาไว้โดยรอบบริเวณลำคอ เพื่อทำให้คอมีลักษณะที่ยืดยาวสวยงามดุจดังเช่นลำคอของมังกรและหงส์

     แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างชนเผ่า : เป็นข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการว่า การสวมใส่ห่วงทองเหลืองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคอยาวนั้นใช้บ่งชี้ความแตกต่างระหว่างตนเองกับหญิงของชนเผ่าอื่นๆ เพื่อป้องกันการแต่งงานข้ามเผ่า และอาจใช้เป็นเครื่องบ่งบอกฐานะทางสังคม รวมถึงประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงามอีกด้วย




บ้านโต้งหลวง_123 บ้านโต้งหลวง_170


.........................คนนั่ง..........สุนัขนอน.........................

บ้านโต้งหลวง_55 บ้านโต้งหลวง_42


...............โบสถ์คริสต์ในบ้านโต้งหลวง กับ คุณน้าชาวปะหล่อง...............



     .....ภายในหมู่บ้านโต้งหลวงทุกวันนี้.....นักท่องเที่ยวอาจสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่าผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวที่สวมใส่ห่วงทองเหลืองจะมีตั้งแต่เด็กเล็กๆ ไปจนกระทั่งถึงหญิงชราผู้สูงวัย หากแต่ถ้าเราได้ลองสืบค้นลึกลงไปถึงวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่ากะยัน (กะเหรี่ยงคอยาว) ก็จะพบว่าในยุคสมัยแรกเริ่มผู้หญิงซึ่งสวมใส่ห่วงทองเหลืองนั้นคงมีเพียงแค่ผู้หญิงที่เป็นสายเลือดกะเหรี่ยงคอยาวแท้ๆ (ไม่มีเลือดผสมจากชนเผ่าอื่นๆ) และจะต้องเป็นผู้หญิงซึ่งเกิดภายใต้ฤกษ์วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธเท่านั้น .....ครั้นเมื่อเวลาล่วงเลยผ่าน.....กฎเกณฑ์ดังกล่าวก็ผ่อนคลายความเข้มงวดลงและไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงกะเหรี่ยงคอยาวคนใดๆ ก็นิยมใส่ห่วงทองเหลืองกันหมด ยกเว้นหญิงชาวกะยันซึ่งนับถือศาสนาคริสต์โดยปกติจะไม่มีการสวมใส่ห่วงทองเหลืองรอบคอ (ตามประเพณีดั้งเดิมกะเหรี่ยงคอยาวจะนับถือภูตผี ต่อมาจึงมีการหันมานับถือศาสนาคริสต์หรือศาสนาพุทธตามอิทธิพลของพื้นที่ซึ่งกะเหรี่ยงคอยาวอพยพย้ายถิ่นเข้าไปพำนักอาศัยอยู่ครับ) ส่วนผู้ชายแห่งเผ่ากะยันนั้นจะมีลักษณะการแต่งกายที่คล้ายคลึงกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ



บ้านโต้งหลวง_71


.........................กิ่งใบให้ร่มเงา.........................

บ้านโต้งหลวง_74


........................................ต่อรอง........................................



     2. กะเหรี่ยง : ก่อนที่จะย้ายเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ภายในบ้านโต้งหลวง บรรพบุรุษของชาวกะเหรี่ยงเคยตั้งรกรากอยู่ในดินแดนแถบมองโกเลีย ต่อมาจึงหลบลี้หนีภัยจากการรุกรานของกองทัพจีนเข้าสู่ทิเบต แล้วค่อยๆ ถอยร่นลงใต้ต่อมายังบริเวณพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำแยงซีเกียง อพยพเรื่อยมาถึงลุ่มแม่น้ำสาละวินจนกระทั่งเกิดความขัดแย้งกับฝ่ายปกครองของรัฐบาลทหารเมียนมาร์จึงย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)



บ้านโต้งหลวง_131


........................................จัดของ........................................

บ้านโต้งหลวง_128


...............เครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวเมี่ยน...............



     โดยปกติชาวกะเหรี่ยงจะเรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งมีความหมายว่า “คน” ชาวกะเหรี่ยงนับเป็นกลุ่มชาวเขาที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย สามารถแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีก 4 กลุ่ม คือ

     2.1 “สะกอ” หรือ “ปากกะญอ” หรือ “ยางขาว”

     2.2 “โป” หรือ “โผล่”

     2.3 “ปะโอ” หรือ “ตองสู”

     2.4 “บะเว” หรือ “คะยา”

     การแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงหากเป็นเด็กหรือหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานมีครอบครัวจะสวมใส่ชุดทรงกระสอบซึ่งตัดเย็บขึ้นจากผ้าฝ้ายสีขาวทอมือ (การทอผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าใช้เองเป็นวัฒนธรรมของชาวเขาโดยทั่วไปครับ) มีการปักตกแต่งลวดลายประดับตามลำตัวเพียงเล็กน้อย ตัวชุดบริเวณหน้าอกมีลายแดงทำเป็นชายครุย สำหรับผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วจะสวมใส่ผ้าถุงสีแดง ทอเส้นลายพาดขวางยกดอก ยกลาย หรือประดับลูกเดือยเพื่อตกแต่ง ส่วนเสื้ออาจเป็นสีดำ, สีน้ำเงินเข้ม, สีแดงอ่อน หรือสีน้ำหมากตามลักษณะนิยมในกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม




บ้านโต้งหลวง_134


ที่ บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
เขายังมีการตำข้าวด้วยครกกระเดื่องแบบนี้อยู่จริงๆ นะ

บ้านโต้งหลวง_135


.........................เวลาแห่งความเงียบงัน.........................



     ผู้ชายชาวกะเหรี่ยงส่วนมากจะนิยมสวมเสื้อยาวถึงสะโพก ทอตกแต่งด้วยแถบสีโดยไม่มีการปักลวดลายประดับแตกต่างจากเสื้อของผู้หญิง ใส่กางเกงสะดอ อาจสวมสร้อยลูกปัด สวมกำไลเงิน หรือใส่ต่างหูเป็นเครื่องประดับ ส่วนใหญ่ในช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมบ้านโต้งหลวง (เปิด 8.30 – 16.30 น.ครับ) มักจะไม่ค่อยพบเห็นผู้ชายชาวกะเหรี่ยงวัยหนุ่มพักอาศัยอยู่ภายในหมู่บ้าน (เนื่องจากผู้ชายชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์วัยหนุ่มแห่งบ้านโต้งหลวงมักจะนิยมออกไปทำงานเป็นควาญช้างหรือทำงานรับจ้างอื่นๆ นอกหมู่บ้านในช่วงเวลากลางวัน) จะคงมีก็เพียงแค่ชายชราชาวกะเหรี่ยงซึ่งนั่งประดิษฐ์ผลงานหัตกรรมอยู่หน้าบ้านบางหลังเท่านั้น



บ้านโต้งหลวง_97


...............คุณน้ากับคุณป้าชาวกะเหรี่ยงผู้ขะมักเขม้นในการทอผ้า...............

บ้านโต้งหลวง_137


ถึงแม้ว่ารูปแบบวิถีชีวิตของชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์แห่งบ้านโต้งหลวง
จะไม่ได้มีความแตกต่างไปจากเมื่อครั้งอดีตมากมายนัก
แต่ผู้ชายส่วนใหญ่ก็จะไม่นิยมสวมใส่ชุดประจำเผ่าอีกต่อไปแ้ล้ว



     3. มูเซอ (ล่าหู่) : เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งในประเทศไทย สามารถแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีก 23 กลุ่ม อาทิเช่น มูเซอดำ มูเซอแดง มูเซอลาบา มูเซอเหลือง เป็นต้น .....เดิมที.....ชาวมูเซอเคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนของทิเบต (ทางตอนเหนือของมณฑลยูนนาน) ต่อมากองทัพจีนได้บุกเข้ารุกรานผืนแผ่นดินดังกล่าวจนทำให้ชาวมูเซอต้องอพยพถอยร่นลงใต้เข้าสู่ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศลาวและประเทศเมียนมาร์ ครั้นเมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองการปกครองขึ้นภายในเมียนมาร์.....ชาวมูเซอซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเมียนมาร์จึงจำเป็นต้องอพยพย้ายถิ่นฐานอีกครั้งเข้ามายังแนวเขตพรมแดนของประเทศไทยในแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และตาก



บ้านโต้งหลวง_142


.........................รอยยิ้มเปี่ยมไมตรีของชาวอาข่า.........................

บ้านโต้งหลวง_100


..............................ของที่ระลึกสุดน่ารัก..............................



     ชาวมูเซอส่วนใหญ่ที่พำนักอาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นชาวมูเซอเหลือง (ล่าหู่ชิบาหลา) มีลักษณะการแต่งกายอันบ่งถึงเอกลักษณ์ประจำเผ่า คือ สวมใส่ชุดสีดำซึ่งปักประดับด้วยลูกกระพรวนขนาดเล็กและผ้าลวดลายสีสันสดใส ผู้หญิงชาวมูเซอเหลืองจะเจาะหูและใส่ตุ้มโลหะขนาดใหญ่เอาไว้ภายใน (ตุ้มโลหะดังกล่าวนี้จะมีขนาดใหญ่มากจนสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดเลยครับ) ส่วนผู้ชายจะโพกศีรษะด้วยผ้าสีแดง ชาวมูเซอเหลืองทั้งหญิงและชายนิยมสวมใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับ



บ้านโต้งหลวง_73


คุณป้าชาวกะเหรี่ยงคอยาวซึ่งกำลังเดินไปมาอยู่ภายในบ้านโต้งหลวง

บ้านโต้งหลวง_140


หากลองสังเกตตุ้มโลหะบริเวณติ่งหูให้ดีๆ
ก็จะรู้ได้ทันทีว่าคุณยายเป็นชาวมูเซอ



     4. ปะหล่อง (ดาละอั้ง) :  เดิมทีชาวปะหล่องเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภายใต้การปกครองของนครรัฐแสนหวี 1 ใน 9 นครรัฐของอาณาจักรไตมาว (คือที่ตั้งของเมืองแสนหวี รัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ในยุคปัจจุบัน) แต่ภายหลังจากที่อังกฤษประกาศคืนอิสรภาพให้แก่เมียนมาร์ ชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในประเทศเมียนมาร์ (รวมถึงชาวปะหล่อง) ก็ได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กร “แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ” ขึ้นเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ในการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยจากรัฐบาลทหารเมียนมาร์.....ผลจากการสู้รบนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายเป็นอันมาก ชาวปะหล่องกลุ่มหนึ่ง (จำนวนประมาณ 2,000 คน) จึงตัดสินในอพยพหลบหนีมารวมตัวพำนักอาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทย – เมียนมาร์ บริเวณดอยอ่างขาง เมื่อราวปี พ.ศ. 2527



บ้านโต้งหลวง_181 บ้านโต้งหลวง_184


........................................จุดพักผ่อน........................................

บ้านโต้งหลวง_178 บ้านโต้งหลวง_65


..............................กระจกร้าว และ กล่องรับบริจาค..............................



     .....ต่อมา.....พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) มหาราชผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระราชจริยวัตรอันงดงามได้เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาเผ่ามูเซอในพื้นที่โครงการหลวงดอยอ่างขาง ชาวปะหล่องคนหนึ่งจึงได้นำความกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ชาวปะหล่องอพยพได้มีโอกาสพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ผู้อพยพขึ้นที่บ้านนอแล อ.ฝาง จ.เชียงใหม่.....อย่างไรก็ดี.....ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของขุนส่าซึ่งประกอบกิจการค้าฝิ่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่บ้านนอแล จึงทำให้ชาวปะหล่องบางส่วนตัดสินใจอพยพโยกย้ายกระจัดกระจายกันออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่อื่นๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งชาวปะหล่องบางครอบครัวก็ได้เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ แห่งนี้



บ้านโต้งหลวง_115


..........ผ้าทอมือซึ่งถูกย้อมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาตากแขวนไว้แบบนี้..........

บ้านโต้งหลวง_110


...............คุณยายชาวม้งกำลังเตรียมเขียนลวดลายลงบนผืนผ้า...............



     เอกลักษณ์ในการแต่งกายของผู้หญิงชาวปะหล่องโดยทั่วไปจะสวมใส่เสื้อแขนกระบอกเอวลอยผ่าหน้าสีสันสดใส (มักเป็นสีฟ้า, สีน้ำเงิน, สีม่วง หรือสีเขียวใบไม้) ตกแต่งสาบเสื้อด้านหน้าด้วยแถบผ้าสีแดง สวมผ้าซิ่นทอมือสีแดงสลับลายริ้วสีขาวเล็กๆ ที่พาดขวางลำตัวยาวจรดเท้า ศีรษะโพกผ้าผืนยาว บริเวณเอวสวมวงหวายลงรักแกะลายหรือใช้เส้นหวายเล็กๆ ย้อมสีถักเป็นลาย บางคนจะใช้โลหะสีเงินลักษณะเหมือนแผ่นสังกะสีนำมาตัดเป็นแถบยาว ตอกลายแล้วขดเป็นวงสวมใส่ปนกับวงหวาย วงสวมเอวเหล่านี้ชาวปะหล่องเรียกว่า “หน่องว่อง” (การแต่งกายของผู้หญิงชาวปะหล่องอาจถือได้ว่าเป็นการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสีสันสดใสมากที่สุดของบ้านโต้งหลวงครับ) สำหรับลักษณะการแต่งกายของผู้ชายชาวปะหล่องนั้นเปลี่ยนแปลงไปคล้ายคลึงกับคนพื้นราบจนไม่สามารถบอกถึงเอกลักษณ์ใดๆ ได้อย่างชัดเจน จะมีก็เพียงแค่ผู้เฒ่าบางคนที่สูบยาด้วย “กล้องยาสูบ” ขนาดความยาวประมาณ 1 ฟุต แกะสลักจากไม้เป็นรูปสัญลักษณ์ซึ่งบ่งชี้ถึงความเป็นชาวปะหล่องที่แตกต่างจากชนเผ่าอื่นๆ



บ้านโต้งหลวง_172


....................มีใครแอบเห็นคนขี่ช้างในภาพนี้บ้าง ?....................

บ้านโต้งหลวง_149


ตามประเพณีของหญิงชาวปะหล่อง (ดาละอั้ง)
พวกเธอจะชอบสวมใส่เสื้อสีสันสดใส



     5. ม้ง : ไม่มีหลักฐานแน่ชัดใดๆ ซึ่งบ่งชี้แน่ชัดว่าเดิมทีชาวม้งเคยตั้งรกรากอยู่ที่ไหน แต่สันนิษฐานกันว่าชาวม้งอาจอพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลีย เข้าสู่ประเทศจีนแล้วตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ต่อมาในสมัยราชวงศ์แมนจูเรืองอำนาจ กษัตริย์จีนได้เปลี่ยนแปลงแนวนโยบายให้มีการปราบปรามชาวม้งรวมถึงชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เกิดการรบพุ่งต่อสู้กันอย่างรุนแรงดุเดือดจนกลุ่มชาวม้งต้องอพยพถอยร่นลงมาทางใต้แล้วตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่บนพื้นที่สูงในแถบแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา บางส่วนก็ได้อพยพเข้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู และบางส่วนก็ได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2400 เป็นต้นมา



บ้านโต้งหลวง_152


.........................เล่นหมากเก็บกับเพื่อนชาวกะยอ.........................

บ้านโต้งหลวง_151


...............ผ้าหลากสีที่แขวนๆ อยู่น่ะฝีมือพี่เองนะจะบอกให้...............



     .....ในบ้านโต้งหลวง.....ผู้หญิงชาวม้งจะสวมเสื้อกำมะหยี่สีดำหรือสีน้ำเงินเข้มแขนยาวถึงข้อมือ ตามแนวแขนเสื้อและสาบเสื้อมีการปักลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ท่อนล่างใส่กระโปรงจีบผ่าหน้าสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มปักประดับลวดลาย ความยาวกระโปรงอยู่ระดับพอดีเข่า มีผ้าสี่เหลี่ยมผืนยาวปักลวดลายเต็มผืนปิดรอยผ่าของกระโปรงจีบด้านหน้า ส่วนผู้ชายชาวม้งสวมเสื้อกำมะหยี่สีดำหรือสีน้ำเงินเข้มแขนยาวจรดข้อมือ ปกสาบเสื้อด้านขวาจะป้ายเลยมาทับซีกซ้ายของตัวเสื้อ ตลอดแนวสาบเสื้อใช้ด้ายและผ้าสีปักลวดลายตกแต่งดูสวยงามสะดุดตา ใส่กางเกงสีเดียวกับเสื้อความยาวถึงระดับข้อเท้า ลักษณะขากางเกงกว้างแต่ปลายแคบลง เป้ากางเกงหย่อนลงมาจนต่ำกว่าระดับเข่า รอบเอวพันผ้าแดงทับโดยปล่อยชายผ้าซึ่งปักประดับลวดลายห้อยไว้ด้านหน้า ส่วนใหญ่มักจะคาดเข็มขัดทับผ้าแดงหรือผูกเชือกทับผ้าแดงอีกชั้น ทั้งผู้หญิงและผู้ชายชาวม้งนิยมสวมใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับ .....บางครั้ง.....ขณะที่นักท่องเที่ยวกำลังเดินชมวิถีชีวิตของชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อยู่ภายในหมู่บ้านโต้งหลวง ก็อาจพบเห็นหญิงชราชาวม้งกำลังนั่งวาดลวดลายลงบนผืนผ้าซึ่งจะนำมาตัดเย็บเป็นชุดประจำเผ่าก็ได้



บ้านโต้งหลวง_146


.........................เด็กน้อยและคุณแม่ชาวปะหล่อง.........................

บ้านโต้งหลวง_165


........................................งานช่าง........................................



     6. กะยอ (คะยอ) : อีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพหลบหนีไฟสงครามจากประเทศเมียนมาร์เข้าสู่ประเทศไทย โดยบางครอบครัวก็ตัดสินใจย้ายมาพำนักอาศัยอยู่ภายในบ้านโต้งหลวงเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ.....ลักษณะเด่นอันถือเป็นเอกลักษณ์ในการแต่งกายของชาวกะยอ คือ ผู้หญิงในเผ่าจะมีการเจาะรูบริเวณติ่งหูทั้งสองข้างแล้วสวมใส่ต่างหูโลหะขนาดใหญ่เอาไว้ภายใน การเจาะหูของหญิงชาวกะยอดังกล่าวนี้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ราว 4 – 5 ขวบ) โดยผู้ปกครองของเด็กจะใช้ไม้ไผ่สะอาดเหลาให้มีปลายแหลมเจาะเข้าไปบริเวณติ่งหู แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดของไม้ไผ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามช่วงอายุและตามความสมัครใจของเด็กซึ่งเป็นผู้รับการเจาะ (ในอดีต.....ผู้หญิงชาวกะยอมีความเชื่อว่า ยิ่งหูของตนสามารถสวมใส่ต่างหูโลหะได้ขนาดใหญ่เท่าไหร่ ตนเองก็จะยิ่งสวยมากขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันด้วยสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ความเชื่ออันเป็นเอกลักษณ์ประจำเผ่าดังกล่าวนี้เริ่มคลายความนิยมลงแล้วครับ).....ทั้งนี้.....เคยมีการบันทึกเอาไว้ว่าต่างหูโลหะขนาดใหญ่ที่สุดที่ผู้หญิงชาวกะยอเคยสวมเข้าไปในรูบริเวณติ่งหูมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวมากถึงประมาณ 6 ซม. จากลักษณะอันโดดเด่นดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้มีผู้ที่ได้พบเห็นบางคนขนานนามหญิงชาวกะยอว่า “กะเหรี่ยงหูยาว



บ้านโต้งหลวง_133


...................................ฉัน คือ เมี่ยน...................................

บ้านโต้งหลวง_125


........................................เย็บปักถักร้อย........................................



     การสวมใส่เสื้อผ้าของชาวกะยอโดยทั่วไป ผู้หญิงชาวกะยอจะนิยมใส่เสื้อแขนสั้นสีแดง สีแสด สีชมพู หรือสีม่วง มีริ้วสีขาวเล็กๆ พาดตามแนวยาวของลำตัว ความยาวแขนเสื้ออยู่ระดับข้อศอก ปลายแขนเสื้อถักเป็นพู่ห้อยประดับโดยรอบดูสวยงาม ท่อนล่างสวมโสร่งสั้นสีเข้มความยาวระดับเข่า (อาจเป็นสีดำหรือน้ำเงินเข้ม) บริเวณเหนือข้อเท้าและเหนือหน้าแข้งจนถึงเข่าสวมประดับด้วยห่วงทองเหลืองที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ นอกจากนี้ยังนิยมสวมใส่สร้อยคอเงิน ห่วงโลหะ หรือสร้อยคอที่ประดับไว้ด้วยเหรียญแบนๆ

     ผู้ชายชาวกะยอ (พบเจอได้ยากในช่วงเวลาเปิดทำการตามปกติของบ้านโต้งหลวงครับ) จะใส่เสื้อลักษณะคล้ายคลึงกับผู้หญิงในเผ่า แต่ท่อนล่างจะสวมกางเกงยาวคลุมเข่า ใส่ห่วงทองเหลืองหลายชั้นไว้เหนือหัวเข่า และสวมใส่ห่วงหวายประดับไว้รอบลำคอและท่อนขาช่วงล่าง ผู้ชายชาวกะยอในยุคดั้งเดิมจะไว้ผมยาวแล้วขมวดผมเป็นปมใหญ่ๆ รัดไว้ด้วยผ้าโพกแบบวงแหวน (ลักษณะคล้ายโดนัท) แล้วรวบไว้ทางด้านบนของศีรษะ นอกจากนี้ผู้ชายส่วนใหญ่ก็ยังนิยมใส่ต่างหูเงินและสวมสร้อยคอเป็นเครื่องตกแต่งคล้ายกับผู้หญิงในเผ่า




บ้านโต้งหลวง_176


..........ถ้ามาท่องเที่ยวบ้านโต้งหลวงกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ก็แวะมานั่งตรงนี้ได้..........

บ้านโต้งหลวง_177


........................................ม้าไม้ไผ่........................................



     7. อาข่า (อ่าข่า) : จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าเดิมทีชาวอาข่าเคยตั้งถิ่นฐานอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นในแถบมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ต่อมาเมื่อถูกรุกรานจึงทำให้ชาวอาข่าจำนวนหนึ่งอพยพหลบหนีลงมาทางใต้เข้าสู่แคว้นเชียงตุง ประเทศเมียนมาร์, แคว้นพงสาลี ประเทศลาว และบางส่วนก็ได้อพยพเข้ามายังประเทศไทยบริเวณดอยแม่สลอง จ.เชียงราย จากนั้นจึงได้เดินทางกระจัดกระจายต่อไปยังจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ เช่น ลำปาง, ตาก, กำแพงเพชร, แพร่, ฯลฯ ซึ่งก็มีครอบครัวชาวอาข่ากลุ่มเล็กๆ บางกลุ่มที่ตัดสินใจย้ายเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ภายในบ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่


บ้านโต้งหลวง_156


ห่วงโลหะขนาดใหญ่ที่สวมใส่เข้าไปภายในรู
ซึ่งได้เจาะถ่างขยายเอาไว้บริเวณติ่งหู คือ ลักษณะเฉพาะของผู้หญิงเผ่ากะยอ

บ้านโต้งหลวง_139


........................................แม่ค้าชาวม้ง........................................



     คำว่า “อาข่า” หรือ “อ่าข่า” นั้นสามารถแปลความหมายได้ว่า “ห่างไกลความชื้น” (คำว่า “อา” หรือ “อ่า” แปลว่า “ชื้น” ส่วนคำว่า “ข่า” หมายถึงไกล เมื่อรวมกันจึงมีความหมายดังกล่าวข้างต้นครับ) สืบเนื่องจากเรื่องราวเมื่อครั้งอดีตที่บรรพบุรุษของชาวอาข่ายังเคยตั้งถิ่นฐานพำนักอาศัยอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ต่อมาได้เกิดโรคระบาดชื่อว่า “มี้หิ” คร่าชีวิตของชาวอาข่าไปเป็นจำนวนมาก ทำให้กลุ่มชาวอาข่าเกิดความเชื่อว่าหากอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บ พวกเขาจึงย้ายขึ้นไปอยู่บนดอยสูงและสืบทอดความเชื่อดังกล่าวต่อมาเรื่อยๆ สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน

     .....ปัจจุบัน.....ถึงแม้ว่าจะมีชาวอาข่าพำนักอาศัยอยู่ภายในบ้านโต้งหลวงเพียงแค่ไม่กี่ครอบครัว แต่หากนักท่องเที่ยวได้ลองสังเกตลักษณะของ “หมวก” ที่ผู้หญิงชาวเขาภายในหมู่บ้านแห่งนี้สวมใส่ก็จะทราบได้อย่างไม่ยากเย็นเลยว่าใครคือชาวอาข่า เนื่องจากผู้หญิงชาวอาข่าโดยทั่วไปจะสวมใส่หมวกขนาดใหญ่ซึ่งประดับประดาด้วยกระดุมเงิน เหรียญ ลูกปัด และลูกบอลเงิน เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างจากชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ส่วนเครื่องแต่งกายตามปกติ.....ผู้หญิงจะสวมใส่เสื้อแขนยาวสีดำติดกระดุมเงิน นุ่งกระโปรงสั้นสีดำมีจีบรอบเอว ใช้ผ้าคาดเอวทับกระโปรงแล้วปล่อยชายลงสองข้าง ผู้ชายสวมเสื้อแขนยาวผ่าอกปล่อยชายระดับเอว สวมกางเกงสองหน้าขายาวสีดำ




บ้านโต้งหลวง_166


....................วันนี้จะมีใครมาช่วยอุดหนุนกันบ้างไหมนะ ?....................

บ้านโต้งหลวง_167


..............................ผู้เยาว์แห่งบ้านโต้งหลวง..............................



     8. เมี่ยน (เย้า) : กลุ่มชาวเขาซึ่งมีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า “ม่อ เย้า” มีความหมายว่า “ไม่อยู่ภายใต้อำนาจของผู้ใด” เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำแยงซี ประเทศจีน แต่เนื่องจากบรรพบุรุษของชาวเมี่ยนไม่ยินยอมตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบบังคับกดขี่ของรัฐ พวกเขาจึงได้อพยพขึ้นไปอยู่ในป่าลึกบนภูเขาสูง จวบจนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซ่งคำว่า “ม่อ เย้า” จึงถูกเรียกแบบย่นย่อกลายเป็นคำว่า “เย้า” ที่แปลว่า “ป่าเถื่อน” แทน.....สำหรับชาวเย้าซึ่งอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยจะเรียกตนเองว่า “เมี่ยน”  มีความหมายถึง “มนุษย์”



บ้านโต้งหลวง_160


..............................สนทนาประสากะยอ..............................

บ้านโต้งหลวง_161


..............................หยอกลูกเพื่อน ?..............................



     ขณะที่เดินทอดน่องไปรอบๆ หมู่บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ นักท่องเที่ยวจะได้พบเห็นผู้หญิงชาวเมี่ยนกำลังนั่งเย็บปักถักร้อยหรือจำหน่ายของที่ระลึกอยู่บริเวณแผงค้าริมทางโดยมีลักษณะการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พวกเธอจะสวมใส่เสื้อคลุมสีดำซึ่งติดไหมพรมสีแดงรอบคอเสื้อยาวลงมาจนถึงช่วงด้านหน้าท้อง บนศีรษะโพกผ้าพับซ้อนทับกันหลายชั้น ผ้าโพกศีรษะนี้ส่วนใหญ่จะมีสีน้ำเงินปนดำหรือสีดำ มีลายปักบริเวณส่วนปลายของผ้าโพกศีรษะ นุ่งกางเกงขายาวเป็นผ้าสีดำปักลวดลายหลายสีทางด้านหน้าดูประณีตงดงาม ใช้ผ้าคาดรอบเอวหลายๆ รอบ นอกจากนี้ยังนิยมสวมใส่เครื่องประดับเงินเป็นต่างหู, สร้อยคอ, สร้อยแขน, กำไลข้อมือ, แหวน, ฯลฯ สำหรับผู้ชายชาวเมี่ยนจะนิยมสวมเสื้อดำอกไขว้แบบเสื้อชาวจีน ติดกระดุมที่คอและรักแร้เป็นแนวถึงเอว นุ่งกางเกงจีนขายาวสีดำ

     .....และที่กล่าวถึงมาทั้งหมดข้างต้น ก็คือ ชาวเขาและกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 8 ชนเผ่าแห่งบ้านโต้งหลวง.....




บ้านโต้งหลวง_197


ไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยงคอยาวหรือชนเผ่าไหนๆ ภายในบ้านโต้งหลวง
ต่างก็ทราบกันดีว่าจะมีนักท่องเที่ยวแวะมาเยี่ยมเยือนหมู่บ้านอยู่เสมอ

บ้านโต้งหลวง_191


เมื่อชั้นของห่วงทองเหลืองรอบลำคอค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามวัยวัน
หญิงชาวกะเหรี่ยงคอยาวก็จะต้องนำผ้าชิ้นเล็กๆ มารองเอาไว้ใต้คาง
เพื่อป้องกันการเสียดสีหรือกดทับระหว่างผิวหนังกับห่วงทองเหลือง

     

     การเดินทางสู่บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

     รถยนต์ส่วนบุคคล : จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทาง “ถนนเชียงใหม่ – ฝาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107)” มุ่งหน้าขึ้นเหนือไปทาง อ.แม่ริม ประมาณ 19 กม.จนถึง “สามแยกแม่ริม – สะเมิง” เลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกดังกล่าวเข้าสู่ “ถนนแม่ริม – สะเมิง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1096)” แล้วขับรถมุ่งหน้าไปทาง ปางช้างแม่สา ต่ออีกประมาณเกือบ 8 กม. (ระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะสังเกตเห็นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ของ “ปางช้างแม่สา” ได้อย่างชัดเจนครับ) จะสังเกตเห็นป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้ายไปยัง “บ้านโต้งหลวง”.....เลี้ยวซ้ายไปตามทางแยกเล็กๆ (ตามป้ายบอกทาง) และขับรถต่อไปอีกไม่เกิน 1 กม.ก็จะพบกับลานจอดรถด้านหน้าหมู่บ้านโต้งหลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

     จุดสังเกต : หากนักท่องเที่ยวขับรถไปจนถึง “ปางช้างแม่สา” แสดงว่าขับเลยสามแยกทางเข้าบ้านโต้งหลวงไปแล้ว ให้กลับรถย้อนมาจาก “ปางช้างแม่สา” ไม่เกิน 800 เมตรก็จะพบสามแยกทางเข้าบ้านโต้งหลวงอยู่ทางด้านขวามือ

     ข้อมูลอ้างอิง : กลุ่มอนุรักษ์วิถีชีวิตชนเผ่าเชิงเกษตรนิเวศ บ้านโต้งหลวง, ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 43 จังหวัดแม่ฮ่องสอน, ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดแม่ฮ่องสอน, สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยพายัพ, สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 10, มูลนิธิโครงการหลวง, พิพิธภัณฑ์ชาวเขา Online (Hilltribe.org), รายการโทรทัศน์ “เรื่องจริงผ่านจอ”, books.google.co.th



     ถ่ายภาพ และเขียนบทความ โดย : ตฤณ ณ อัมพร

     เรียบเรียง โดย : อรชร ลลิตผสาน

     สงวนลิขสิทธิ์โดย : เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com)





โปรโมชั่น บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ จ.เชียงใหม่
ประเภท
ราคา (บาท)
ผู้ใหญ่
เด็ก
(สูงระหว่าง
90-120 ซม.)

บัตรเข้าชม : บ้านโต้งหลวง

up to 20% off
(walk in 500)
up to 15% off
(walk in 300)

โปรโมชั่นนี้จัดให้เฉพาะผู้ซึ่งติดต่อจองบัตรเข้าชม “บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ”
ตามหมายเลขโทรศัพท์หรือ LINE ID ทางด้านล่าง
และชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 – 7 วัน ตามเงื่อนไขเท่านั้น !


* นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามโปรโมชั่นประจำเดือน (เฉพาะการจองล่วงหน้า)
ได้ทาง Line ID หรือ หมายเลขโทรศัพท์ ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ - 31 ต.ค. 2563





รับทันที !! ส่วนลดโปรโมชั่นบัตรเข้าชม "บ้านโต้งหลวง" ราคาพิเศษ !!

เฉพาะผู้ซึ่งติดต่อจองบัตรล่วงหน้าตามเงื่อนไขผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม
ทาง Line ID หรือหมายเลขโทรศัพท์ :

(094) 236-3295 , (094) 519-3645 , (094) 251-9214  Fax. (02) - 4571605

Line ID : thongteaw2 , thongteaw.com ,
trin.thongteaw.com , cimlee


กรุณาติดต่อสำรองบัตรล่วงหน้าอย่างน้อย 2 - 7 วัน ขอบคุณครับ/ค่ะ


หมายเลขโทรศัพท์ & Line ID ข้างต้น
ใช้เพื่อการติดต่อสำรองบัตรเข้าชม "บ้านโต้งหลวง" ล่วงหน้าเท่านั้น !!
กรณีไม่สะดวกสำรองบัตรและชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าตามเงื่อนไข
กรุณาติดต่อซื้อบัตรเข้าชมบ้านโต้งหลวง ในราคา Walk In ตามปกติ
ไม่มีโปรโมชั่นส่วนลดใดๆ ครับ/ค่ะ





     เงื่อนไขการจองบัตรเข้าชม บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ จ.เชียงใหม่ โปรโมชั่นราคาถูก ! โดยใช้ Line

     สำหรับการจองบัตรเข้าชม บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ กรุณาแจ้งจองบัตรและปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการจองต่างๆ ทางด้านล่างทั้งหมดให้เสร็จสมบูรณ์ล่วงหน้าก่อนกำหนดวันออกเดินทางอย่างน้อย 2 – 7 วัน (กรณีช่วงวันหยุดเทศกาลหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ควรติดต่อจองบัตรและปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ ครับ)


     ขั้นตอนการจองบัตรเข้าชม บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ โปรโมชั่นราคาถูก ! โดยใช้ Line

     
1.เปิด Application Line ใน Smartphone หรือ Tablet ของท่านขึ้นมา แล้วเลือกหัวข้อ “เพิ่มเพื่อน” จากนั้นให้เลือกหัวข้อ “ID/โทรศัพท์” ทางด้านขวาบนของหน้าเพิ่มเพื่อน

     2.เลือกเพิ่มเพื่อนโดยใช้ Line ID : cimlee หรือ thongteaw.com หรือ trin.thongteaw.com

     3.หากท่านไม่สะดวกในการเพิ่มเพื่อนจาก Line ID ท่านสามารถเลือกเพิ่มเพื่อนจากหมายเลขโทรศัพท์ได้โดยการใส่หมายเลขโทรศัพท์ 0942363295 หรือ 0945193645 หรือ 0942519214 ลงในช่อง “หมายเลขโทรศัพท์เพื่อน” แล้วกดเครื่องหมายแว่นขยาย (ช่องด้านบน “หมายเลขโทรศัพท์เพื่อน” ให้ใช้รหัส Thailand +66 ซึ่งถ้าโทรศัพท์ของท่านใช้ SIM card ที่ลงทะเบียนในประเทศไทยก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าใดๆ ครับ)

     4. เมื่อทำการเพิ่มเพื่อนเสร็จเรียบร้อยแล้วให้แจ้งข้อมูลผู้จองส่งมาทาง Line ให้ครบถ้วนดังรายละเอียดต่อไปนี้

     - ชื่อนามสกุล : (ต้องเป็นชื่อ – นามสกุลจริงๆ เท่านั้น ห้ามใช้ชื่อเล่นในการจอง) ของผู้จองซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่ม 1 ท่าน โดยผู้จองต้องเป็นผู้ที่มีหลักฐานยืนยันตัวตนแสดงต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์รับบัตร ณ บ้านโต้งหลวง (หลักฐานยืนยันตัวตนสำหรับผู้จองชาวไทยใช้ “บัตรประชาชน” หรือ “ใบขับขี่” ส่วนหลักฐานยืนยันตัวตนสำหรับชาวต่างประเทศใช้ “หนังสือเดินทาง : Passport” ครับ)

     - หมายเลขโทรศัพท์มือถือ : ต้องเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถใช้ติดต่อกับผู้จองได้จริงในวันเดินทางเข้าใช้บริการ

     - ประเภทบัตรที่เลือก : สามารถเลือกประเภทบัตร บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ ได้จากตารางประเภทต่าง ๆ

     - วันที่จะใช้บริการ : คือวันที่ต้องการจะไปใช้บริการนั่นเอง

     - จำนวนนักท่องเที่ยว : จำนวนรวมของนักท่องเที่ยวในกลุ่ม

     - สัญชาตินักท่องเที่ยว : กรุณาแจกแจงข้อมูลว่าในกลุ่มของท่านมีนักท่องเที่ยวสัญชาติใดอยู่บ้าง ? แต่ละสัญชาติมีจำนวนกี่คน ? ยกตัวอย่างเช่น ไทย 4 คน จีน 2 คน อเมริกัน 1 คน เป็นต้น

     - อายุเด็ก : สำหรับบัตรเข้าชม บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ ประเภทต่าง ๆ “เด็ก” โปรดตรวจสอบเงื่อนไขเด็กจากข้อมูลด้านล่างตารางราคา ดังนั้นหากแจ้งจองที่นั่งโดยระบุว่ามีเด็กอยู่ภายในกลุ่มจึงจำเป็นจะต้องแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของส่วนสูงเด็กไว้ด้วย

     5.เมื่อแจ้งข้อมูลการจองครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ให้รอรับข้อความยืนยันการจองทาง Line (กรณีที่นั่งเต็มก็จะมีการแจ้งผลการจองกลับทาง Line ให้ทราบเช่นกันครับ)

     6.เมื่อได้รับข้อความยืนยันการจองเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรุณาชำระค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีทางด้านล่างภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อความยืนยันการจอง (ก่อนชำระค่าใช้จ่ายโปรดตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงิน, ชื่อ และเลขที่บัญชีทุกครั้งด้วยครับ) หากไม่มีการชำระค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด การจองจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

 

บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเมืองทองธานีซิตี้เซ็นเตอร์ 2
ชื่อบัญชี : Thongteaw.com (ท่องเที่ยวดอทคอม)

เลขที่บัญชี : 402-222838-7


     7.เมื่อชำระค่าใช้จ่ายเสร็จเรียบร้อย กรุณาส่งหลักฐานการชำระค่าใช้จ่ายมาทาง Line

     - กรณีเป็น Slip จากตู้ ATM หรือใบนำฝากของธนาคารให้ใช้การถ่ายรูปส่งทาง Line

     - กรณีเป็นการโอนผ่าน Application บน Smartphone หรือ Tablet ให้ Capture หน้าจอซึ่งดำเนินการชำระค่าใช้จ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้วส่งมาทาง Line

     8.ทีมงานจะใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าใช้จ่าย ตรวจสอบความถูกต้องของยอดโอน และดำเนินการส่ง Voucher กลับทาง Line ภายในเวลา 24 – 48 ชม. หากยอดโอนหรือหลักฐานการชำระค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ทีมงานจะแจ้งให้ท่านทราบทาง Line เพื่อขอความกรุณาให้ท่านดำเนินการอย่างถูกต้องอีกครั้ง

     9.เมื่อได้รับ Voucher เรียบร้อยแล้ว ในวันเดินทางมา บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ ท่านสามารถใช้หลักฐานยืนยันตัวตน (บัตรประชาชน, ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง แล้วแต่กรณี) ร่วมกับการแสดง Voucher จาก Smartphone หรือ Tablet เพื่อ Check In รับบัตรได้ทันที

     10.เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ไม่มีความประสงค์หรือนโยบายใดๆ ที่จะกระทำการเพื่อหลอกลวง ทุจริต หรือฉ้อโกงท่านในทุกกรณี หากไม่สามารถสำรองโปรโมชั่นได้ ทางเว็บไซต์ยินดีคืนค่าใช้จ่ายซึ่งท่านได้ชำระไว้ล่วงหน้าให้เต็มจำนวนโดยไม่มีเงื่อนไข

     
11.ผู้รับผิดชอบ บ้านโต้งหลวง : หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศ


     หมายเหตุ
     รายละเอียดโปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสภาพคลื่นลม และสภาวะอากาศ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก และผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้นักท่องเที่ยวทราบล่วงหน้า


     - ราคานี้มีผลวันนี้ - 31 ตุลาคม 2563 เท่านั้น



สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
(กรุณาคลิ๊ก “ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งโดยละเอียด)
อ.เมือง
 วัดพระธาตุดอยสุเทพ , วัดเจ็ดยอด , วัดปราสาท , พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ,
 สวนสัตว์เชียงใหม่ , เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ,  เชียงใหม่ไนท์บาซาร์
 ประเพณีลอยโคมยี่เป็ง
อ.ฮอด
 ออบหลวง
อ.ฝาง
 บ่อน้ำร้อนฝาง  
อ.หางดง
 บ้านร้อยอันพันอย่าง , อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อ.แม่แตง
 โป่งเดือดป่าแป๋
อ.จอมทอง
 น้ำตกแม่ยะ , น้ำตกแม่กลาง , น้ำตกวชิรธาร , ดอยอินทนนท์


     ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง >> : ที่พัก/โรงแรม/รีสอร์ท ในจ.เชียงใหม่



โปรโมชั่นทัวร์และบัตรเข้าชมสถานที่/การแสดงในเขต จ.เชียงใหม่ ราคาพิเศษ !!

(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อโปรแกรมทัวร์/ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด)

ประเภทบัตร & โปรแกรมทัวร์
ราคา (บาท)
1.   ล่องเรือแม่น้ำปิง : เรือแม่ปิงริเวอร์ครุยส์ (Mae Ping River Cruise)
450 - 800
2.   ล่องแพแม่น้ำแตง
350 - 1,500
3.   บ้านวังน้ำหยาด (หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว)
300 - 1,800
4.   บ้านโต้งหลวง (หมู่บ้านชาวเขา 8 เผ่า)
300 - 500
5.   เวียงกุมกาม
650 - 800
6.   คุ้มขันโตก
350 - 530
7.   ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
300 - 440
8.   เบญจรงค์ขันโตก
150 - 320
9.   สิบสองปันนาขันโตก
150 - 250
10. ทัวร์ดอยสุเทพ
500 - 1,500
11. สวนสัตว์เชียงใหม่
170 - 700
12. เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
50 - 950








   

สงวนลิขสิทธิ์โดย : เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 12/02025

 
Copyright since 2008 by www.thongteaw.com - All right reserved.