ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ขันโตกดินเนอร์ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
 
 
Custom Search
 


ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
Chiangmai Old Cultural Center

อ.เมือง จ.เชียงใหม่

รับทันที ! โปรโมชั่นบัตร “ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่” ราคาพิเศษ !!
เฉพาะผู้ที่ติดต่อสำรองที่นั่งและชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าตามเงื่อนไข
ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ หรือ Line ID ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค.2564 ครับ/ค่ะ





     เชียงใหม่ เป็นจังหวัดซึ่งเคยมีฐานะเป็นเมืองราชธานีของอาณาจักรล้านนา (เดิมเคยรู้จักกันในชื่อเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่”) ทำให้จังหวัดแห่งนี้ยังคงอบอวลไปด้วยกลิ่นอายอันน่าหลงใหลของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีและศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีสิ่งปลูกสร้างและผลงานสถาปัตยกรรมที่ทรงเสน่ห์ อุดมไปด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันงดงาม เพียบพร้อมด้วยอาหารประจำถิ่นน่าลิ้มลองมากมาย อีกทั้งยังกอปรไปด้วยเหล่าบรรดาผองคนซึ่งเปี่ยมล้นด้วยอัธยาศัยไมตรี จากคุณลักษณะอันโดดเด่นเหล่านี้เองที่ทำให้ จ.เชียงใหม่ มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนนับได้เป็นเรือนหมื่นเรือนแสนต่อปีอย่างไม่เคยขาดสาย



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_9


...............ลานจอดรถอันกว้างขวางด้านข้าง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่...............


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_5


.........................หน้าหอธรรม.........................



     .....อย่างไรก็ดี.....หากคุณเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งต้องการจะสัมผัสกับเสน่ห์อันละมุนละไมของ จ.เชียงใหม่ อย่างถ้วนทั่ว แต่ก็ติดข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาวันหยุดที่มีอยู่เพียงน้อยนิด ทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ขอแนะนำว่าการเลือกแบ่งเวลามานั่งรับประทานอาหารขันโตกมื้อค่ำไปพร้อมๆ กับชมการแสดงนาฏศิลป์อันงดงาม ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ก็อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะทำให้คุณสามารถดื่มด่ำกับเสน่ห์แห่งล้านนาไทยได้เกือบครบถ้วนโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เวลามากมายนัก



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_15


ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ : นี่คือสถานที่ซึ่งต้นตำนานของ ขันโตกดินเนอร์ ถือกำเนิดขึ้น


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_20


..........เจ้าหน้าที่กำลังเตรียมความพร้อมของลานขันโตกในข่วงหงส์คำ..........




     ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ : เปิดตำนานต้นตำรับขันโตกดินเนอร์ของล้านนาไทย

    .....ปัจจุบัน.....ใน จ.เชียงใหม่ มีร้านซึ่งเปิดให้บริการอาหารแบบขันโตกอยู่มากมายนับได้ไม่ต่ำกว่า 4 – 5 ร้าน แต่หากจะกล่าวถึงต้นตำรับของบริการ “ขันโตกดินเนอร์ (Khantoke Dinner)” หรือ “บุฟเฟ่ต์ขันโตกมื้อค่ำ (Khantoke Buffet Dinner)” แล้วล่ะก็.....ผู้คนท้องถิ่นรุ่นเก่าๆ ใน จ.เชียงใหม่ จะทราบดีว่ามีจุดกำเนิดแรกเริ่มมาจาก “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (Chiangmai Old Cultural Center)



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_27


...............จุดลงทะเบียนกลุ่มทัวร์ใกล้เฮือนแป...............


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_24


.........................ทางเกวียน.........................



     .....ต่อไปนี้คือเรื่องราวอันเป็นจุดกำเนิด “ขันโตกดินเนอร์” ครั้งแรกของล้านนาไทย.....

    เดิมทีการรับประทานอาหารขันโตกถือเป็นวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนา แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านพ้น สภาพสังคมค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมการรับประทานอาหารขันโตกก็ค่อยๆ ถูกลืมเลือนและจางหาย จวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2496 คุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ (นักธุรกิจ อดีตสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ และวุฒิสมาชิก) จึงได้ริเริ่มฟื้นฟูวัฒนธรรมการรับประทานอาหารขันโตกขึ้นมาอีกครั้ง




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_34


สถานที่ซึ่งเสน่ห์แห่งล้านนาไทยยังคงได้รับการสืบสานจากอดีตมาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_103 ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_41


...............ของดีพื้นเมืองและแสงเรืองรอง ณ ลานขันโตก เฮือนแป...............



     .....เมื่ออ่านมาจนถึงบรรทัดนี้.....หลายๆ คนก็อาจจะเริ่มสงสัยกันแล้วว่า “ขันโตก” นี่คืออะไรกันล่ะ ? แท้จริงแล้ว “ขันโตก” ก็คือ ภาชนะใส่สำรับอาหารของชาวล้านนา ลักษณะคล้ายถาดทรงกลมมีฐานเตี้ยๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำขันโตกได้แก่ไม้สักโดยจะนำมากลึงให้ได้รูป จากนั้นจึงทำเชิงเข้ารับเป็นฐาน เสร็จแล้วก็ลงรักทาชาด หากเป็นขันโตกของชนชั้นสูงจะมีการเขียนลวดลายตกแต่งหรือปิดทองเพิ่มเติมเพื่อความสวยงาม เมื่อชาดแห้งแล้วจึงนำมาใช้ใส่สำรับอาหาร.....บางครั้งชาวล้านนาก็เรียก “ขันโตก” ว่า “โตก” หรือ “สะโตก”



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_92


..........ถ้าจะให้รถไปรับส่งถึงโรงแรม ก็ต้องดำเนินการจองที่นั่งเอาไว้ล่วงหน้าให้เรียบร้อย..........


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_95


.........................ณ ห้องศาลา.........................



     .....ในอดีต..... ชาวล้านนาเกือบทุกครอบครัวจะนั่งรับประทานอาหารบนพื้น โดยเมื่อแม่บ้านปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อยก็จะตักใส่ถ้วยแล้วจัดสำรับวางเรียงลงในขันโตก จากนั้นจึงยกขันโตกออกมาตั้งให้สามี พ่อแม่ พี่น้อง ลูกหลานได้ได้รับประทานอาหาร เมื่อรับประทานเสร็จก็จะยกสำรับกลับเข้าไปเก็บทั้งขันโตกเพื่อรอการเช็ดล้างทำความสะอาด การใช้ขันโตกนี้ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่ช่วยให้แม่บ้านชาวล้านนาสามารถตั้งและเก็บสำรับอาหารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว.....เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_25 ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_73


...............ยินดีต้อนรับสู่ ขันโตกดินเนอร์ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เจ้า...............


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_54


.........................ราตรีต้องมนต์กำลังจะเริ่มต้น.........................



     ย้อนกลับไปถึงเรื่องราวในปี พ.ศ. 2496 คุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ได้ริเริ่มฟื้นฟูวัฒนธรรมการรับประทานอาหารขันโตกขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องในโอกาสงานเลี้ยงส่ง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ ข้าหลวงยุติธรรม ภาค 4 และนายจอช วิดนี่ (Mr.George Whitney) กงสุลอเมริกันซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น แต่งานเลี้ยงอาหารขันโตกที่คุณไกรศรีจัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 จะมีลักษณะแตกต่างจากการเลี้ยงอาหารขันโตกตามประเพณีนิยมดั้งเดิมของชาวล้านนาอยู่หลายประการดังจะได้กล่าวถึงในย่อหน้าถัดๆ ไป



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_81


...............ค่ำคืนหนึ่ง ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่...............


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_86


.........................ดวงไฟใต้ร่มไม้.........................



     .....ตามปกติวิสัยดั้งเดิมของชาวล้านนา.....การเลี้ยงอาหารขันโตกจะจัดขึ้นเพื่อเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาทำบุญด้วยเจ้าภาพ เช่น งานกินแขกแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชเณร เป็นต้น ส่วนการจัดเลี้ยงอาหารขันโตกเพื่อจุดประสงค์ในการสังสรรค์ทางสังคมนั้นไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประเพณีวัฒนธรรมของชาวล้านนา (การจัดงานเลี้ยงเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและการสังสรรค์ทางสังคมเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวตะวันตกครับ) แต่งานเลี้ยงอาหารขันโตกที่คุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ริเริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2496 กลับเป็นการจัดเลี้ยงอาหารค่ำในรูปแบบของงานรื่นเริงสนุกสนาน พร้อมทั้งยังได้มีการตกแต่งประดับประดาสถานที่อย่างสวยงามเพื่อแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา และมีการเรียกชื่องานเลี้ยงอาหารขันโตกในครั้งนั้นว่า “ขันโตกดินเนอร์ (Khantoke Dinner)



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_76


.........................พระบรมฉายาลักษณ์.........................


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_72


...............นักท่องเที่ยวกลุ่มใดต้องการถ่ายรูปคู่ก็เชิญได้เลยนะครับ...............



     สถานที่ซึ่งใช้ในการจัดเลี้ยงขันโตกดินเนอร์ครั้งแรกเป็นบ้านของคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญราษฎร์ ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยคุณไกรศรีได้จัดให้มีการตกแต่งภายในปะรำด้วยดอกไม้สด ตัดดอกพยอมมาประดับเป็นกิ่งๆ (ปะรำ : ที่พักชั่วคราวหลังคาแบนๆ ดาดด้วยผ้าหรือใบไม้) สองข้างทางถนนเข้าบ้านให้ตามประทีปเหมือนงานเดือนยี่เป็ง (ตามประทีป : จุดประทีปประดับไว้ตามทาง) และปักโคมหูกระต่ายทำจากกระดาษสีเว้นระยะพองาม นอกจากนั้นคุณไกรศรีก็ยังได้เชิญนางงามที่ได้รับคัดเลือกจากงานฤดูหนาว จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยนางงามแห่งประเทศไทย ตลอดจนถึงรองนางงาม มานั่งเป็นเกียรติ์ให้แก่แขกเหรื่อขันโตกละหนึ่งนางงามด้วย



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_104


...............ช่วยอุดหนุนกันหน่อยไหมเจ้า ?...............


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_102


....................สนธยา..........เรามาค้าขาย....................



     วัฒนธรรมการรับประทานอาหารขันโตกในสมัยโบราณของชาวล้านนาจะมีการจัดสำรับอาหารประกอบไปด้วย “ข้าวนึ่ง (ข้าวเหนียว)” บรรจุอยู่ภายในแอ๊บข้าววางไว้ข้างๆ ขันโตก (แอ๊บข้าว/แอบข้าว : ภาชนะใส่ข้าวเหนียวสำหรับพกพาติดตัวเวลาไปทำงานนอกบ้าน รูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมมีฝาปิดด้านบน สานขึ้นจากไม้ไผ่ มีขนาดเล็กกว่าก่องข้าว) มีกับข้าวเรียกว่า “ของกิ๋น , ของไขว่ หรือ คำกิ๋น” ราว 1 – 3 อย่างใส่ไว้ในถ้วยชามชนิดมีฝาวางไว้บนขันโตกเรียก “ถ้วยฝาหับ” อาหารพื้นเมืองของชาวล้านนาจะมีแค่รสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว มันเล็กน้อย ไม่มีการใส่กะทิและจะไม่มีรสออกหวานแตกต่างจากอาหารไทยภาคกลาง มีภาชนะบรรจุน้ำดื่มเรียกว่า “น้ำต้น” พร้อมกับโอเงินสำหรับใช้ดื่มน้ำ (โอ : ภาชนะเครื่องเขินอย่างหนึ่งใช้สำหรับใส่ของ รูปร่างคล้ายขันมีขนาดต่างๆ) หากเป็นสำรับขันโตกแบบดั้งเดิมจริงๆ ก็จะต้องมี “ขันเหมี้ยง” สำหรับใส่เหมี้ยงและเกลือเม็ดไว้เคี้ยวหลังรับประทานอาหาร (เหมี้ยง/เมี่ยง : ของกินที่ใช้ใบไม้ห่อกิน มีหลายชนิด เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม เป็นต้น).....ในวัฒนธรรมการรับประทานอาหารขันโตกของชาวล้านนานั้นจะต้องให้ผู้ซึ่งมีอาวุโสมากที่สุดเริ่มต้นรับประทานก่อน เป็นการแสดงออกถึงค่านิยมเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนและการให้ความเคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_117


.........................คุณค่าจากวันเก่า.........................


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_110 ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_96


...............@ Chiangmai Old Cultural Center...............



     สำหรับรายการอาหาร “ขันโตกดินเนอร์” ครั้งแรกของล้านนาไทยซึ่งจัดขึ้นที่บ้านของคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ นั้นมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ลาบ แกงอ่อม หมูฮุ่ม ไข่คว่ำ ไส้อั่ว ชิ้นปิ้ง แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง เครื่องดื่มใช้สุราของรัฐบาลแต่ปรับรสให้กลมกล่อมขึ้นด้วยการหยด Bitter ลงไป (Bitter : สุราชนิดหนึ่งมีรสขม ชาวยุโรปนิยมดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร) และยังมีน้ำขาวซึ่งบรรจุไว้ในคนโทเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความอุจาดแก่สายตาของท่านผู้รักษากฎหมาย (น้ำขาว : สุราชนิดหนึ่งทำจากข้าวเหนียวนึ่งคลุกเคล้ากับแป้งเหล้าซึ่งเป็นเชื้อหมัก ทิ้งไว้จนมีน้ำขุ่นขาว)



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_130 ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_127


ร้านคุณเชิญ ร้านอาหารมังสวิรัติแบบไทยๆ ภายในศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ กับ ข่วงหงส์คำ


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_123


ของที่ระลึกจากชาวเขาตัวจริงเสียงจริง



     ในส่วนการแต่งกายของผู้มาร่วมงานขันโตกดินเนอร์ คุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ได้จัดให้มีการระบุข้อความเอาไว้ในส่วนล่างของบัตรเชิญร่วมงานว่า “โปรดแต่งกายแบบคนเมือง” (“คนเมือง” เป็นคำที่ชาวล้านนาใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตัวเองมาอย่างเนิ่นนาน แต่ไม่ได้มีความหมายรวมถึงชาวไทยภูเขาครับ) ซึ่งตามประเพณีนิยมของคนเมืองในสมัยก่อนนั้นสุภาพบุรุษจะแต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อม คาดผ้าขาวม้า ส่วนสุภาพสตรีจะสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าซิ่น เกล้ามวยผมและทัดดอกไม้สด

    ภายหลังจากงานเลี้ยงขันโตกดินเนอร์ครั้งแรก คุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์ ยังได้จัดงานขันโตกดินเนอร์ขึ้นอีก 4 ครั้งที่บ้านฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยในการจัดงานขันโตกดินเนอร์ครั้งต่อๆ มานั้น คุณไกรศรีได้ริเริ่มให้เพิ่มเติมการแสดงนาฏศิลป์เข้าไประหว่างงานเลี้ยงด้วย ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง และรำวง




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_68


...................................ร้านคุณยาย...................................


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_108


...................................จุดจอดรถเข็น ?...................................



     .....ต่อมา.....ลักษณะการจัดงานเลี้ยงแบบขันโตกดินเนอร์ก็ถูกเผยแพร่ออกไปและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คุณอุณณ์ ชุติมา (น้องสาวของคุณไกรศรี นิมมานเหมินทร์) ผู้ซึ่งเล็งเห็นถึงศักยภาพในการตอบสนองต่อความต้องการทางด้านธุรกิจท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดใน จ.เชียงใหม่ จึงตัดสินใจปรับปรุงรูปแบบของขันโตกดินเนอร์ให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น แล้วได้นำเอารูปแบบของงานเลี้ยงขันโตกดินเนอร์ที่ปรับปรุงใหม่นี้มาทดลองเปิดให้บริการเชิงธุรกิจ ณ โรงแรมรินคำ.....ผลคือมีกระแสความนิยมตอบรับเป็นอย่างดี



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_131


...................................สองสหายในมุมพักผ่อน...................................


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_111


...................................มีสินค้า แต่ไม่มีคนขาย...................................



     ความสำเร็จของการทดลองดำเนินธุรกิจขันโตกดินเนอร์ในโรงแรมรินคำประกอบกับการที่คุณอุณณ์ ชุติมาได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมชาวเกาะ ณ เมืองฮอนโนลูลู มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา (Polynesian Cultural Center) ทำให้คุณอุณณ์ตัดสินใจวางแผนก่อตั้งโครงการ “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (Chiangmai Old Cultural Center)” ขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะช่วยในการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวล้านนาเอาไว้ไม่ให้สาบสูญหายไปตามกาลเวลา รวมทั้งยังจะเป็นการช่วยต่อยอดความสำเร็จของธุรกิจขันโตกดินเนอร์อีกทางหนึ่ง



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_50


...............ลานขันโตก เฮือนแป ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่...............


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_57


.........................เก้าอี้นั่งแบบห้อยขา.........................



     แผนการก่อตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (Chiangmai Old Cultural Center)” ของคุณอุณณ์ ชุติมาและคณะเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ต่อมาจึงแล้วเสร็จจนสามารถเปิดให้บริการได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2514..... “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่” ถือเป็นต้นตำรับของบริการอาหารแบบ “ขันโตกดินเนอร์ (Khantoke Dinner)” หรือ “บุฟเฟ่ต์ขันโตกมื้อค่ำ (Khantoke Buffet Dinner)” แห่งแรกของล้านนาไทยซึ่งยังคงเปิดดำเนินกิจการมาตลอดจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_141


.........................สำรับ ขันโตกดินเนอร์.........................


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_137


.........................โหมโรงบรรเลง บทเพลงล้านนาไทย.........................



     ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ : ชื่อนี้ไม่ได้มีดีเพียงแค่ขันโตกดินเนอร์

     ทุกวันนี้ลักษณะการจัดงานเลี้ยงแบบ “ขันโตกดินเนอร์ (Khantoke Dinner)” กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน จ.เชียงใหม่ มีผู้ประกอบการขนาดกลางและผู้ประกอบการขนาดใหญ่อีกราว 3 – 4 รายซึ่งเปิดให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์ขันโตกมื้อค่ำพร้อมแสดงนาฏศิลป์เช่นเดียวกันกับ “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่”.....อย่างไรก็ดี.....พัฒนาการของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ก็ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่เพียงแค่การเป็นผู้ประกอบการเจ้าตำรับขันโตกดินเนอร์เท่านั้น หากแต่ยังได้มีการเก็บรวบรวมเอาข้าวของเครื่องใช้ สิ่งทอและผ้าไทยโบราณอันเป็นเอกลักษณ์มาจัดแสดงไว้ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ เปิดตลาดนัดยามค่ำเพื่อเป็นช่องทางจัดจำหน่ายสินค้างานฝีมือและของที่ระลึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานของชาวเขา มีการก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมมวยไทย ฯลฯ.....ด้วยเหตุนี้ผู้ซึ่งเดินทางมาเยือนศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่จึงสามารถสัมผัสถึงเสน่ห์แห่งล้านนาไทยได้อย่างหลากหลายภายในช่วงระยะเวลาแค่เพียงสั้นๆ




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_159


..............................ฟ้อนเล็บ ต้อนรับ..............................


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_155


..............................อ่อนหวานปานเทพธิดา..............................



     .....อย่างไรก็ตาม.....บริการซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่จนเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ก็คือ “ขันโตกดินเนอร์ (Khantoke Dinner)” ซึ่งสืบเนื่องมาอย่างยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาหลายสิบปี และในบทความย่อหน้าถัดๆ ไปทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) จะขออนุญาตนำพาคุณผู้อ่านทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับบริการขันโตกดินเนอร์ยุคปัจจุบันของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เพื่อที่ทุกๆ ท่านจะสามารถทราบได้ถึงพัฒนาการล่าสุดของศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_166


จากการแสดงเล็กๆ ในหมู่บ้านที่เกือบสาปสูญ สู่ "ฟ้อนก๋ายลาย" แห่ง ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม


ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_167


.........................ประนมกรอ่อนช้อย.........................



     สำหรับรายการอาหารขันโตกดินเนอร์ยุคปัจจุบันของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ตามปกติจะประกอบไปด้วย แกงฮังเล ไก่ทอด น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แคบหมู ผักสด ผัดผัก หมี่กรอบ กระบองทอด(ฟักทองทอด) ข้าวตัง ชา กาแฟ และผลไม้สดตามฤดูกาล ถือเป็นรายการอาหารที่ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากผู้ประกอบการขันโตกดินเนอร์รายอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามมาภายหลังสักเท่าไหร่นัก (ผู้ประกอบการขันโตกดินเนอร์รายอื่นๆ มักจะเปลี่ยนรายการอาหารจากกระบองทอดเป็นกล้วยทอดครับ) แต่สิ่งที่ทำให้ขันโตกดินเนอร์ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่มีความโดดเด่นแตกต่างจากขันโตกดินเนอร์ของผู้ประกอบการรายอื่นๆ อย่างชัดเจน ก็คือ การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ การแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ และการแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทยโบราณ



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_168


.........................แข็งแกร่งแต่งดงาม.........................



     .....ต่อไปนี้ คือ การแสดงต่างๆ ที่เราจะสามารถรับชมได้ ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่.....

     1. การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง : เป็นกลุ่มการแสดงที่นักท่องเที่ยวจะได้รับชมระหว่างนั่งรับประทานอาหารขันโตกดินเนอร์ มีรายละเอียดของการแสดงแต่ละประเภทดังนี้

     1.1  ฟ้อนเล็บ : เป็นศิลปะการแสดงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือโดยเฉพาะ ผู้ฟ้อนสวมเล็บโลหะยาวทุกนิ้วเว้นแค่นิ้วหัวแม่มือ โดยปกติมีรูปแบบการฟ้อนอยู่ 2 แบบ ได้แก่ แบบพื้นเมืองและแบบคุ้มเจ้าหลวง จุดประสงค์ดั้งเดิมของการฟ้อนเล็บเป็นไปเพื่อบวงสรวงหรือฟ้อนต้อนรับตามประเพณี



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_169


...................................ฟ้อนดาบ...................................



     1.2  ฟ้อนดาบ : นี่คือการแสดงที่ดัดแปลงมาจากศิลปะการต่อสู้ของชาวล้านนาโบราณ ด้วยท่วงท่าลีลาอันพลิ้วไหวแต่แฝงไว้ซึ่งความแข็งแกร่งงดงามน่าจะทำให้ผู้ชมในศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ส่วนใหญ่ประทับใจได้ไม่ยาก

    1.3  ฟ้อนฉาน : การร่ายรำที่นำต้นแบบมาจากวัฒนธรรมของเหล่าบรรดาผู้คนซึ่งเคยอาศัยอยู่ภายในรัฐฉาน ประเทศพม่า.....ในปี พ.ศ. 2495 เจ้าแก้วนวรัฐ (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย) ได้โปรดให้คณะผู้ฝึกสอนนาฏศิลป์ของนครเชียงใหม่ปรับปรุงและฟื้นฟูท่าร่ายรำของฟ้อนฉานขึ้นอีกครั้ง




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_191


บางส่วนของการแสดงนาฎศิลป์ที่ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ยังคงสืบสานไว้จวบจนถึงปัจจุบัน



     1.4  ระบำไก่ : จากบทละครเรื่อง “ลิลิตพระลอ” ตอนพระลอตามไก่ ถ่ายทอดสู่การแสดงอันงดงามของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ออกแบบท่าร่ายรำโดย “เจ้าดารารัศมี” เมื่อปี พ.ศ. 2452

    1.5  ฟ้อนโยคีถวายไฟ : ในปี พ.ศ. 2463 เจ้าแก้วนวรัฐ (เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย) ได้มอบหมายให้ครูสอนนาฏศิลป์ชาวพม่าคิดค้นท่าฟ้อนและท่วงทำนองเพลงขึ้นเพื่อถวายการต้อนรับ “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต” ซึ่งเสด็จมาประพาสนครเชียงใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าว .....ว่ากันว่า.....ท่าฟ้อนโยคีถวายไฟนี้ดัดแปลงมาจากท่วงท่าของฤๅษีดัดตน




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_190


..............................คู่พระนาง..............................



     1.6  ระบำซอ : ออกแบบท่วงท่าร่ายรำและประพันธ์บทเพลงประกอบการแสดงโดยเหล่าบรรดาผู้ฝึกสอนนาฏศิลป์และกวีในราชสำนักของเจ้าดารารัศมีในปี พ.ศ. 2470 การแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่และสมโภชช้างเผือกที่เจ้าดารารัศมีน้อมเกล้าฯ ถวายให้ท่าน.....ปัจจุบันเราจะไม่สามารถพบเห็นการแสดงระบำซอได้จากผู้ประกอบการขันโตกดินเนอร์รายอื่นๆ นอกเหนือไปจากที่ “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่” เพียงแค่แห่งเดียวเท่านั้น



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_206


...............ดุจดาราเฉิดฉายประกายพร่าง...............



     1.7  ฟ้อนไทลื้อ : “ไทลื้อ” หรือ “คนลื้อ” เป็นชาวไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีภาษาของตนเองที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น.....การแสดงฟ้อนไทลื้อในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกจากกลุ่มชาวไทยลื้อแห่งหมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยมีผู้แสดงเป็นเหล่าบรรพบุรุษของชาวไทลื้อซึ่งได้อพยพหนีไฟสงครามมาจากจีนแผ่นดินใหญ่.....การแสดงฟ้อนไทลื้อนี้นับเป็นอีกหนึ่งการแสดงที่มีชื่อเสียงของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_201


.........................ร่ายรำกลางลาน.........................



     1.8  ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา : การแสดงที่เป็นส่วนผสมระหว่างศิลปะการร่ายรำในราชสำนักของพม่าและราชสำนักของไทย เหล่าผู้แสดงเป็นหญิงสวมใส่ชุดแต่งกายลักษณะเหมือนกับหญิงในราชสำนักสมัย “พระเจ้าธีบอ” (หรือ “พระเจ้าสีป่อ”) กษัตริย์องค์สุดท้ายของประเทศพม่า เจ้าดารารัศมีทรงมอบหมายให้ครูสอนนาฏศิลป์ชาวพม่าและผู้ฝึกสอนนาฏศิลป์ในราชสำนักของพระองค์ร่วมกันคิดค้นท่าฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตาขึ้นโดยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2469



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_220


ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ภูมิใจนำเสนอ "ฟ้อนไต"
หนึ่งในการแสดงนาฏศิลป์อันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไต



     1.9  ฟ้อนไต : ความประทับใจซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีโอกาสชมการแสดง “ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา” ได้ทำให้สองสามีภรรยาชาวไต “นายแก้ว” และ “นางละหยิ่น ทองเขียว” คิดค้นท่าร่ายรำของ “ฟ้อนไต” ขึ้นในปี พ.ศ. 2500 โดยอ้างอิงพื้นฐานดั้งเดิมมาจากการร่ายรำของชาวไตในสมัยเก่า ปัจจุบันภูมิปัญญาทางการแสดงอันทรงคุณค่านี้ยังคงได้รับการอนุรักษ์สืบสานต่อมายังเหล่าบรรดานักแสดงนาฏศิลป์ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่อย่างไม่เสื่อมคลาย

     1.10 ฟ้อนสาวไหม : นี่เป็นการฟ้อนพื้นเมืองซึ่งนำเอารูปแบบการร่ายรำมาจากลักษณะท่าทางการทำงานในชีวิตประจำวัน (การทอผ้าไหม) ฟ้อนสาวไหมจะเน้นท่าทางในการร่ายรำที่ต่อเนื่อง นุ่มนวลและลื่นไหล.....การแสดงฟ้อนสาวไหมของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่เป็นการรวบรวมเอาท่าร่ายรำอันเป็นเอกลักษณ์ของ “วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่” และท่าร่ายรำที่สืบทอดต่อกันมาของ “ครูสอนนาฏศิลป์ในราชสำนักสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ” มาผสมผสานเข้าด้วยกัน




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_218


...............การแสดงซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของสองสามีภรรยาชาวไต...............



     1.11 ฟ้อนน้อยใจยา : การแสดงที่ตัดตอนมาจากฉากหนึ่งในละครเพลงชื่อเดียวกัน ฟ้อนน้อยใจยาบอกเล่าถึงเรื่องราวของ “น้อยใจยา” หนุ่มน้อยผู้ใฝ่รู้แต่ยากจนซึ่งกล่าวตัดพ้อ “แว่นแก้ว” สาวสวยประจำหมู่บ้านถึงเรื่องราวที่แว่นแก้วกำลังจะแต่งงานกับ “ส่างนันทา” ชายผู้อัปลักษณ์แต่ร่ำรวยจากหมู่บ้านอื่น แว่นแก้วได้บอกกับน้อยใจยาว่าแผนการแต่งงานนี้เธอมิได้เป็นคนตกลงปลงใจ หากแต่เป็นเรื่องซึ่งบิดามารดาของเธอไปทำความตกลงเอาเองและแว่นแก้วก็ได้ยืนยันถึงความรักอันมั่นคงที่เธอมีต่อน้อยใจยา ภายหลังจากที่แว่นแก้วและน้อยใจยาปรับความเข้าใจกันเสร็จเรียบร้อยคนทั้งคู่จึงตัดสินใจหนีตามกันไป



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_216


.........................ร่วมประสาน.........................



     1.12 ฟ้อนก๋ายลาย : ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ภูมิใจนำเสนอการแสดงอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมสุดล้ำค่า คาดเดากันว่าการแสดง “ฟ้อนก๋ายลาย” นี้มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มชาวไทลื้อและอยู่ในสถานการณ์ที่เกือบจะหายสาบสูญ โดยครั้งแรกที่คณะครูอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปค้นพบการ “ฟ้อนก๋ายลาย” เมื่อปี พ.ศ. 2529 ณ บ้านแสนตอง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่ามีครูผู้ฝึกสอนการฟ้อนแบบดั้งเดิมนี้หลงเหลืออยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวเพียงแค่ 4 ท่านเท่านั้น



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_221


.........................สอดคล้องตามท่วงทำนองนำพา.........................



     1.13 รำวง : การละเล่นรื่นเริงประจำชาติไทยที่สามารถร่วมสนุกกันได้ทุกเพศทุกวัย โดยในช่วงแรกของการละเล่นคณะผู้แสดงนาฏศิลป์ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่จะออกมาล้อมวงร่ายรำเป็นตัวอย่าง หลังจากนั้นจึงเริ่มเชื้อเชิญให้เหล่าบรรดาอาคันตุกะผู้มาเยือนเข้ามาร่วมสนุกด้วย นับเป็นโอกาสดีที่นักท่องเที่ยวจะได้ถ่าย Clip และถ่ายภาพต่างๆ ร่วมกับบุคลากรของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

    .....อย่างไรก็ตาม.....การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองทั้ง 13 ประเภทดังกล่าวข้างต้นของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่นี้จะทำการแสดงหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปราววันละ 6 – 7 ชุด (ไม่ได้แสดงทุกชุดทุกวันครับ) เพราะฉะนั้นหากนักท่องเที่ยวต้องการจะชมการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ให้ครบทุกประเภทจริงๆ ก็อาจต้องเดินทางมารับประทานอาหารขันโตกดินเนอร์ที่นี่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 – 3 ครั้งเลยทีเดียว




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_223


.........................ประชุมพล คนตีกลอง.........................



     2. การแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ : ภายหลังจากที่นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารขันโตกดินเนอร์และชมการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองระหว่างรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ก็ยังมีการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ให้ได้รับชมที่ “ลานชาติพันธุ์” โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเดินเท้ามานั่งชมการแสดงของชาวเขาบริเวณลานดังกล่าว สำหรับตัวอย่างการแสดงชาวเขาที่นักท่องเที่ยวจะสามารถรับชมได้ ณ ลานชาติพันธุ์ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ได้แก่

    2.1  กลองสะบัดชัย : สมัยอดีตก่อนออกรบ “กลองสะบัดชัย” จะถูกใช้ตีเป็นจังหวะเพื่อใช้สร้างความฮึกเหิมให้แก่เหล่าทหารหาญและข่มขวัญกองทัพศัตรู ตามปกติผู้ตีกลองสะบัดชัยจะใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายทั้งศีรษะ ศอก เข่า มือ เข้าตีกลองในลักษณะลีลาอันโลดโผนเร้าใจ เป็นอีกหนึ่งการแสดงพื้นบ้านซึ่งคุณสามารถรับชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_228


..........กลองสะบัดชัย : การแสดงศิลปะวัฒนธรรมยอดนิยมของจังหวัดเชียงใหม่..........



     2.2  ระบำเผ่าเย้า : “เย้า” มีที่มาจากคำว่า “ม่อเย้า” หมายถึงไม่อยู่ในอำนาจใคร คาดว่าแหล่งกำเนิดชาติพันธุ์ของชนเผ่านี้ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำฉางเจียวและลุ่มน้ำฮั่นเจีย ต่อมาจึงได้กระจายถิ่นฐานลงมาอยู่ที่มณฑลยูนนาน กวางตุ้ง กวางสี กุ้ยโจว และเริ่มเคลื่อนชุมชนเข้ามาตั้งรกรากทางภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อประมาณ 140 กว่าปีก่อน ระบำของเผ่าเย้าไม่ใช่การแสดงเพื่อความบันเทิง หากแต่เป็นการเต้นระบำด้วยวัตถุประสงค์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ทั้งการเต้นระบำเพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ เต้นระบำเพื่อประกอบพิธีบรรพชา และเต้นระบำในพิธีขอฝน



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_233


...................................จารีตแห่งลีซู...................................



     2.3  ระบำเผ่าม้ง : จากตำนานของชนเผ่าม้งกล่าวไว้ว่าพวกเขาเคยอาศัยอยู่ในประเทศมองโกเลีย ต่อมาจึงได้อพยพย้ายถิ่นฐานหลบหนีความหนาวเย็นลงใต้ผ่านประเทศจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ลาว และภาคเหนือของประเทศไทย .....ทุกวันนี้.....นอกเหนือไปจากช่วงเวลาเทศกาลสำคัญประจำเผ่าแล้ว นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถรับชมระบำเผ่าม้งแท้ๆ ได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

     2.4  ระบำเผ่าลีซู : ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ขอนำเสนอระบำชมเผ่าลีซูอันเป็นเอกลักษณ์ (บางครั้งบุคคลภายนอกจะเรียกชนเผ่าลีซูว่า “ลีซอ” ครับ) มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าบรรพบุรุษของชนเผ่าลีซูเดิมเคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณต้นแม่น้ำสาละวิน พื้นที่ลุ่มรอบแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศทิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ต่อมาชาวลีซูบางส่วนจึงได้อพยพเข้ามาตั้งชุมชนอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยปกติชนเผ่าลีซูจะสวมใส่เสื้อผ้าสีสันสดใสประดับด้วยลูกปัดและเหรียญ




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_234


การแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ใน ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
เป็นการแสดงของชนเผ่าจริงๆ ไม่ใช่การฝึกฝนผู้ที่มิได้มีสายเลือดของชนเผ่านั้นๆ ขึ้นมาแสดง



     2.5  ระบำเผ่าลาฮู : “ลาฮู” หรือ “มูเซอ” มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ใกล้เขตแดนของประเทศทิเบต ต่อมาจึงเคลื่อนย้ายถิ่นฐานลงไปทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน ล่าสุดเราจะสามารถพบชนเผ่าลาฮูได้ในเมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่าและทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยปกติชาวลาฮูจะแต่งกายด้วยชุดสีดำแต่ปักลวดลายด้วยผ้าสีสันสดใสประดับลูกกระพรวนขนาดเล็ก สำหรับการแสดงระบำของเผ่าลาฮูนั้นถึงแม้ว่าจะดูแปลกและไม่คุ้นตาเมื่อเปรียบเทียบกับการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองอื่นๆ ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_245


..............................นกกิงกะหล่า..............................



     2.6  ระบำเผ่าอาข่า : บรรพบุรุษของชาวอาข่าเคยอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน มณฑลไกวเจา และแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน ต่อมาเมื่อถูกรุกรานชาวอาข่าบางส่วนจึงพากันอพยพลงมาทางใต้ บ้างก็เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า บ้างก็เข้าไปยังแคว้นหัวโขงและแคว้นพงสาลี ประเทศลาว บางส่วนก็เข้ามายังดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย แล้วจึงกระจายเข้าไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร แพร่ ลำปาง รวมถึงเพชรบูรณ์ โดยปกติการละเล่นรื่นเริงและการแสดงระบำของชาวอาข่าจะจัดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษของชนเผ่าเท่านั้น แต่ที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่คุณจะสามารถชมการแสดงระบำของเผ่าอาข่าแท้ๆ จากต้นตำรับได้ในทุกๆ วัน



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_235


.........................วิถีม้ง.........................



     2.7  ระบำดาบไฟ : นี่เป็นการแสดงก่อนออกรบในสมัยโบราณซึ่งจะเริ่มต้นการร่ายรำภายหลังจากดวงอาทิตย์อัสดง ด้วยลีลาท่าทางอันโลดโผนและตื่นเต้นเร้าใจทำให้ “ระบำดาบไฟ” เป็นอีกหนึ่งในการแสดงที่พลาดไม่ได้ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

     2.8  ระบำฝัดข้าว : การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือที่จะกระทำเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองถึงความสุขและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูเก็บเกี่ยว “ระบำฝัดข้าว” เป็นการแสดงให้เห็นซึ่งภูมิปัญญาโบราณที่ใช้ในการแยกแกลบออกจากเมล็ดข้าว

     สำหรับการแสดงของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในลานชาติพันธุ์ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงของเหล่าผู้อาวุโสและบรรดาลูกหลานของชาวเขาที่สืบเชื้อสายมาจากแต่ละชนเผ่าโดยตรง (ไม่ได้เป็นการนำเอาบุคคลภายนอกเผ่ามาฝึกหัดการแสดงแต่อย่างใดครับ) จึงทำให้การแสดงชุดดังกล่าวนี้มีความน่าสนใจและถือเป็นเอกลักษณ์ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ซึ่งไม่มีผู้ประกอบการขันโตกดินเนอร์รายอื่นใดเสมอเหมือน




ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_255


"ระบำเผ่าเย้า" ไม่ได้จุดมุ่งหมายเพื่อความบันเทิง
หากแต่มีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนาของชนเผ่า



     3. การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทยโบราณ : มวยไทยโบราณได้รับการพัฒนามาจากศิลปะการต่อสู้ของชนชาติไตซึ่งอพยพลงมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน มีลักษณะการจู่โจมรุกรับที่รวดเร็วฉับไว ใช้อวัยวะทั้งหมัด ท่อนแขน ศอก ขา แข้ง เข่า ในการต่อสู้และป้องกันตัว โดยปกตินักมวยไทยโบราณจะนำเชือกป่านมาพันมือและส่วนปลายแขนเพื่อเพิ่มพลังในการโจมตีด้วยหมัด .....สมัยก่อน.....มวยไทยโบราณเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีไว้ใช้ในสนามรบ ระยะต่อมาจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมหรสพในเทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ อาทิเช่น งานวัด .....ปัจจุบัน.....มวยไทยโบราณถือเป็นศิลปะการต่อสู้ซึ่งหาชมได้ยาก แต่นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถรับชมการสาธิตศิลปะการต่อสู้ดังกล่าวนี้ได้ในช่วงเวลาเย็นของทุกๆ วัน ณ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (ยกเว้นกรณีในวันที่ฝนตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่อาจยกเลิกการสาธิตการแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทยโบราณ เนื่องจากการแสดงดังกล่าวจะจัดขึ้นในบริเวณลานกลางแจ้งและไม่สามารถทำการแสดงท่ามกลางสายฝนได้ครับ)



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_260


ปกติ "ระบำเผ่าอาข่า" จะจัดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษของชนเผ่าเท่านั้น
แต่ที่ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ คุณสามารถจะชม "ระบำเผ่าอาข่า" ได้ทุกๆ วัน



     .....ในปัจจุบัน.....ลักษณะการจัดงานเลี้ยงแบบ “ขันโตกดินเนอร์” กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมากในจังหวัดหลายแห่งทางภาคเหนือของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกเหรื่อ งานรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัย งานเลี้ยงการกุศลในช่วงฤดูหนาวของจังหวัดต่างๆ หรือแม้แต่บนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ก็ยังมีการจัดเลี้ยงพระราชอาคันตุกะด้วยพิธีการแบบขันโตกเช่นเดียวกัน.....เพราะฉะนั้น.....ถ้าคุณเคยมีโอกาสเดินทางมาท่องเที่ยวที่ จ.เชียงใหม่ แต่กลับยังไม่เคยได้ลองลิ้มชิมรสและสัมผัสบรรยากาศของงานเลี้ยง “ขันโตกดินเนอร์” เลยแม้สักครั้ง เราก็คงบอกได้แค่เพียงสั้นๆ ว่า “คุณพลาดอย่างแรง !”



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_270


ไม่มีร้านอาหาร ขันโตกดินเนอร์ ที่ไหนๆ
ที่มีการแสดง "ระบำไฟ" เหมือน ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ เลยแม้แต่แห่งเดียว



     .....อย่างไรก็ดี.....สำหรับนักท่องเที่ยวซึ่งวางแผนที่จะเดินทางมาสัมผัสกับเสน่ห์อันละมุนละไมแห่งล้านนาไทยโดยการรับประทานอาหาร “ขันโตกดินเนอร์” แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกใช้บริการ “ขันโตกดินเนอร์” ของผู้ประกอบการรายไหนดี ? ทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ขออนุญาตแนะนำว่า “ขันโตกดินเนอร์ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่” จะเป็นทางเลือกซึ่งทำให้คุณได้สัมผัสกับบรรยากาศของงานเลี้ยงขันโตกดินเนอร์แบบต้นตำรับ อีกทั้งยังจะได้รับชมการแสดงอันสวยงามและเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ที่ยังไม่มีผู้ประกอบการขันโตกดินเนอร์รายใดๆ สามารถลอกเลียนแบบได้ (จากการสำรวจคะแนนภายในของทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม.....พวกเราลงมติให้ “ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่” เป็นผู้ให้บริการขันโตกดินเนอร์ซึ่งมีการแสดงที่ยอดเยี่ยมที่สุดใน จ.เชียงใหม่ ครับ)



ขันโตก_ดินเนอร์_ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่_265


ท่วงท่าของการฝัดข้าวในชีวิตประจำวันของชาวนาได้กลายมาเป็นลีลาการร่ายรำอันงดงาม




     ถ่ายภาพ & เขียนบทความโดย : ตฤณ ณ อัมพ
     เรียบเรียงโดย :
อรชร ลลิตผสาน
     สนับสนุนข้อมูลอ้างอิงโดย : ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

     สงวนลิขสิทธิ์โดย :
เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม
(www.thongteaw.com)




ขันโตกดินเนอร์ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่



โปรโมชั่นขันโตกดินเนอร์ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาถูก !


ประเภทบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่

ราคา (บาท)
ผู้ใหญ่
เด็ก

บุฟเฟ่ต์มื้อค่ำ ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
(อาหารปกติ/อาหารมังสวิรัติ)


590
(walk in 690)
350
(walk in 390)

บุฟเฟ่ต์มื้อค่ำ ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
(อาหารฮาลาล)


590
(walk in 690)
350
(walk in 390)
 
    หมายเหต

     -ราคาเด็ก หมายถึง ผู้ซึ่งมีส่วนสูงไม่เกิน 135 ซม.
และ อายุ 2 -ไม่เกิน 8 ปี

     -ราคาเฉพาะบุฟเ่ฟ่ต์ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ (มีชา,กาแฟ) ยังไม่รวมเครื่องดื่มอื่น

     -รีฟิวน้ำอัดลม หรือรีฟิวน้ำสมุนไพร เพิ่มท่านละ 70 บาท (แจ้งที่หน้างานได้ค่ะ)

     -บริการอาหารบุฟเฟ่ต์ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ในอาคาร

     **เดือนธันวาคม เบื้องต้นเปิดบริการเฉพาะวันที่ 5-13, 19, 24 และ 26-31 ธันวาคม 2563 (เวลา 18.00 - 20.00 น.) ค่ะ**


โปรโมชั่นนี้จัดให้เฉพาะผู้ซึ่งติดต่อจองบัตร "ขันโตกดินเนอร์ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่"
ตามหมายเลขโทรศัพท์หรือ LINE ID ทางด้านล่าง
และชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 – 7 วัน ตามเงื่อนไขเท่านั้น !


นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามโปรโมชั่นประจำเดือน (เฉพาะการจองล่วงหน้า)
ได้ทาง Line ID หรือ หมายเลขโทรศัพท์ ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ - 31 ต.ค. 2564




รับทันที !! โปรโมชั่นบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาถูก !

เฉพาะผู้ซึ่งติดต่อจองบัตรล่วงหน้าตามเงื่อนไขผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม
ทางหมายเลขโทรศัพท์ หรือ Line ID :

(094) 236-3295 , (094) 519-3645 , (094) 251-9214  Fax. (02) - 4571605

Line ID : thongteaw2 , thongteaw.com ,
trin.thongteaw.com , cimlee


กรุณาติดต่อสำรองที่นั่งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 - 7 วัน ขอบคุณครับ/ค่ะ

หมายเลขโทรศัพท์ & Line ID ข้างต้น
ใช้เพื่อการติดต่อสำรองที่นั่ง "ขันโตกศูนย์วัฒนธรรม" ล่วงหน้าเท่านั้น !!
กรณีไม่สะดวกสำรองที่นั่งและชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าตามเงื่อนไข
กรุณาติดต่อซื้อบัตรบริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าร้านอาหาร
ในราคา Walk In ตามปกติ (ไม่มีโปรโมชั่นส่วนลดใด ๆ) ครับ/ค่ะ





     รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการจองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาพิเศษ

     เงื่อนไขการจอง และการชำระเงิน

     1. บริการจองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาถูก/ราคาประหยัด/ราคาพิเศษนี้ จัดให้เฉพาะผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอมซึ่งติดต่อจองล่วงหน้าตามเงื่อนไขด้านล่างต่อไปนี้และมีผลตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 2564 เท่านั้น
     2. ต้องสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาถูก/ราคาประหยัด/ราคาพิเศษล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน ในช่วงวันทำการปกติ (และล่วงหน้าอย่างน้อย 5 - 7 วัน ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง หรือช่วงเทศกาล)
     3. โทรศัพท์สอบถามการสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาถูก/ราคาประหยัด/ราคาพิเศษ ตามเบอร์ติดต่อ (094) 236-3295 , (094) 519-3645 , (094) 251-9214
     4. กรณีต้องการสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาถูก/ราคาประหยัด/ราคาพิเศษ กรุณาชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนตามจำนวนท่าน และประเภทบัตรซึ่งท่านได้สำรองไว้ (ชำระค่าใช้จ่ายตามราคาโปรโมชั่นในตาราง ไม่ใช่ตามราคาปกติในวงเล็บค่ะ) ภายใน 2 วัน หลังจากติดต่อสำรองบัตร (และต้องชำระค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อยก่อนวันเดินทางจริงล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน ในกรณีวันทำการปกติ หรือชำระค่าใช้จ่ายเพื่อสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ให้เรียบร้อยก่อนวันที่เดินทางจริงล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วันในกรณีวันหยุดต่อเนื่องหรือวันหยุดช่วงเทศกาล) โดยโอนเงินเข้าบัญชีตามที่ระบุไว้ด้านล่างนี้เท่านั้น
   

     การชำระเงิน     โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารด้านล่างนี้เท่านั้น


บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเมืองทองธานีซิตี้เซ็นเตอร์ 2
ชื่อบัญชี : Thongteaw.com (ท่องเที่ยวดอทคอม)

เลขที่บัญชี : 402-222838-7



     5. ภายหลังจากชำระค่าใช้จ่ายเสร็จเรียบร้อย กรุณาโทรแจ้งการชำระค่าใช้จ่ายตามหมายเลขโทรศัพท์ในข้อ 3. เพื่อยืนยันการสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาพิเศษดังข้างต้น และเก็บสลิปการโอนค่าใช้จ่ายไว้เป็นหลักฐาน
     6. ภายหลังจากยืนยันการชำระค่าใช้จ่าย (และตรวจสอบพบว่ามีการชำระค่าใช้จ่ายแล้วจริง) ท่านจะได้รับหลักฐานการสำรอง ในระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน (ปกติจะได้รับภายใน 24 - 48 ชม.) โดยสามารถนำหลักฐาน ดังกล่าวไปแลกรับบัตรจริงได้ ณ เคาน์เตอร์รับบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ในวันและเวลาที่ทำการสำรองไว้ ในกรณีที่ตรวจสอบไม่พบการชำระค่าใช้จ่าย เจ้าหน้าที่จะติดต่อแจ้งให้ท่านส่งสำเนาสลิปการโอนค่าใช้จ่ายมาตรวจสอบอีกครั้งตามหมายเลข Fax. (02) - 4571605 หรือ E-mail : [email protected] และจะมีการติดต่อจากเจ้าหน้าที่กลับไปแจ้งผลการตรวจสอบอีกครั้งภายใน 24 - 48 ชม.
     7. เนื่องจากการสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการสำรองราคาถูก/ราคาประหยัด/ราคาพิเศษ ภายหลังจากที่ท่านได้ทำการชำระค่าใช้จ่ายแล้วจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือขอยกเลิกการสำรองได้ เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอมขอสงวนสิทธิ์ในการงดคืนค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่งท่านได้ชำระไว้แล้วในทุกกรณี (ยกเว้นกรณีตามข้อ 8.)
     8. เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ไม่มีความประสงค์หรือนโยบายใด ๆ ที่จะกระทำการเพื่อหลอกลวง ทุจริต หรือ ฉ้อโกงท่านในทุกกรณี หากทางเว็บไซต์ไม่สามารถสำรองบัตรขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ราคาพิเศษตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นนี้ให้แก่ท่านได้ ทางเว็บไซต์ยินดีคืนค่าใช้จ่ายซึ่งท่านได้ชำระไว้แล้วเต็มจำนวนให้ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น



     หมายเหตุ  ราคานี้มีผลตั้งแต่ วันนี้ - 31 ตุลาคม 2564 เท่านั้น



สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
(กรุณาคลิ๊ก “ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งโดยละเอียด)
อ.เมือง
 วัดพระธาตุดอยสุเทพ , วัดเจ็ดยอด , วัดปราสาท , พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ,
 สวนสัตว์เชียงใหม่ , เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ,  เชียงใหม่ไนท์บาซาร์
 ประเพณีลอยโคมยี่เป็ง
อ.ฮอด
 ออบหลวง
อ.ฝาง
 บ่อน้ำร้อนฝาง  
อ.หางดง
 บ้านร้อยอันพันอย่าง , อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อ.แม่แตง
 โป่งเดือดป่าแป๋
อ.จอมทอง
 น้ำตกแม่ยะ , น้ำตกแม่กลาง , น้ำตกวชิรธาร , ดอยอินทนนท์


     ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง >> : ที่พัก/โรงแรม/รีสอร์ท ในจ.เชียงใหม่



โปรโมชั่นทัวร์และบัตรเข้าชมสถานที่/การแสดงในเขต จ.เชียงใหม่ ราคาพิเศษ !!

(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อโปรแกรมทัวร์/ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด)

ประเภทบัตร & โปรแกรมทัวร์
ราคา (บาท)
1.   ล่องเรือแม่น้ำปิง : เรือแม่ปิงริเวอร์ครุยส์ (Mae Ping River Cruise)
450 - 800
2.   ล่องแพแม่น้ำแตง
350 - 1,500
3.   บ้านวังน้ำหยาด (หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว)
300 - 1,800
4.   บ้านโต้งหลวง (หมู่บ้านชาวเขา 8 เผ่า)
300 - 500
5.   เวียงกุมกาม
650 - 800
6.   คุ้มขันโตก
350 - 530
7.   เบญจรงค์ขันโตก
150 - 320
8.   สิบสองปันนาขันโตก
150 - 250
9.   ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
300 - 440
10. ทัวร์ดอยสุเทพ
500 - 1,500
11. สวนสัตว์เชียงใหม่
170 - 700
12. เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
50 - 950






   

สงวนลิขสิทธิ์โดย : เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/09712

 
Copyright since 2008 by www.thongteaw.com - All right reserved.