เวียงกุมกาม : ล่องเรือ & นั่งรถม้า เวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่
 
 
Custom Search
 


เวียงกุมกาม

อ.สารภี จ.เชียงใหม่

รับทันที ! โปรโมชั่นบัตรล่องเรือ + นั่งรถม้าชม “เวียงกุมกาม” จ.เชียงใหม่ ราคาพิเศษ !
เฉพาะผู้ที่ติดต่อสำรองที่นั่งและชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าตามเงื่อนไข
ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ หรือ Line ID ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค.2563 เท่านั้น

 



เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา
ล่องเรือ นั่งรถม้าเวียงกุมกามปิด ยังไม่มีกำหนดเปิดค่ะ


     .....ทุกวันนี้.....นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างก็ทราบกันเป็นอย่างดีว่า เชียงใหม่ หรือ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ คือ เมืองซึ่งเคยมีฐานะเป็นราชธานีเก่าแห่งอาณาจักรล้านนา.....อย่างไรก็ดี.....ก่อนที่จะมีการสร้างเมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ให้กลายเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนานั้น “พญามังราย” กษัตริย์แห่งโยนกนครผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนาได้เคยก่อร่างสร้างเมืองอันถือว่าเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักรล้านนาขึ้นมาก่อนแล้ว ณ บริเวณพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิงโดยใช้ชื่อเรียกเมืองแห่งนี้ว่า เวียงกุมกาม



เวียงกุมกาม_112 เวียงกุมกาม_178 เวียงกุมกาม_186 เวียงกุมกาม_114


..........เหล่ามรดกตกทอดจากกาลก่อนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ภายใน เวียงกุมกาม..........

เวียงกุมกาม_131


ถ้าสังเกตให้ดีๆ ก็จะมองเห็นประติมากรรมช้างปูนปั้นแบกค้ำส่วนเรือนธาตุขององค์เจดีย์
อันเป็นที่มาของชื่อ "วัดช้างค้ำ"



     เวียงกุมกาม : จากราชธานีแห่งแรกสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของ จ.เชียงใหม่

     “เวียง” มีความหมายถึงเมืองซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ (ตามบัญญัติของพจนานุกรมล้านนา – ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง ปี พ.ศ. 2547 กำหนดนิยามของคำว่า “เวียง” ไว้คือ น.1 รั้วเพนียด, กำแพง, ป้อมค่ายทหาร, เมืองชั่วคราว, เมืองขนาดเล็ก, เมือง น.2 เรียกแหล่งที่มีคนหนาแน่นหรือแหล่งความเจริญภายในกำแพงเมืองว่า “ในเวียง” มักใช้คู่กับ “บ้านนอก” ซึ่งหมายถึงบ้านที่อยู่นอกกำแพงเมือง) เพราะฉะนั้นเมื่อมีใครเอ่ยถึงชื่อ “เวียงกุมกาม” ก็คงจะทำให้คนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สามารถจินตนาการต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็นว่า นี่จะต้องเป็นสถานที่ซึ่งเคยเป็นเมืองเก่าที่รายล้อมรอบไปด้วยกำแพงเป็นแน่แท้



เวียงกุมกาม_19


.......วัดเจดีย์เหลี่ยม เป็นวัดแห่งแรกที่พญามังรายโปรดฯ ให้สร้างขึ้นใน เวียงกุมกาม.......

เวียงกุมกาม_7


.........................นี่คือเจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัย.........................



     เวียงกุมกามมีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวราว 850 เมตร กว้างประมาณ 600 เมตร วางตัวเป็นแนวจากทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมทีเชื่อกันว่าเวียงกุมกามเคยตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง แต่ต่อมากระแสน้ำได้ไหลเปลี่ยนทิศทางไปทีละน้อยๆ จนกระทั่งที่ตั้งของเวียงกุมกามได้กลับกลายเคลื่อนย้ายมาอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำปิงดังเช่นที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน (จริงๆ ที่ตั้งของเวียงกุมกามไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อครั้งอดีต หากแต่เป็นเส้นทางการไหลของแม่น้ำปิงซึ่งเปลี่ยนทิศอ้อมมาอยู่ทางอีกฝั่งหนึ่งของเวียงกุมกามแทนครับ)



เวียงกุมกาม_14


หากเลือกใช้บริการ "ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม"
ก็จะได้มาเยือนวัดแห่งนี้เป็นสถานที่แรก

เวียงกุมกาม_40


...................................วัดธาตุขาว...................................



     จากการสืบค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้กลุ่มนักวิชาการเชื่อกันว่า จุดกำเนิดของเวียงกุมกามนั้นเริ่มต้นขึ้นในราวปี พ.ศ. 1824 เมื่อ “พญามังราย” กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองหิรัญนครเงินยาง แห่งโยนกนคร (บริเวณแอ่งที่ราบเชียงราย – เชียงแสน ในแถบลุ่มแม่น้ำกก, ลุ่มแม่น้ำสาย และลุ่มแม่น้ำโขง) ได้ยกไพร่พลบุกลงมาเข้าตียึดเมืองหริภุญชัยได้สำเร็จ (เมืองหริภุญชัยเทียบเคียงได้กับ จ.ลำพูน ในปัจจุบันครับ) ภายหลังจากที่พญามังรายประทับอยู่ ณ เมืองหริภุญชัยได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยย้ายมาสร้างเวียงแห่งใหม่ริมแม่น้ำปิงห่างออกมาจากเมืองหริภุญชัยราว 20 กม.และเรียกชื่อเวียงแห่งใหม่นี้ว่า “เวียงกุมกาม” โดยมีพระประสงค์จะใช้เวียงแห่งนี้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาสืบต่อไป



เวียงกุมกาม_42


...................................องค์พระประธาน...................................

เวียงกุมกาม_50


....................ร่องรอยแห่งความรุ่งเรืองในอดีต....................



     การก่อสร้างเวียงกุมกามได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1829 .....ทั้งนี้.....นักโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าสาเหตุซึ่งทำให้พญามังรายทรงตัดสินพระทัยในอันที่จะก่อสร้างราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านนาขึ้น ณ พื้นที่ของเวียงกุมกามก็สืบเนื่องมาจากเหตุผลหลักๆ 3 ประการ ได้แก่

     1. การคมนาคม : ที่ตั้งของเวียงกุมกามอยู่ประชิดติดริมแม่น้ำปิง ส่งผลให้การคมนาคมระหว่างเวียงกุมกามกับเมืองอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียงเป็นไปได้โดยสะดวก ดังพบหลักฐานซึ่งจารึกไว้ใน “ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่” ว่าที่กาดกุมกาม (ตลาดเวียงกุมกาม) มีเรือล่องเข้ามาค้าขายเป็นจำนวนมากและมีเรือชนกันล่มทุกวัน แสดงให้เห็นว่าเวียงกุมกามเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญในยุคสมัยนั้น




เวียงกุมกาม_44


..........หนึ่งในประวัติศาสตร์บทสำคัญของ จ.เชียงใหม่ ได้รับการจารึกไว้ที่นี่..........



     2. ศักยภาพในการทำเกษตรกรรม : ด้วยลักษณะของผืนแผ่นดินโดยรอบเวียงกุมกามที่มีความกว้างขวางอุดมสมบูรณ์ประกอบกับมีแม่น้ำปิงและแม่น้ำสาขาอื่นๆ ไหลผ่าน ส่งผลให้การปลูกข้าวได้ผลดีไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้วยความรุ่มรวยทางด้านทรัพยากรน้ำนี้เองที่ทำให้เวียงกุมกามสามารถพัฒนาระบบเหมืองฝายเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมขึ้นมาได้ เกิดเป็นชุมชนหัวฝาย จากความได้เปรียบของลักษณะพื้นที่ดังกล่าวส่งผลให้บริเวณโดยรอบเวียงกุมกามกลายเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญมาช้านานนับตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ (.....ปัจจุบัน.....เขตอำเภอสารภีซึ่งเป็นที่ตั้งของเวียงกุมกามก็ยังถือเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของ จ.เชียงใหม่ แต่ขนาดของพื้นที่เกษตรกรรมก็จะค่อยๆ หดเล็กลงเรื่อยๆ เนื่องจากการขยายตัวของเขตเมืองครับ)



เวียงกุมกาม_46


.........................เพิงร้านค้าของชาวบ้านใกล้วัดธาตุขาว.........................

     

     3. ศูนย์กลางควบคุมหัวเมือง : เวียงกุมกามตั้งอยู่ในตำแหน่งชัยภูมิที่ดี มีแม่น้ำปิงเป็นแนวป้องกันข้าศึกศัตรู อีกทั้งยังอยู่ในพื้นที่ซึ่งค่อนไปทางตอนกลางของอาณาจักรล้านนา ทำให้กลายเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการก่อตั้งศูนย์กลางการปกครองเพื่อกำกับควบคุมดูแลหัวเมืองต่างๆ

     เมื่อพญามังรายทรงตัดสินพระทัยที่จะก่อสร้างเวียงกุมกามให้กลายเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนาแล้ว พระองค์ก็โปรดฯ ให้สร้างวัด, เจดีย์, วัง, หอนอน, กำแพง และขุดคูเมืองทั้ง 4 ด้าน นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงออก “กฎหมายมังรายศาสตร์” อันเป็นกฎหมายประเพณีที่สำคัญของอาณาจักรล้านนาขณะประทับอยู่ ณ เวียงกุมกามด้วย




เวียงกุมกาม_36


....................หน้าวิหารในวัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ)....................

เวียงกุมกาม_58


...................................เจดีย์วัดปู่เปี้ย...................................



     .....อย่างไรก็ดี.....สถานะความเป็นราชธานีของเวียงกุมกามนั้นก็ไม่สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างยาวนานสักเท่าไหร่นัก เนื่องจากเวียงแห่งนี้ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในทุกๆ ช่วงฤดูฝน ส่งผลให้ผู้คนและสัตว์เลี้ยงได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก ในปี พ.ศ. 1839 พญามังรายร่วมกับพระสหาย (“พระสหาย” ในที่นี้ คือ พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง) จึงทรงตัดสินพระทัยให้ก่อสร้าง “เวียงเชียงใหม่” ขึ้นในชัยภูมิที่มีความเหมาะสมมากกว่าเดิมและสถาปนาเวียงซึ่งก่อสร้างขึ้นใหม่นี้ให้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ทดแทนเวียงกุมกาม



เวียงกุมกาม_62


.........................โบราณสถาน วัดอีก้าง.........................

เวียงกุมกาม_49


...................................ซากฐานเจดีย์เก่า...................................



     ภายหลังจากที่มีการสถาปนา “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ขึ้นเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนา ความสำคัญของเวียงกุมกามอาจเริ่มลดน้อยถอยลงไปบ้าง หากแต่ก็ยังคงมีการขยายตัวของชุมชนภายในเขตเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องในฐานะเมืองบริวารของเวียงเชียงใหม่ .....อย่างไรก็ตาม.....ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศของเวียงกุมกามซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ (เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงแห่งอื่นๆ) ทำให้เมืองแห่งนี้ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอและบางครั้งก็รุนแรงจนถึงกับมีการบันทึกเอาไว้ในเอกสารพงศาวดารโยนกว่า “.....ลุศักราช 886 ปีวอก ฉศก (ปี พ.ศ. 2067) น้ำเหนือหลากมากท่วมเมืองเชียงเรือก (สมัยที่บันทึกพงศาวดารโยนกนั้น “เวียงกุมกาม” ถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “เชียงเรือก” ครับ) หมู่คนมาเข้ากาดยังข่วงศรีภูมิจมน้ำตายมากนัก.....”



เวียงกุมกาม_34


...................................รอในร่ม...................................



     การล่มสลายของเวียงกุมกามจากปัญหาอุทกภัยได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงเมื่อปี พ.ศ. 2200 ในปีนั้นได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ มีน้ำเหนือหลากเข้าท่วมเมืองไปทั่วทุกหนแห่ง ภายหลังจากที่เหตุการณ์น้ำท่วมยุติลง.....เวียงกุมกามก็ได้ถูกฝังจมอยู่ใต้ตะกอนดินซึ่งน้ำพัดพามาจนยากแก่การจะฟื้นฟูให้กลับเป็นเช่นดังเดิม กอปรกับเหตุที่ร่องน้ำของแม่น้ำปิงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ไม่ไหลผ่านเวียงกุมกามเหมือนเคย เมืองโบราณแห่งนี้จึงถูกทิ้งร้างให้อยู่ภายใต้ตะกอนดินมาอย่างยาวนานนับร้อยปี



เวียงกุมกาม_98


.........................รถม้าบริการนักท่องเที่ยว (มีค่าใช้จ่ายจ้า).........................



     นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 ภายหลังจากที่พม่าเข้ามามีอิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนา ก็ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ใดๆ ซึ่งกล่าวถึงเวียงกุมกามอีกเลย จวบจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาตั้งชุมชนพำนักอาศัยอยู่โดยรอบบริเวณ “วัดกานโถม” ในเขตพื้นที่ของเวียงกุมกามอีกครั้ง และได้มีการบูรณะซ่อมแซมเจดีย์วัดกานโถมซึ่งเคยมีลักษณะศิลปะแบบหริภุญชัยให้กลายมาเป็นรูปช้างค้ำอันเป็นลักษณะศิลปะแบบพม่า .....ณ ช่วงเวลาขณะนั้น.....กลุ่มชาวบ้านที่ก่อสร้างบ้านเรือนพำนักอาศัยอยู่โดยรอบบริเวณวัดกานโถมล้วนแล้วแต่ยังไม่เคยทราบถึงประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ของวัดแห่งนี้และเวียงกุมกามเลย (ชาวบ้านในละแวกนั้นจะเรียก “วัดกานโถม” ว่า “วัดช้างค้ำ” เนื่องจากเมื่อแรกเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐาน กลุ่มชาวบ้านไม่เคยทราบมาก่อนว่าซากโบราณสถานซึ่งได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้กลายมาเป็นรูป “ช้างค้ำ” มีชื่อเรียกว่าอะไร จึงเรียกชื่อวัดไปตามลักษณะที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่เรียบร้อยแล้ว)



เวียงกุมกาม_37


.........................ภายในวิหารของวัดเจดีย์เหลี่ยม.........................

เวียงกุมกาม_144


.........................ศาลาพ่อขุนเม็งราย (พญามังราย).........................



     วัดช้างค้ำ (หรือ “วัดกานโถม” เดิม) ได้กลายมาเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ต่อมาจึงมีการก่อสร้างโรงเรียนวัดช้างค้ำขึ้นเป็นโรงเรียนประชาบาลเมื่อราวปี พ.ศ. 2471 ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้มีการไถปรับซากโบราณสถานซึ่งเคยเป็นบริเวณวิหารวัดกานโถมเดิม (วิหารหลังดังกล่าวนี้ถูกปกคลุมอยู่ภายใต้เนินดินความสูง 2 – 3 เมตร) กลายเป็นสนามหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ ส่งผลให้ซากโบราณสถานบางส่วนถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย

     .....ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ. 2527.....มีกลุ่มชาวบ้านขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาเป็นจำนวนมากภายในบริเวณสนามหญ้าของโรงเรียนวัดช้างค้ำ เมื่อข่าวการขุดค้นพบพระพิมพ์ดินเผาถูกเผยแพร่ออกไป ทางกรมศิลปากรจึงได้จัดส่งหน่วยศิลปากรที่ 4 เข้ามาขุดแต่งศึกษาแหล่งโบราณคดีภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าว และเรื่องราวของเวียงกุมกามก็ได้ถูกรื้อฟื้นกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งนับตั้งแต่บัดนั้น




เวียงกุมกาม_55


....................วัดพระเจ้าองค์ดำ - พญามังราย....................

เวียงกุมกาม_54


.........................เบื้องหน้าวัดปู่เปี้ย.........................



     หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญที่หน่วยศิลปากรที่ 4 สามารถขุดค้นพบจากบริเวณหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ ได้แก่ ซากโบราณสถานซึ่งประกอบไปด้วยวิหารและสถูปเจดีย์ขนาดเล็ก มีพระพิมพ์ดินเผาฝังอยู่ภายใต้รากฐานของสถูป บริเวณกึ่งกลางของสถูปเจดีย์องค์นี้พบคนโทดินเผาเนื้อหยาบมีลวดลายขูดขีดเป็นลักษณะศิลปะของเครื่องปั้นดินเผาแบบหริภุญชัย ภายในคนโทบรรจุเถ้าอัฐิที่สันนิษฐานว่าเป็นของบุคคลหรือมหาเถระคนสำคัญ นอกจากนี้ก็ยังได้ขุดพบชิ้นส่วนของศิลาจารึกจำนวน 5 ชิ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงจุดกำเนิดของ “ตัวอักษรสุโขทัย” ว่าน่าจะมีพัฒนาการมาจาก “อักษรมอญโบราณ” และ “อักษรคฤนถ์”.....เมื่อเปรียบเทียบอายุของชั้นดิน, แผนผังของวิหาร, สถูปเจดีย์ และวัตถุโบราณต่างๆ กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แล้วทำให้เชื่อได้ว่า ซากโบราณสถานบริเวณหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ คือ วิหารวัดกานโถมของเวียงกุมกามที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยพญามังราย



เวียงกุมกาม_73


..........โดยรอบ เวียงกุมกาม มีโบราณสถานอยู่มากมายถึง 45 แห่ง..........

เวียงกุมกาม_70


.........................อีกมุมของเจดีย์วัดอีก้าง (วัดอีค่าง).........................



     ผลจากการขุดค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ภายในบริเวณหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำได้กระตุ้นให้เกิดความสนใจต่อการศึกษาหาความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับโบราณสถานเวียงกุมกามเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับกลุ่มชาวบ้านในท้องถิ่นมีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐช่วยสนับสนุน ผลักดัน และพัฒนาพื้นที่โดยรอบเวียงกุมกามให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ จ.เชียงใหม่ .....ด้วยเหตุดังกล่าวนี้.....รัฐบาลจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานร้างต่างๆ เพิ่มเติมนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จวบจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2546 ทำให้ทราบว่าในเขตพื้นที่ของเวียงกุมกามมีโบราณสถานอยู่มากถึง 45 แห่ง ซึ่งโบราณสถานต่างๆ เหล่านี้ก็ได้กลายมาแหล่งเรียนรู้ทั้งในด้านประวัติศาสตร์, สถาปัตยกรรม, ศิลปกรรม อีกทั้งยังถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของ จ.เชียงใหม่ ในปัจจุบันด้วย



เวียงกุมกาม_81


..............................ณ วัดหนานช้าง..............................

เวียงกุมกาม_84


ซากโบราณสถานที่บ่งชี้ถึงผลกระทบของอุทกภัยครั้งใหญ่
ในวันก่อนเก่าซึ่งกระทำต่อเวียงกุมกาม



     โบราณสถานสำคัญภายในเขตพื้นที่เวียงกุมกาม

     ดังที่ได้กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้นแล้วว่า โบราณสถานภายในเขตพื้นที่ของเวียงกุมกามนั้นมีอยู่มากถึง 45 แห่ง แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่ว่าโบราณสถานทุกๆ แห่งจะมีความสวยงาม, สมบูรณ์ หรือมีความเหมาะสมควรแก่การเข้าเยี่ยมชม (โบราณสถานแต่ละแห่งภายในเขตพื้นที่เวียงกุมกามส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่ห่างกันราว 200 เมตร – 2 กิโลเมตร ซึ่งโบราณสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ในตรอกเล็กๆ ที่รถยนต์หรือรถม้านำเที่ยวไม่สามารถเข้าถึงได้ครับ) ด้วยเหตุนี้ทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) จึงขออนุญาตเลือกนำเสนอเฉพาะภาพถ่ายและข้อมูลของโบราณสถานสำคัญๆ บางแห่งที่มีถนนให้รถยนต์หรือรถม้านำเที่ยวเข้าถึงได้เท่านั้น

     .....ต่อไปนี้ คือ โบราณสถานที่น่าสนใจภายในเขตพื้นที่เวียงกุมกาม.....




เวียงกุมกาม_52


...............พิจารณาจากลักษณะโครงสร้างแล้ว.....น่าจะเป็นวิหารโถง...............

เวียงกุมกาม_86


.........................ลานจอดรถใกล้วัดหนานช้าง.........................



     1. วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) : มีจารึกหลักฐานปรากฏอยู่บนใบลาน “ตำนานเมืองเชียงใหม่” และ “พงศาวดารเหนือ” ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่า วัดเจดีย์เหลี่ยมเป็นวัดแห่งแรกที่พญามังรายโปรดฯ ให้ก่อสร้างขึ้นในเวียงกุมกามเมื่อราวปี พ.ศ. 1831 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนาของพระกัสสปเถระและเหล่าพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสานุศิษย์ซึ่งเดินทางมายังเวียงกุมกาม เดิมทีวัดแห่งนี้เคยมีชื่อเรียกว่า “วัดกู่คำ” ซึ่งหมายถึง “วัดเจดีย์ทองคำ” (คำว่า “กู่” หมายถึง “เจดีย์” ส่วนคำว่า “คำ” นั้นก็หมายถึง “ทองคำ” ครับ) แต่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเรียกกลายเป็น “วัดเจดีย์เหลี่ยม” ตามลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ



เวียงกุมกาม_88


.........................ร้านรวงที่ยังไม่มีผู้เช่า.........................



      “เจดีย์เหลี่ยม” เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบหริภุญชัย มีลักษณะของฐานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีความกว้างราว 8 วา สูงประมาณ 22 วา บริเวณมุมแต่ละด้านของฐานเจดีย์มีประติมากรรมปูนปั้นสิงห์ประดับ กึ่งกลางของฐานแต่ละด้านมีซุ้มจระนำขนาดใหญ่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทิศด้านละ 1 องค์ ส่วนเรือนธาตุสร้างซ้อนลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ รวมทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นมีเจดีย์ประจำมุมทั้ง 4 ทิศ นอกจากนี้ในแต่ละด้านของส่วนเรือนธาตุแต่ละชั้นก็ยังมีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มจระนำด้านละ 3 องค์ (หากนับทั้ง 4 ด้าน ส่วนเรือนธาตุแต่ละชั้นก็จะมีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มจระนำรวมทั้งหมด 12 องค์ เมื่อนับรวมทั้ง 5 ชั้นก็จะมีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มจระนำของส่วนเรือนธาตุรวมทั้งหมด 60 องค์ครับ) ยอดของเจดีย์เหลี่ยมประดับฉัตรทอง



เวียงกุมกาม_94


...............ชุมนุมร้านอาหารบริเวณลานกว้างข้างๆ วัดช้างค้ำ...............



     ในปี พ.ศ. 2451 ได้มีการบูรณะองค์เจดีย์เหลี่ยมครั้งใหญ่โดย “หลวงโยนกการวิจิตร” ได้มอบหมายให้นายช่างชาวพม่าดำเนินการบูรณะส่วนลวดลายเครื่องประดับเจดีย์ ส่งผลให้เจดีย์เหลี่ยมแห่งเวียงกุมกามนี้มีลักษณะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ เนื่องจากมีรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยรวมขององค์เจดีย์เป็นทรงปราสาทแบบหริภุญชัย หากแต่มีลักษณะของลวดลายประดับตกแต่งและซุ้มจระนำเป็นศิลปะแบบพม่า      

     วัดเจดีย์เหลี่ยมนับเป็นวัดแห่งแรกที่นักท่องเที่ยวซึ่งเลือกใช้บริการ “ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม” จะมีโอกาสได้แวะเยี่ยมชม (ท่านสามารถติดต่อสอบถามโปรโมชั่นประจำเดือนของ “ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม” ได้จากหมายเลขโทรศัพท์หรือ LINE ID ในกรอบสีขาวทางด้านล่างสุดของบทความชิ้นนี้ครับ)




เวียงกุมกาม_96


.........................แคร่ไม้ไผ่ในลานอิฐ.........................

เวียงกุมกาม_93


....................จุดแวะพักรับประทานของรองท้อง....................



     2. วัดพระเจ้าองค์ดำพญามังราย : ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ 1 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ภายในเขตกำแพงเวียงกุมกามทางมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นตะกอนลูกคลื่น มีเนินโบราณสถานซึ่งกรมศิลปากรเข้าดำเนินงานขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2532 – 2533 แบ่งแยกกลุ่มโบราณสถานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ “กลุ่มพระเจ้าองค์ดำ” และ “กลุ่มพญามังราย”

      โบราณสถานกลุ่มพระเจ้าองค์ดำประกอบไปด้วยวิหาร เจดีย์ และกลุ่มอาคารรูปสี่เหลี่ยม ตัววิหารมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่หัวบันไดวิหารด้านหน้าประดับปูนปั้นรูปตัวเหงา เจดีย์ตั้งอยู่หลังวิหารลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จตั้งอยู่บนฐานเขียง ห่างจากตัวเจดีย์ออกไปทางทิศใต้ประมาณ 5 เมตร มีฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีก 3 หลังซึ่งมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกัน ชื่อ “พระเจ้าองค์ดำ” ของกลุ่มโบราณสถานมีที่มาจากคำเรียกพระพุทธรูปองค์หนึ่งซึ่งขุดค้นพบในบริเวณนี้ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดที่มีสีดำอันเนื่องมาจากการถูกไฟไหม้ (ในภาษาท้องถิ่นล้านนานิยมเรียก “พระพุทธรูป” ด้วยคำว่า “พระเจ้า” ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดเก่าแห่งนี้ว่า “วัดพระเจ้าองค์ดำ” ครับ)




เวียงกุมกาม_104


....................รถรางสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่....................

เวียงกุมกาม_100


...................................อาชาไนย...................................



     โบราณสถานกลุ่มพญามังรายตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของโบราณสถานกลุ่มพระเจ้าองค์ดำ ประกอบไปด้วยซุ้มประตูโขง กำแพงแก้ว วิหาร เจดีย์ และอุโบสถ ตัววิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ตั้งอยู่หลังวิหารลักษณะเป็นเจดีย์ฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จรองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มพระ 4 ด้าน สำหรับชื่อ “พญามังราย” นั้นชาวบ้านเรียกตามพระนามของพญามังรายผู้ทรงก่อสร้างเวียงกุมกาม

      ด้วยลักษณะของเจดีย์และวิหารภายในเขตพื้นที่ “วัดพระเจ้าองค์ดำ – พญามังราย” ทำให้เชื่อได้ว่าโบราณสถานทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม




เวียงกุมกาม_106


..............ฐานวิหารวัดกานโถม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดช้างค้ำ")...............

เวียงกุมกาม_127


...................................ลาย (เงา) ไม้...................................



     3. วัดธาตุขาว (วัดพระธาตุขาว) : วัดแห่งนี้ตั้งอยู่นอกเขตคูเมืองเวียงกุมกามเยื้องออกไปทางด้านทิศตะวันตก ส่วนของโบราณสถานวัดธาตุขาวประกอบไปด้วยวิหารซึ่งหันค่อนไปทางทิศเหนือ พิจารณาจากลักษณะโครงสร้างแล้วน่าจะเป็นวิหารโถง มีเจดีย์ประธานตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวิหาร ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์กลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบศิลปะล้านนา ทางด้านทิศใต้ของเจดีย์ประธานเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ ขณะกรมศิลปากรเข้าดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2529 ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุดขนาดใหญ่ฉาบด้วยปูนขาวตกอยู่ ทำให้สันนิษฐานว่าชื่อ “วัดธาตุขาว” หรือ “วัดพระธาตุขาว” อาจมีที่มาจากชื่อเรียกตามลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ หรืออาจจะมาจากลักษณะผิวปูนฉาบสีขาวซึ่งปรากฏอยู่บนองค์เจดีย์ก็เป็นได้



เวียงกุมกาม_116


..........ต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งเชื่อว่าได้รับการอัญเชิญเมล็ดพันธุ์มาจากเมืองลังกา..........



     4. วัดปู่เปี้ย : คำว่า “ปู่เปี้ย” เป็นชื่อซึ่งใช้เรียกต่อๆ กันมาในท้องถิ่นโดยไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าวัดแห่งนี้มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่าอย่างไร วัดปู่เปี้ยตั้งอยู่ในแนวคูเมืองบริเวณกำแพงดินด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกาม กรมศิลปากรเริ่มขุดแต่งวัดแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2528 พบวิหารอยู่ทางด้านหน้าของเจดีย์ซึ่งมีหลักฐานการสร้างทับซ้อนกันสองสมัย อุโบสถตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวิหาร กำหนดเขตโดยเสมาหินทรายสีแดงในทิศต่างๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอุโบสถเป็นซากอาคารแปดเหลี่ยมมีแท่นบูชาอยู่ใกล้กัน สำหรับเจดีย์ที่ปรากฏอยู่ภายในวัดปู่เปี้ยเป็นเจดีย์ฐานสูง เหนือส่วนฐานขึ้นไปเป็นเรือนธาตุมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้าน ที่ตัวซุ้มจระนำมีปูนปั้นลายก้านขดและลายพันธุ์พฤกษาดูสวยงาม ตัวองค์เจดีย์นี้มีลักษณะศิลปกรรมทั้งแบบสุโขทัยและล้านนาผสมรวมกัน



เวียงกุมกาม_107


.........................ดุจดั่งศรัทธาที่ค้ำยัน.........................



     5. วัดอีก้าง (วัดอีค่าง) : เป็นวัดซึ่งตั้งอยู่ใกล้แนวคูเมืองบริเวณกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกาม (ใกล้ๆ กับวัดปู่เปี้ย) เดิมทีพื้นที่โดยรอบวัดแห่งนี้เคยเป็นป่ารกร้างซึ่งมีลิงค่างอาศัยอยู่มาก .....ทั้งนี้.....คำว่า “ค่าง” ในภาษาท้องถิ่นจะพูดออกเสียงว่า “อีก่าง” หรือ “อีก้าง” ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นชาวบ้านในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดอีก้าง” หรือ “วัดอีค่าง” สืบต่อกันมาเรื่อยๆ

      กรมศิลปากรได้เข้าดำเนินการขุดแต่งโบราณสถานวัดอีก้างเมื่อปี พ.ศ. 2528 – 2529 พบเจดีย์ตั้งอยู่ทางด้านหลังวิหารซึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานบัวลูกแก้วสูงตั้งอยู่บนฐานเดียวกับวิหาร มีลานกว้างสำหรับประทักษิณรอบเจดีย์ ตัววิหารคงเหลือเพียงแค่ฐานขนาดใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 มีการขุดพบแนวกำแพงแก้วเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกขององค์เจดีย์




เวียงกุมกาม_123


....................ใครจะเช่าพระขอเชิญมาละแวกนี้....................

เวียงกุมกาม_124


.........................ภายนอกศาลาพ่อขุนเม็งราย.........................



     การวิเคราะห์ตะกอนของชั้นดินภายในวัดอีก้าง ถือเป็นการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมเวียงกุมกามเป็นครั้งแรก ด้วยลักษณะของชั้นดินที่มีตะกอนทรายหยาบสลับทรายละเอียดและสลับกับกรวด อีกทั้งยังพบเศษภาชนะดินเผาจากเตาสันกำแพงและเตาเวียงกาหลงซึ่งถูกขัดเสียดสีจนสึกกร่อนทับถมฝังรวมกันอยู่ในชั้นตะกอนทราย ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุได้ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมเวียงกุมกามน่าจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นระยะๆ และสันนิษฐานว่าช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรงจนสามารถพัดพาเอาโบราณวัตถุมาทับถมสะสมรวมกันอยู่ภายใต้ชั้นตะกอนดินน่าจะอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 22 (เศษภาชนะดินเผาจากเตาสันกำแพงและเตาเวียงกาหลงเป็นโบราณวัตถุซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ครับ)



เวียงกุมกาม_163


.........................ภายในวิหารวัดช้างค้ำ.........................



     6. วัดหนานช้าง : อีกหนึ่งโบราณสถานที่บ่งชี้ถึงร่องรอยผลกระทบจากอุทกภัยซึ่งมีต่อเวียงกุมกาม เนื่องจากก่อนการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2545 – 2546 พบว่ามีชั้นตะกอนดินและทรายทับถมกันอยู่บนซากโบราณสถานแห่งนี้หนาถึง 1.8 เมตร ภายหลังจากที่ได้ขุดแต่งแล้วจึงเผยให้เห็นซากอาคารซึ่งมีการก่อสร้างซ้อนทับกันอย่างน้อย 2 สมัย โดยในสมัยแรกมีการก่อสร้างซุ้มประตูโขงและแนวกำแพงแก้วล้อมรอบวิหารและองค์เจดีย์ สมัยต่อมาจึงมีการขยายขอบเขตของวัดออกไปโดยรื้อแนวกำแพงแก้วเดิมทางด้านหลังออกและก่อสร้างอาคารต่างๆ ขึ้นเพิ่มเติม มีอาคารที่โดดเด่น คือ ซากมณฑปซึ่งมีราวบันไดทางขึ้นเป็นปูนปั้นรูปมกรคายนาคที่สร้างทับอยู่บนแนวเขตกำแพงแก้วเก่าในสมัยแรก



เวียงกุมกาม_153


..............................แสงทอง เรืองรอง..............................



     7. วัดช้างค้ำ (วัดกานโถม) : จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีต่างๆ ทำให้เชื่อได้ว่า “วัดช้างค้ำ” ก็คือ “วัดกานโถม” เดิมซึ่งก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยที่เวียงกุมกามยังคงมีฐานะเป็นราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านนาเมื่อราวปี พ.ศ. 1833 กรมศิลปากรได้เข้าดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2527 – 2528 พบวิหารและเจดีย์ทรงมณฑปบนลานประทักษิณเตี้ย บริเวณส่วนฐานของวิหารพบพระพิมพ์ดินเผาศิลปะแบบหริภุญชัยฝังไว้โดยรอบ นอกจากนี้ภายในบริเวณเดียวกันยังมีเจดีย์อีก 1 องค์ซึ่งได้รับการบูรณะมาก่อนหน้าที่กรมศิลปากรจะเข้าดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน มีลักษณะเป็นเจดีย์มณฑปยอดระฆัง สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะได้รับการบูรณะโดยช่างฝีมือชาวพม่าพร้อมๆ กันกับเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) บริเวณบัวปากระฆังมีประติมากรรมช้างปูนปั้นแบกค้ำส่วนเรือนธาตุอยู่ทั้ง 4 ทิศ ชาวบ้านจึงเรียกวัดแห่งนี้ตามลักษณะที่ปรากฏว่า “วัดช้างค้ำ”



เวียงกุมกาม_99


ถ้าอยากจะสัมผัสกับเสน่ห์ของเวียงเก่าอย่างเต็มที่
ก็แนะนำว่าน่าจะลองใช้บริการ ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม ดูนะ

เวียงกุมกาม_156


...................ตู้พระไตรปิฎก และ ตู้เก็บวัตถุโบราณ....................



     วัดช้างค้ำ (วัดกานโถม) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ 11 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (บริเวณเกือบใจกลางของเวียงกุมกาม) วัดแห่งนี้ถือเป็นโบราณสถานสำคัญที่ทำให้เกิดการรื้อฟื้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเวียงกุมกามกลับขึ้นมาอีกครั้งภายหลังจากที่ได้ถูกหลงลืมไปเป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี .....นอกจากนี้.....ภายในบริเวณวัดช้างค้ำก็ยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งเชื่อว่าได้รับการอัญเชิญเมล็ดพันธุ์มาจากเมืองลังกาเจริญงอกงามอยู่ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เลือกใช้บริการ “ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม” จะมีโอกาสได้แวะพักถ่ายรูปรวมถึงกราบนมัสการต้นศรีมหาโพธิ์และพระประธานภายในอุโบสถของวัดแห่งนี้ด้วย (ท่านสามารถติดต่อสอบถามโปรโมชั่นประจำเดือนของ “ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม” ได้จากหมายเลขโทรศัพท์หรือ LINE ID ในกรอบสีขาวทางด้านล่างสุดของบทความชิ้นนี้ครับ)



เวียงกุมกาม_181


.........................พิพิธภัณฑ์วัดช้างค้ำ.........................

เวียงกุมกาม_139


...............หอไตร หรือบางครั้งก็อาจเรียกว่า หอพระธรรม...............



     8. วัดกู่ขาว : คำว่า “กู่” ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือหมายถึง “เจดีย์” ชื่อวัดกู่ขาวจึงหมายถึงวัดเจดีย์ขาว ซึ่งน่าจะเรียกตามลักษณะขององค์เจดีย์ที่ประดับลวดลายปูนปั้นและฉาบปูนสีขาว กรมศิลปากรเข้าดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดกู่ขาวเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีซากโบราณสถานภายในบริเวณวัดประกอบไปด้วยซุ้มประตูและแนวกำแพงแก้วทางด้านทิศเหนือ เจดีย์ประธานเป็นลักษณะศิลปะแบบล้านนา ฐานล่างขององค์เจดีย์เป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จซ้อนกัน 2 ชุด แต่ละชุดมีเส้นบัวลูกแก้วคาด 2 เส้น ระหว่างฐานบัวแต่ละชุดคั่นด้วยหน้ากระดานท้องไม้ใหญ่ ประดับลวดลายปูนปั้นที่มุมของย่อเก็จทุกแห่งโดยรอบ วิหารคงเหลือเฉพาะส่วนท้ายอาคารซึ่งมีร่องรอยแสดงถึงการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 ครั้ง

     วัดกู่ขาวตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ – ลำพูน (สายเก่า) กิโลเมตรที่ 5 ในเขต ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่




เวียงกุมกาม_183


.........................เฮือนจำลองของสมัยก่อน.........................



     9. วัดกู่ไม้ซ้ง : ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ภายในแนวเขตกำแพงเมืองเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ กรมศิลปากรเข้าดำเนินการขุดแต่งบูรณะวัดแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2532 ซากโบราณสถานที่ขุดแต่งพบประกอบไปด้วย ซุ้มประตูซึ่งอยู่ติดกับแนวกำแพงที่เหลืออยู่เพียงแค่ทางด้านทิศเหนือ วิหารวัดกู่ไม้ซ้งทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุม มีเจดีย์ตั้งอยู่ท้ายวิหารด้านทิศใต้ลักษณะศิลปะยุคเชียงใหม่ตอนต้น ฐานของเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมย่อมุมมียอดเป็นองค์ระฆัง คาดว่าอายุของโบราณสถานแห่งนี้น่าจะอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 22



เวียงกุมกาม_192


..............................ใต้เงาไม้ใหญ่..............................

เวียงกุมกาม_188


...................................งามหยดย้อย...................................



     นอกเหนือไปจากโบราณสถานทั้ง 9 แห่งที่ได้กล่าวแนะนำไว้ข้างต้นแล้ว ภายในเวียงกุมกามก็ยังคงมีโบราณสถานซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกมากมายหลายแห่ง อาทิเช่น วัดกู่ป้าด้อม, วัดกู่อ้ายหลาน, วัดกุมกามทีปราม, วัดหัวหนอง, วัดน้อย เป็นต้น .....อย่างไรก็ดี.....โบราณสถานส่วนใหญ่ที่ทีมงานเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ไม่ได้เขียนบรรยายรายละเอียดต่างๆ เอาไว้มักจะเป็นโบราณสถานขนาดเล็ก หรือเป็นโบราณสถานซึ่งหลงเหลืออยู่เพียงแค่ส่วนฐานรากที่นักท่องเที่ยวทั่วๆ ไปมักไม่ค่อยนิยมเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม



เวียงกุมกาม_190


...................................วัตถุบูชา...................................

เวียงกุมกาม_205


..............................พระพุทธรูป ณ วัดกู่ขาว..............................

     

     ทางเลือกในการเดินทางท่องเที่ยวเวียงกุมกาม

     เวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ราว 4 กิโลเมตร) สำหรับผู้ที่ต้องการจะขับรถยนต์ส่วนบุคคลเข้าเยี่ยมชมเวียงกุมกามด้วยตนเองแนะนำให้แวะไปซื้อแผนที่ ณ  “ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม” ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3029) โดยสามารถใช้ Application Google Map (แผนที่) จาก Smart Phone แล้วใส่ตำแหน่งที่ต้องการค้นหาด้วยคำว่า “ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม” จากนั้นก็ปล่อยให้ระบบ GPS นำทางไปได้โดยไม่ลำบาก (มีค่าบริการเข้าชมศูนย์ข้อมูลและต้องจ่ายค่าแผ่นพับแผนที่ครับ)

     แต่ถ้าหากอยากจะสัมผัสถึงอารมณ์และบรรยากาศของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ใน จ.เชียงใหม่ อย่างเต็มที่ แนะนำว่าควรเลือกใช้บริการ “ทัวร์ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้าชมเวียงกุมกาม” ซึ่งจะมีจุดเริ่มต้นล่องเรือที่ “วัดชัยมงคล” ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ (มีรถรับส่งจากโรงแรม/รีสอร์ทในเขตคูเมืองเชียงใหม่ตามพื้นที่ที่กำหนดฟรี รถรับส่งจะให้บริการเฉพาะนักท่องเที่ยวซึ่งติดต่อจองทัวร์และชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าเท่านั้น ท่านสามารถติดต่อจองทัวร์พร้อมรถรับส่งได้จากหมายเลขโทรศัพท์หรือ LINE ID ในกรอบสีขาวทางด้านล่างครับ) โดยเรือจะล่องลงใต้ตามลำน้ำปิงลงมายัง “ท่าวังตาล” ในเขต อ.สารภี ใกล้กับวัดเจดีย์เหลี่ยม หลังจากนั้นนักท่องเที่ยวก็จะต้องย้ายมานั่งรถม้า (หรืออาจมีการสลับเป็นรถรางกรณีที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเป็นกลุ่มใหญ่ครับ) ซึ่งจะพาไปเยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญๆ รอบเขตเวียงกุมกามโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 45 นาที แล้วจึงย้อนกลับมายัง “ท่าวังตาล” เพื่อขึ้นเรือล่องทวนกระแสน้ำขึ้นไปยัง “วัดชัยมงคล” ก่อนที่รถจะรับนักท่องเที่ยวกลับไปยังโรงแรม/รีสอร์ท




เวียงกุมกาม_184


..........นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์บางส่วนของเวียงกุมกามได้ที่นี่..........

เวียงกุมกาม_206 เวียงกุมกาม_125 เวียงกุมกาม_157 เวียงกุมกาม_33


..........สีสันแห่งอดีตที่ยังคงสืบทอดคุณค่าเรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน..........



     ข้อมูลอ้างอิง : ป้ายความรู้ต่างๆ ภายในเขตโบราณสถานเวียงกุมกาม อ.สารภี จ.เชียงใหม่, พิพิธภัณฑ์วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ), วิกิพีเดีย, โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม, หนังสือเที่ยวทั่วไทยไปกับ “นายรอบรู้” จ.เชียงใหม่, GotoKnow.org



     ถ่ายภาพ และเขียนบทความ โดย : ตฤณ ณ อัมพร

     เรียบเรียง โดย : อรชร ลลิตผสาน

     สงวนลิขสิทธิ์โดย : เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com)





โปรโมชั่นบัตรล่องเรือ + นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" จ.เชียงใหม่
ประเภท
ราคา (บาท)
ผู้ใหญ่
เด็ก
(4-9 ปี)

ล่องเรือแม่น้ำปิง + นั่งรถม้า + เวียงกุมกาม
(งดรายการนี้ชั่วคราว จากสถานการณ์โควิด-19)

850
(walk in 1,000)
425
(walk in 500)

โปรโมชั่นนี้จัดให้เฉพาะผู้ซึ่งติดต่อจอง บัตรล่องเรือ + นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม"
ตามหมายเลขโทรศัพท์หรือ LINE ID ทางด้านล่าง
และชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 – 7 วัน ตามเงื่อนไขเท่านั้น !


* นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามโปรโมชั่นประจำเดือน (เฉพาะการจองล่วงหน้า)
ได้ทาง Line ID หรือ หมายเลขโทรศัพท์ ในกรอบทางด้านล่าง ตั้งแต่วันนี้ - 31 ต.ค. 2564





รับทันที !! ส่วนลดโปรโมชั่นบัตร ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม " ราคาพิเศษ !!

เฉพาะผู้ซึ่งติดต่อจองบัตรล่วงหน้าตามเงื่อนไขผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม
ทาง Line ID หรือหมายเลขโทรศัพท์ :

(094) 236-3295 , (094) 519-3645 , (094) 251-9214  Fax. (02) - 4571605

Line ID : thongteaw2 , thongteaw.com ,
trin.thongteaw.com , cimlee


กรุณาติดต่อสำรองบัตรล่วงหน้าอย่างน้อย 2 - 7 วัน ขอบคุณครับ/ค่ะ


หมายเลขโทรศัพท์ & Line ID ข้างต้น ใช้เพื่อการติดต่อสำรองบัตร
ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" ล่วงหน้าเท่านั้น !!
กรณีไม่สะดวกสำรองบัตรและชำระค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนล่วงหน้าตามเงื่อนไข
กรุณาติดต่อซื้อบัตรล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" ในราคา Walk In ตามปกติ
(ไม่มีโปรโมชั่นส่วนลดใด ๆ) ครับ/ค่ะ





     เงื่อนไขการจองบัตร ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" จ.เชียงใหม่ โปรโมชั่นราคาถูก ! โดยใช้ Line

     สำหรับการจองบัตร ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม"กรุณาแจ้งจองบัตรและปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการจองต่างๆ ทางด้านล่างทั้งหมดให้เสร็จสมบูรณ์ล่วงหน้าก่อนกำหนดวันออกเดินทางอย่างน้อย 2 – 7 วัน (กรณีช่วงวันหยุดเทศกาลหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ ควรติดต่อจองบัตรและปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 1-4 อาทิตย์ ครับ)


     ขั้นตอนการจองบัตร ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" จ.เชียงใหม่ โปรโมชั่นราคาถูก ! โดยใช้ Line

     
1.เปิด Application Line ใน Smartphone หรือ Tablet ของท่านขึ้นมา แล้วเลือกหัวข้อ “เพิ่มเพื่อน” จากนั้นให้เลือกหัวข้อ “ID/โทรศัพท์” ทางด้านขวาบนของหน้าเพิ่มเพื่อน

     2.เลือกเพิ่มเพื่อนโดยใช้ Line ID : cimlee หรือ thongteaw.com หรือ trin.thongteaw.com

     3.หากท่านไม่สะดวกในการเพิ่มเพื่อนจาก Line ID ท่านสามารถเลือกเพิ่มเพื่อนจากหมายเลขโทรศัพท์ได้โดยการใส่หมายเลขโทรศัพท์ 0942363295 หรือ 0945193645 หรือ 0942519214 ลงในช่อง “หมายเลขโทรศัพท์เพื่อน” แล้วกดเครื่องหมายแว่นขยาย (ช่องด้านบน “หมายเลขโทรศัพท์เพื่อน” ให้ใช้รหัส Thailand +66 ซึ่งถ้าโทรศัพท์ของท่านใช้ SIM card ที่ลงทะเบียนในประเทศไทยก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าใดๆ ครับ)

     4. เมื่อทำการเพิ่มเพื่อนเสร็จเรียบร้อยแล้วให้แจ้งข้อมูลผู้จองส่งมาทาง Line ให้ครบถ้วนดังรายละเอียดต่อไปนี้

     - ชื่อนามสกุล : (ต้องเป็นชื่อ – นามสกุลจริงๆ เท่านั้น ห้ามใช้ชื่อเล่นในการจอง) ของผู้จองซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่ม 1 ท่าน โดยผู้จองต้องเป็นผู้ที่มีหลักฐานยืนยันตัวตนแสดงต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์เช็คอิน ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" (หลักฐานยืนยันตัวตนสำหรับผู้จองชาวไทยใช้ “บัตรประชาชน” หรือ “ใบขับขี่” ส่วนหลักฐานยืนยันตัวตนสำหรับชาวต่างประเทศใช้ “หนังสือเดินทาง : Passport” ครับ)

     - หมายเลขโทรศัพท์มือถือ : ต้องเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถใช้ติดต่อกับผู้จองได้จริงในวันเดินทางเข้าใช้บริการ

     - ประเภทรายการที่เลือก : สามารถเลือกประเภท ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" ได้จากตารางประเภทต่าง ๆ

     - วันที่จะใช้บริการ : คือวันที่ต้องการจะไปใช้บริการนั่นเอง

     - จำนวนนักท่องเที่ยว : จำนวนรวมของนักท่องเที่ยวในกลุ่ม

     - สัญชาตินักท่องเที่ยว : กรุณาแจกแจงข้อมูลว่าในกลุ่มของท่านมีนักท่องเที่ยวสัญชาติใดอยู่บ้าง ? แต่ละสัญชาติมีจำนวนกี่คน ? ยกตัวอย่างเช่น ไทย 4 คน จีน 2 คน อเมริกัน 1 คน เป็นต้น

     - อายุเด็ก : สำหรับบัตร ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" “เด็ก” โปรดตรวจสอบเงื่อนไขเด็กจากข้อมูลด้านล่างตารางราคา ดังนั้นหากแจ้งจองที่นั่งโดยระบุว่ามีเด็กอยู่ภายในกลุ่ม จึงจำเป็นจะต้องแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของส่วนสูงเด็กไว้ด้วย

     5.เมื่อแจ้งข้อมูลการจองครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ให้รอรับข้อความยืนยันการจองทาง Line (กรณีที่นั่งเต็มก็จะมีการแจ้งผลการจองกลับทาง Line ให้ทราบเช่นกันครับ)

     6.เมื่อได้รับข้อความยืนยันการจองเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรุณาชำระค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีทางด้านล่างภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อความยืนยันการจอง (ก่อนชำระค่าใช้จ่ายโปรดตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนเงิน, ชื่อ และเลขที่บัญชีทุกครั้งด้วยครับ) หากไม่มีการชำระค่าใช้จ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด การจองจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

 

บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเมืองทองธานีซิตี้เซ็นเตอร์ 2
ชื่อบัญชี : Thongteaw.com (ท่องเที่ยวดอทคอม)

เลขที่บัญชี : 402-222838-7


     7.เมื่อชำระค่าใช้จ่ายเสร็จเรียบร้อย กรุณาส่งหลักฐานการชำระค่าใช้จ่ายมาทาง Line

     - กรณีเป็น Slip จากตู้ ATM หรือใบนำฝากของธนาคารให้ใช้การถ่ายรูปส่งทาง Line

     - กรณีเป็นการโอนผ่าน Application บน Smartphone หรือ Tablet ให้ Capture หน้าจอซึ่งดำเนินการชำระค่าใช้จ่ายเสร็จเรียบร้อยแล้วส่งมาทาง Line

     8.ทีมงานจะใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าใช้จ่าย ตรวจสอบความถูกต้องของยอดโอน และดำเนินการส่ง Voucher กลับทาง Line ภายในเวลา 24 – 48 ชม. หากยอดโอนหรือหลักฐานการชำระค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ทีมงานจะแจ้งให้ท่านทราบทาง Line เพื่อขอความกรุณาให้ท่านดำเนินการอย่างถูกต้องอีกครั้ง

     9.เมื่อได้รับ Voucher เรียบร้อยแล้ว ในวันเดินทางมา ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" ท่านสามารถใช้หลักฐานยืนยันตัวตน (บัตรประชาชน, ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง แล้วแต่กรณี) ร่วมกับการแสดง Voucher จาก Smartphone หรือ Tablet เพื่อ Check In ได้ทันที

     10.เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ไม่มีความประสงค์หรือนโยบายใดๆ ที่จะกระทำการเพื่อหลอกลวง ทุจริต หรือฉ้อโกงท่านในทุกกรณี หากไม่สามารถสำรองโปรโมชั่นได้ ทางเว็บไซต์ยินดีคืนค่าใช้จ่ายซึ่งท่านได้ชำระไว้ล่วงหน้าให้เต็มจำนวนโดยไม่มีเงื่อนไข

     
11.ผู้รับผิดชอบ ล่องเรือ+นั่งรถม้าชม "เวียงกุมกาม" โดยแม่ปิงริเวอร์ครุยส์


     หมายเหตุ
     รายละเอียดโปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสภาพคลื่นลม และสภาวะอากาศ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นหลัก และผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้นักท่องเที่ยวทราบล่วงหน้า


     - ราคานี้มีผลวันนี้ - 31 ตุลาคม 2563 เท่านั้น


สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่
(กรุณาคลิ๊ก “ ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลของสถานที่แต่ละแห่งโดยละเอียด)
อ.เมือง
 วัดพระธาตุดอยสุเทพ , วัดเจ็ดยอด , วัดปราสาท , พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ,
 สวนสัตว์เชียงใหม่ , เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ,  เชียงใหม่ไนท์บาซาร์
 ประเพณีลอยโคมยี่เป็ง
อ.ฮอด
 ออบหลวง
อ.ฝาง
 บ่อน้ำร้อนฝาง  
อ.หางดง
 บ้านร้อยอันพันอย่าง , อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อ.แม่แตง
 โป่งเดือดป่าแป๋
อ.จอมทอง
 น้ำตกแม่ยะ , น้ำตกแม่กลาง , น้ำตกวชิรธาร , ดอยอินทนนท์


     ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง >> : ที่พัก/โรงแรม/รีสอร์ท ในจ.เชียงใหม่



โปรโมชั่นทัวร์และบัตรเข้าชมสถานที่/การแสดงในเขต จ.เชียงใหม่ ราคาพิเศษ !!

(กรุณาคลิ๊ก “ชื่อโปรแกรมทัวร์/ชื่อสถานที่ท่องเที่ยว” เพื่อชมภาพถ่ายและข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด)

ประเภทบัตร & โปรแกรมทัวร์
ราคา (บาท)
1.   ล่องเรือแม่น้ำปิง : เรือแม่ปิงริเวอร์ครุยส์ (Mae Ping River Cruise)
450 - 800
2.   ล่องแพแม่น้ำแตง
350 - 1,500
3.   บ้านวังน้ำหยาด (หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว)
300 - 1,800
4.   บ้านโต้งหลวง (หมู่บ้านชาวเขา 8 เผ่า)
300 - 500
5.   เวียงกุมกาม
650 - 800
6.   คุ้มขันโตก
350 - 530
7.   ขันโตกศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่
300 - 440
8.   เบญจรงค์ขันโตก
150 - 320
9.   สิบสองปันนาขันโตก
150 - 250
10. ทัวร์ดอยสุเทพ
500 - 1,500
11. สวนสัตว์เชียงใหม่
170 - 700
12. เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
50 - 950







   

สงวนลิขสิทธิ์โดย : เว็บไซต์ท่องเที่ยวดอทคอม ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 12/02025

 
Copyright since 2008 by www.thongteaw.com - All right reserved.