วัดพระธาตุดอยสุเทพ
อ.เมือง จ.เชียงใหม่
|
ท่านสามารถตรวจสอบโปรโมชั่น “ทัวร์ดอยสุเทพ – หมู่บ้านม้งดอยปุย”
ได้จากตารางราคาและหมายเลขโทรศัพท์ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ – 31 มี.ค.2562 นี้ ครับ/ค่ะ
|
“ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์” คือ คำขวัญประจำ จ.เชียงใหม่ซึ่งทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) เชื่อว่าหลายๆ คนอาจเคยได้ยิน ได้ฟัง หรือเคยได้เห็นผ่านตามาบ้าง จากคำขวัญดังกล่าวข้างต้นนี้เองที่เราอาจตีความนัยซึ่งแอบแฝงซ่อนไว้อยู่เบื้องหลังได้ว่า หากใครเดินทางมายัง จ.เชียงใหม่ แต่ไม่เคยเสาะแสวงหาเวลาและโอกาสแวะเวียนขึ้นไปกราบสักการะองค์พระธาตุดอยสุเทพแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถถือได้ว่าคนๆ นั้นเดินทางมาถึง จ.เชียงใหม่ จริงๆ
|
...............สิงห์.....เบื้องหลัง.....เบื้องหน้า.....วัดพระธาตุดอยสุเทพ...............
|
วัดพระธาตุดอยสุเทพ : สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่
“วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร” หรือที่นิยมเรียกกันโดยย่นย่อว่า “วัดพระธาตุดอยสุเทพ” สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1929 ในสมัยของ “พระเจ้ากือนาธรรมิกราช” เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย โดยพระองค์ได้ทรงอธิษฐานเสี่ยงทายต่อช้างมงคลเพื่อแสวงหาสถานที่ก่อสร้างองค์พระเจดีย์ซึ่งใช้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (ว่ากันว่า.....พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ภายในเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเดิมที “พระเจ้ากือนาฯ” ทรงเก็บรักษาบูชาไว้ ณ วัดสวนดอก ต่อมาพระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์โดยแยกออกเป็น 2 องค์ขนาดเท่าๆ กัน.....“พระเจ้ากือนาฯ” จึงทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่งขึ้นไว้บนหลังช้างมงคล แล้วทรงอธิษฐานเสี่ยงทายเพื่อหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเพิ่มเติมอีกแห่ง) ตามตำนานเล่าว่า.....ภายหลังจากที่ “พระเจ้ากือนาฯ” ทรงกล่าวคำอธิษฐานเสร็จสิ้นลง ช้างมงคลก็ได้เดินไปจนถึงดอยสุเทพแล้วเปล่งเสียงร้องออกมา 3 ครั้ง พร้อมกับกระทำทักษิณาวัตร 3 รอบแล้วจึงล้มลง ณ ตรงจุดนั้น
|
นี่คือ..........สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่
|
|
....................พระพุทธรูปภายในระเบียงคด....................
|
เมื่อ “พระเจ้ากือนาฯ” ทอดพระเนตรเห็นอากัปกิริยาของช้างมงคลเป็นดังกล่าว พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก ณ จุดที่ช้างมงคลเปล่งเสียงร้องและกระทำทักษิณาวัตร แล้วให้หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม เสร็จเรียบร้อยก็ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงบรรจุประดิษฐานไว้ จากนั้นจึงถมด้วยหิน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงเชียงแสนครอบปิดด้านบนอีกชั้น.....จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ถือเป็นจุดกำเนิดของ “วัดพระธาตุดอยสุเทพ”
|
...............อัฐิธาตุ และ หุ่นขี้ผึ้ง ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา...............
|
|
ใครอยากจะนั่งพัก ใครอยากจะบริจาคอะไรก็เชิญได้ที่นี่เลยคร้าบ.....บ....บ...บ..บ
|
.....ระยะแรก.....วัดพระธาตุดอยสุเทพยังไม่มีพระภิกษุองค์ใดเข้าจำพรรษา จวบจนเมื่อปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ซึ่งเดินทางจาก จ.ลำพูน มาจำพรรษา ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ได้จัดสร้างบันไดนาคหลวงเพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินขึ้นไปกราบสักการะองค์พระเจดีย์ได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ในหนังสือ “ประวัติวัดพระธาตุดอยสุเทพ” ระบุไว้ว่า.....ปัจจุบัน.....บันไดนาคดังกล่าวนี้มีจำนวนรวมทั้งหมด 306 ขั้น โดยแบ่งช่วงของบันไดออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรกนับจากถนนจนถึงหัวพญานาคเจ็ดเศียรจำนวน 106 ขั้น ช่วงที่สองนับจากหัวพญานาคเจ็ดเศียรจนถึงปลายหางจำนวน 185 ขั้น และช่วงที่สามนับจากปลายหางจนถึงบันไดขั้นสุดท้ายจำนวน 15 ขั้น
|
.........................แสงทองเรืองรองผ่องอำไพ.........................
|
ในอดีต.....การเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพเต็มไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากยังไม่มีถนนที่สามารถใช้รถยนต์/จักรยานยนต์ขับขี่ขึ้นไปยังตัววัดได้ ทำให้ประชาชนทั่วไปต้องเดินเท้าตามทางดินแคบๆ ไม่ราบเรียบ ผ่านป่าเขาลำเนาไพรโดยใช้เวลาราว 5 ชั่วโมงกว่าจะเดินจากเชิงดอยขึ้นไปถึงตัววัด (ถึงแม้ว่าจะมีการจัดสร้างบันไดนาคหลวงขึ้นแล้ว แต่บันไดนาคหลวงก็ตั้งอยู่แค่ภายในบริเวณพื้นที่ของวัดพระธาตุดอยสุเทพเท่านั้น ไม่ได้สร้างทอดยาวจากเชิงดอยขึ้นไปจนถึงตัววัดแต่อย่างใด) ด้วยความยากลำบากดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้มีคำพูดในสมัยนั้นว่า หากไม่มีบุญและไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้นมัสการพระธาตุดอยสุเทพ
|
.........................สงบ...............งาม.........................
|
|
...............ใต้ร่มโพธิ์ กับ เด็กน้อยชาวเขา...............
|
ความยากลำบากในการเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพดำเนินต่อมาจวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 “ครูบาศรีวิชัย” ได้ชักชวนให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ โดยมี “เจ้าแก้วนวรัฐ” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้นเป็นผู้ลงจอบขุดดินเปิดการสร้างถนนเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477
ข่าวการสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัยได้แพร่สะพัดไปยังหลายจังหวัดในภาคเหนือ ทำให้บรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวของครูบาศรีวิชัยทยอยหลั่งไหลกันเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยสร้างถนนโดยไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งว่าการสร้างถนนบนภูเขาซึ่งมีความยาวเกือบ 12 กิโลเมตร โดยใช้อุปกรณ์การก่อสร้างธรรมดาๆ เพียงแค่จอบ เสียม ร่วมกับแรงกายแรงใจของบรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชน ก็สามารถแล้วเสร็จลงได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 5 เดือน 22 วันเท่านั้น
|
....................ภาพถ่ายในเส้นทางบุญ....................
|
|
....................ด้วยจิตศรัทธา นำพาเรามาที่นี่....................
|
“ถนนดอยสุเทพ” ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นถนนดินลูกรัง เริ่มเปิดให้รถยนต์วิ่งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2478 ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อถนนเป็น “ถนนศรีวิชัย” เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติ์ต่อ “ครูบาศรีวิชัย” พระภิกษุสงฆ์ผู้ซึ่งริเริ่มชักชวนให้บรรดาเหล่าพุทธศาสนิกชนมารวมตัวกันสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ.....ปัจจุบัน.....ถนนสายนี้ได้รับการก่อสร้างปรับปรุงใหม่ให้มีลักษณะเป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจรที่รถยนต์สามารถวิ่งสวนทางกันได้อย่างสะดวกสบาย.....อย่างไรก็ตาม.....ในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์หรือช่วงวันหยุดยาวตามเทศกาลงานบุญต่างๆ การจราจรบนถนนสายนี้ก็มักจะคับคั่งจนมีความจำเป็นต้องจัดระเบียบให้รถยนต์วิ่งขึ้น – ลงดอยสุเทพได้เฉพาะบางช่วงเวลาที่กำหนด
|
..........งานจิตรกรรมบนฝาผนังพระอุโบสถวัดพระธาตุดอยสุเทพ..........
|
|
...............เรื่องราวพุทธประวัติซึ่งถูกบันทึกไว้อย่างประณีตบรรจง...............
|
ประเพณีแปดเป็งเตียวขึ้นดอย
นับแต่การก่อสร้างเจดีย์วัดพระธาตุดอยสุเทพในสมัย “พระเจ้ากือนาธรรมิกราช” เสร็จสิ้นลง ก็ได้เริ่มมีการก่อกำเนิดของ “ประเพณีแปดเป็งเตียวขึ้นดอย” หรือที่แปลเป็นภาษาภาคกลางง่ายๆ ว่า “ประเพณีเดินขึ้นดอยสุเทพเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุในวันวิสาขบูชา” เนื่องจากพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า การเดินเท้าผ่านเส้นทางซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบากเพื่อขึ้นไปกราบนมัสการพระธาตุดอยสุเทพจะทำให้ได้รับบุญกุศลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการเดินทางขึ้นไปกราบนมัสการในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้เองในช่วงเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 จะมีพุทธศาสนิกชนผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธามารวมตัวกัน ณ เชิงดอยสุเทพ แล้วร่วมกันเดินเท้าขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพในยามค่ำคืนเพื่อให้ขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทันรุ่งเช้าของ “วันวิสาขบูชา” ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พอดี
|
...................................หน้าบันไดนาค...................................
|
“ประเพณีแปดเป็งเตียวขึ้นดอย” เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยคำว่า “แปด” หมายถึง “เดือน 8” ตามลักษณะปฏิทินการนับเดือนแบบล้านนา (“เดือน 8” ของคนไทยล้านนาจะตรงกับ “เดือน 6” ของคนไทยภาคกลาง เนื่องจากคนไทยล้านนาในภาคเหนือจะนับเดือนไวกว่าคนไทยภาคกลางไปราว 2 เดือน) ส่วนคำว่า “เป็ง” นั้นแปลว่า “วันเพ็ญ” หรือ “คืนวันพระจันทร์เต็มดวง” และคำว่า “เตียว” ก็คือ “การเดิน” (บางทีก็ใช้คำว่า “เตว”) เพราะฉะนั้น “ประเพณีแปดเป็งเตียวขึ้นดอย” จึงสื่อความหมายถึง “ประเพณีการเดินขึ้นดอยสุเทพเพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุในวันวิสาขบูชา” นั่นเอง
|
.........................อรุโณทัยแย้มเยือน.........................
|
|
.........................ไออุ่นโอบอ้อม ห้อมล้อมรายทั่ว.........................
|
เดิมทีการเดินขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพจะใช้เส้นทาง “ด่านช้าง” ซึ่งเป็นเส้นทางที่ “พระเจ้ากือนาฯ” ทรงเคยใช้ ต่อมาเมื่อ “ครูบาศรีวิชัย” ได้นำเหล่าบรรดาพุทธศาสนิกชนมาร่วมด้วยช่วยกันสร้างถนนขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพจนสำเร็จลุล่วง ผู้ที่เข้าร่วมงาน “ประเพณีแปดเป็งเตียวขึ้นดอย” ในยุคหลังจึงหันมาใช้ถนนสายนี้ทดแทนเส้นทางด่านช้าง.....ปัจจุบัน.....”ประเพณีแปดเป็นเตียวขึ้นดอย” ถือเป็นหนึ่งในงานประเพณีใหญ่ของ จ.เชียงใหม่ โดยในช่วงก่อนวันวิสาขบูชาของทุกๆ ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถจะทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานน้ำสรงพระธาตุดอยสุเทพพร้อมทั้งผ้าไตร ทางหน่วยงานราชการรวมถึงหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ ก็จะมีการจัดริ้วขบวนเดินขึ้นดอยสุเทพอย่างงดงามยิ่งใหญ่ ประกอบไปด้วยขบวนแห่เครื่องสักการะแบบล้านนา ขบวนพระภิกษุสงฆ์ ขบวนตัวแทนหน่วยงาน องค์กร หมู่บ้าน บริษัทห้างร้าน และขบวนของเหล่าสาธุชนผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งขบวนทั้งหมดเหล่านี้จะเริ่มออกเดินจากบริเวณลานอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยเชิงดอยสุเทพในช่วงเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 (จะมีการปิดถนนศรีวิชัยตั้งแต่ช่วงเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ไปจนกระทั่งถึงช่วงเช้าของวันวิสาขบูชา อีกทั้งยังมีจุดรับน้ำดื่ม โรงทาน และมีเต๊นท์พยาบาลคอยเปิดให้บริการอยู่ตลอดแนวถนน) เมื่อขึ้นไปถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพก็จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนรุ่งเช้า มีการถือศีลบำเพ็ญภาวนา และจะมีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุดอยสุเทพต่ออีกครั้งในช่วงเวลาเย็นของวันวิสาขบูชา.....ทั้งนี้.....ผู้ที่ต้องการจะเข้าร่วมงานประเพณีแปดเป็งเตียวขึ้นดอยจำเป็นต้องแต่งกายสุภาพ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมถึงต้องทิ้งขวดน้ำดื่ม กล่องใส่อาหาร และขยะต่างๆ ลงในภาชนะรองรับซึ่งได้จัดเตรียมไว้
|
...............ดวงตะวันบนเส้นขอบฟ้าเบื้องหน้า วัดพระธาตุดอยสุเทพ...............
|
|
.........................รุ่งเช้า ณ ลานชมทิวทัศน์.........................
|
การเดินทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพในปัจจุบัน
.....ปัจจุบัน.....การเดินทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพมีความสะดวกสบายกว่าในอดีตมาก นักท่องเที่ยวสามารถขับรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้นไปยังลานจอดใกล้ๆ กับวัดได้ด้วยตนเอง (ในช่วงวันหยุดต่อเนื่องตามเทศกาลต่างๆ ควรตรวจสอบกับสำนักงานท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงใหม่ก่อนว่า มีการออกข้อกำหนดช่วงเวลาสำหรับขึ้นลงดอยสุเทพหรือไม่ ? โทร.053-252557 , 053-233178 หรือสอบถามประชาสัมพันธ์ จ.เชียงใหม่ได้ที่ โทร.053-219291) หรือถ้าหากไม่สะดวกที่จะนำรถยนต์ส่วนตัวขึ้นดอยก็ยังมีทางเลือกอีก 2 – 3 อย่าง ได้แก่
1. ใช้บริการรถสองแถวประจำทางหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฝั่งถนนห้วยแก้ว มีรถให้บริการตั้งแต่เวลา 05.00 – 17.00 น. บริเวณจุดจอดรถจะมีป้ายอัตราค่าโดยสารมองเห็นได้อย่างชัดเจน
2. เหมารถยนต์หรือรถตู้โดยสารปรับอากาศขึ้นดอยสุเทพ โดยเลือกได้ว่าจะเหมาครึ่งวันหรือเต็มวัน และสามารถติดต่อให้คนขับรถแวะมารับที่โรงแรมแล้วพาไปท่องเที่ยวสถานที่แห่งอื่นๆ บนดอยสุเทพได้ด้วย (เช่น พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ , หมู่บ้านม้งดอยปุย , น้ำตกมณฑาธาร เป็นต้น).....คุณสามารถตรวจสอบอัตราค่าบริการเช่าเหมารถได้จากตารางราคาและหมายเลขโทรศัพท์ในกรอบทางด้านล่าง
3. ใช้บริการทัวร์ดอยสุเทพ เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ซึ่งต้องการความสะดวกสบาย แต่ไม่ต้องการจะเช่าเหมารถ.....คุณสามารถตรวจสอบอัตราค่าบริการทัวร์จากตารางราคาและหมายเลขโทรศัพท์ในกรอบทางด้านล่างได้เช่นเดียวกัน
สำหรับผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพซึ่งเดินทางมายังวัดพระธาตุดอยสุเทพ ทางวัดได้จัดสร้างทางลาด ลิฟต์ และห้องสุขาไว้เพื่อผู้ที่ต้องนั่งรถเข็นเป็นการเฉพาะ ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปซึ่งมีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง หรือไม่ต้องการจะเดินขึ้นบันไดนาคจำนวน 300 กว่าขั้นให้เหนื่อยยากลำบากกาย ก็สามารถเลือกขึ้นรถรางไฟฟ้าไปจนถึงสถานีใกล้ๆ กับองค์พระธาตุได้ อัตราค่าบริการรถรางไฟฟ้าอยู่ที่ 20 บาท/คน/เที่ยว
โปรโมชั่น “ทัวร์ดอยสุเทพ”
|
โปรโมชั่นทัวร์ดอยสุเทพ |
ราคา (บาท) |
ผู้ใหญ่ |
เด็ก |
ทัวร์ดอยสุเทพ -บ้านม้งดอยปุย
|
??? |
??? |
หมายเหตุ
- ทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย บริการวันละ 2 รอบ (เช้า 08.00 - 12.00 น. และ บ่าย 13.30 - 17.00 น.)
- ราคานี้รวม รถรับส่งจากโรงแรม (ในพื้นที่ที่กำหนด) , ไกด์ , ค่าธรรมเนียม
และค่ารถทัวร์ตลอดรายการ
- ราคานี้ไม่รวม บัตรเข้าชมพระตำหนักภูพิงค์ ฯ
- เด็ก หมายถึง อายุ 3 - 9 ปี และสูงไม่เกิน 120 ซม.
|
อัตราค่าบริการเช่าเหมารถทัวร์ดอยสุเทพ |
ราคา (บาท) |
2-6 ท่าน |
4-11 ท่าน |
รถเช่าเหมาทัวร์ดอยสุเทพ -บ้านม้งดอยปุย
|
???? |
???? |
หมายเหตุ
- ราคานี้รวม รถ 1 คัน พร้อมคนขับมีประสบการณ์ (สำหรับ 2-6 ท่าน รถโฟร์วีลไดรฟ แอ๊ดเวนเจอร์ , สำหรับ 4 - 11 ท่าน รถ VIP TOYOTA Commuter D4D) , น้ำมัน และประกันอุบัติเหตุ
|
กรุณาติดต่อจองทัวร์ดอยสุเทพ -หมู่บ้านม้งดอยปุย ล่วงหน้า
ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม ตามหมายเลขโทรศัพท์
(089) 137-8702 , (084) 145-0957 , (084) 360-2913 Fax. (02) - 981-4599
Line ID : www.thongteaw.com , cimlee , trin.thongteaw.com
กรุณาติดต่อสำรองทัวร์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 - 7 วัน ขอบคุณครับ/ค่ะ
|
รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการจองทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย ราคาพิเศษ
เงื่อนไขการจอง และการชำระเงิน
1. บริการจองทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย นี้ จัดให้เฉพาะผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอมซึ่งติดต่อจองล่วงหน้าตามเงื่อนไขด้านล่างต่อไปนี้และมีผลตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2562 นี้ เท่านั้น
2. ต้องสำรองทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุยล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน ในช่วงวันทำการปกติ (และล่วงหน้าอย่างน้อย 5 - 7 วัน ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง หรือช่วงเทศกาล)
3. โทรศัพท์สอบถามการสำรองทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย ตามเบอร์ติดต่อ (089) 137-8702 , (084) 145-0957 , (084) 360-2913
4. กรณีต้องการสำรองทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย กรุณาชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนตามจำนวนท่าน และประเภทบัตรซึ่งท่านได้สำรองไว้ (ชำระค่าใช้จ่ายตามราคาโปรโมชั่นในตาราง ไม่ใช่ตามราคาปกติในวงเล็บค่ะ) ภายใน 2 วัน หลังจากติดต่อสำรองบัตร (และต้องชำระค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อยก่อนวันเดินทางจริงล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ในกรณีวันทำการปกติ หรือชำระค่าใช้จ่ายเพื่อสำรองทัวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย ให้เรียบร้อยก่อนวันที่เดินทางจริงล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันในกรณีวันหยุดต่อเนื่องหรือวันหยุดช่วงเทศกาล) โดยโอนเงินเข้าบัญชีตามที่ระบุไว้ด้านล่างนี้เท่านั้น
การชำระเงิน โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารด้านล่างนี้เท่านั้น
บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเมืองทองธานีซิตี้เซ็นเตอร์ 2
ชื่อบัญชี : Thongteaw.com (ท่องเที่ยวดอทคอม)
เลขที่บัญชี : 402-222838-7
|
5. ภายหลังจากชำระค่าใช้จ่ายเสร็จเรียบร้อย กรุณาโทรแจ้งการชำระค่าใช้จ่ายตามหมายเลขโทรศัพท์ในข้อ 3. เพื่อยืนยันการสำรองทัีวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย ดังข้างต้น และเก็บสลิปการโอนค่าใช้จ่ายไว้เป็นหลักฐาน
6. ภายหลังจากยืนยันการชำระค่าใช้จ่าย (และตรวจสอบพบว่ามีการชำระค่าใช้จ่ายแล้วจริง) ท่านจะได้รับหลักฐานการสำรอง ในระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน (ปกติจะได้รับภายใน 24 - 48 ชม.) ในกรณีที่ตรวจสอบไม่พบการชำระค่าใช้จ่าย เจ้าหน้าที่จะติดต่อแจ้งให้ท่านส่งสำเนาสลิปการโอนค่าใช้จ่ายมาตรวจสอบอีกครั้งตามหมายเลข Fax. (02) - 981-4599 หรือ E-mail : [email protected] และจะมีการติดต่อจากเจ้าหน้าที่กลับไปแจ้งผลการตรวจสอบอีกครั้งภายใน 24 - 48 ชม.
7. เนื่องจากการสำรองทัีวร์ดอยสุเทพ-บ้านม้งดอยปุย ตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นนี้ ภายหลังจากที่ท่านได้ทำการชำระค่าใช้จ่ายแล้วจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือขอยกเลิกการสำรองได้ เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอมขอสงวนสิทธิ์ในการงดคืนค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่งท่านได้ชำระไว้แล้วในทุกกรณี (ยกเว้นกรณีตามข้อ 8.)
8. เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ไม่มีความประสงค์หรือนโยบายใด ๆ ที่จะกระทำการเพื่อหลอกลวง ทุจริต หรือ ฉ้อโกงท่านในทุกกรณี หากทางเว็บไซต์ไม่สามารถสำรองบัตรสวนสัตว์เชียงใหม่ ราคาพิเศษตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นนี้ให้แก่ท่านได้ ทางเว็บไซต์ยินดีคืนค่าใช้จ่ายซึ่งท่านได้ชำระไว้แล้วเต็มจำนวนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
หมายเหตุ ราคานี้มีผลตั้งแต่ วันนี้ - 31 มีนาคม 2562 เท่านั้น
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
(กรุณาคลิ๊ก “ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งโดยละเอียด) |
อ.เมือง |
วัดพระธาตุดอยสุเทพ , วัดเจ็ดยอด , วัดปราสาท , พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ,
สวนสัตว์เชียงใหม่ , เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี , เชียงใหม่ไนท์บาซาร์ ,
ประเพณีลอยโคมยี่เป็ง |
อ.ฮอด |
ออบหลวง |
อ.ฝาง |
บ่อน้ำร้อนฝาง |
อ.หางดง |
บ้านร้อยอันพันอย่าง , อุทยานหลวงราชพฤกษ์ |
อ.แม่แตง |
โป่งเดือดป่าแป๋ |
อ.จอมทอง |
น้ำตกแม่ยะ , น้ำตกแม่กลาง , น้ำตกวชิรธาร , ดอยอินทนนท์ |
|